วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559

อุโบสถขันธกะ ว่าด้วยอุโบสถ และการแสดงปาติโมกข์


2. อุโบสถขันธกะ ว่าด้วยอุโบสถ และการแสดงปาติโมกข์

หมวดว่าด้วยอุโบสถ
พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพแคว้นมคธ เห็นนักบวชลัทธิอื่นประชุมกันกล่าวธรรม ในวัน 8 ค่ำ 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ แห่งปักษ์มีคนไปฟังธรรมมีความรัก ความเลื่อมใส ทำให้นักบวชเหล่านั้นได้มีผู้เข้าเป็นฝักฝ่าย ทรงปรารภจะให้ภิกษุัในพระพุทธศาสนาทำอย่างนั้นบ้าง จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลพระราชดำรินั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงอนุมัติ ประทานพระพุทธานุญาตให้ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในวัน 14 ค่ำ 15 ค่ำ และ 8 ค่ำแห่งปักษ์
ครั้งแรกภิกษุทั้งหลายประชุมกันแต่นั่งนิ่ง ๆ ชาวบ้านไม่ได้ฟังธรรมจึงติเตียนว่านั่งอยู่นิ่ง ๆ เหมือนหมูอ้วน พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้ประชุมกันเพื่อกล่าวธรรม.
การสวดปาติโมกข์เป็นอุโบสถกรรม
พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า สิกขาบทที่ทรงบัญญัติแก่ภิกษุทั้งหลายควรอนุญาตให้สวดเป็นปาติโมกข์ การสวดปาติโมกข์นั้นจักเป็นอุโบสถกรรม คือ การทำกิจกรรมในการทำอุโบสถของภิกษุเหล่านั้น จึงทรงบัญญัติตามที่ทรงพระดำรินั้น และทรงแสดงวิธีสวดปาติโมกข์ เริ่มต้นแต่บุรพกิจ.
ข้อกำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับปาติโมกข์
  1. ภิกษุทั้งหลายสวดปาติโมกข์ทุกวัน จึงทรงบัญญัติห้ามและปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ทำเช่นนั้น ทรงอนุญาตให้สวดเฉพาะวันอุโบสถ
  2. ภิกษุทั้งหลายสวดปาติโมกข์ 3 ครั้ง ต่อ 1 ปักษ์ คือในวัน 8 ค่ำ วัน 14 ค่ำ และวัน 15 ค่ำ จึงทรงบัญญัติห้าม และปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้ทำเช่นนั้น ทรงอนุญาตให้สวดปาติโมกข์เพียงครั้งเดียวต่อ 1 ปักษ์ คือในวัน 15 ค่ำ หรือในวัน 14 ค่ำ (ในปักษ์ที่เป็นเดือนขาด)
  3. ภิกษุฉัพพัคคีย์สวดปาติโมกข์ เฉพาะในพวกของตน จึงทรงบัญญัติห้ามทรงปรับอาบัติทุกกฏ แก่ภิกษุผุ้ทำเช่นนั้น ทรงอนุญาตให้ทำอุโบสถกรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้พร้อมเพรียงกัน
  4. ภ ิกษุทั้งหลา่ยสงสัยว่า เขตความพร้อมเพรียงกันมีเพียงเท่าไร? ในอาวาสหนึ่ง หรือทั่วทั้งแผ่นดิน ตรัสอนุญาตความพร้อมเพรียงชั่วอาวาสเดียว
  5. พระม หากัปปินะ คิดว่าท่านบริสุทธิ์แล้ว เพราะได้บรรลุพระอรหันต์จะควรไปทำอุโบสถหรือไม่ พระผู้มีพระภาคทรงทราบดำรินั้น จึงเสด็จมา ตรัสว่า”ถ้าพวกเธอไม่สักการะไม่เคารพไม่นับถือไม่บูชาอุโบสถ เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าจะเคารพนับถือบูชาโอโบสถ..เธอจงไปทำอุโบสถ..จงไปทำสังฆกรรมจะไม่ไปไม ่ได้”
  6. ภิกษุทั้งหลายสงสัยต่อว่าอาวาสเดียวกันนั้น กำหนดอย่างไร จึงทรงอนุญาตให้สมมติสีมา(พัทธสีมา) โดยกำหนดภูเขา แผ่นหิน ป่าไม้ ต้นไม้ หนทางจอมปลว,แม่น้ำ หรือแอ่งน้ำป็นเครื่องหมาย (นิมิต) แล้วทรงแสดงวิธีสมมติสีมา
  7. ภิกษุฉัพพัคคีย์ สมมติสีมาใหญ่เกินไป 4 โยชน์บ้าง 5 โยชน์บ้าง 6 โยชน์บ้าง ภิำกษุทั้งหลายมาพอพีสวดปาติโมกข์ก็มี สวดจบแล้วจึงมาถึงก็มี มาถึงเวลากำลังสวดอยู่ก็มี จึงทรงห้ามสมมติสีมาใหญ่เกินไป ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ทำเช่นนั้น แล้วทรงอนุญาตให้สมมติสีมา อย่างใหญ่ไม่เกิน 3 โยชน์
  8. ภิกษุฉัพพัคคีย์สมมติสีมาริมฝั่งแม่น้ำ ภิกษุที่มาทำอุโบสถถูกน้ำพัด บาตรจีวรถูกน้ำพัด จึงทรงบัญญัติห้ามสมมติสีมาเช่นนั้น ทรงอนุญาตให้ทำได้ต่อเมื่อมีเรือจอดอยู่เป็นประจำ หรือ มีสะพานทอดอยู่เป็นประจำ.
  9. ภิกษุทั้งหลายสวดปาติโมกข์ตามบริเวณไม่มีที่สังเกต ภิกษุที่เป็นอาคันตุกะจรมาไม่รู้ว่า ทำอุโบสถกันที่ไหน จึงทรงอนุญาตให้สมมติโรงอุโบสถในการทำอุโบสถ จะเป็นวิหาร (กุฎี) หรือเพิง หรือปราสาท หรือ เรือนโล้น (หลังคาตัด) หรือถ้ำก็ได้
  10. ภิกษุทั้งหลาย สมมติโรงอุโบสถ 2 แห่งในอาวาสเดียวกัน ทรงบัญญัติห้าม และตรัสแนะให้สวดถอนโรงอุโบสถออกหลังหนึ่งเสียก่อน อนุญาตให้ใช้เพียงหลังเดียว
  11. ภิกษุทั้งหลายสมมติโรงอุโบสถเล็ก เกินไป มีพระมาประชุมมากบางรูปต้องนั่งนอกเขต มีพระภิกษุสงสัยทูลถามว่าจะเป็นอันทำอุโบสถหรือไม่ พระผุ้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอันทำอุโบสถ และได้ตรัสแนะให้กำหนดนิมิต แล้วประชุมสงฆ์สวดสมมติหน้ามุขอุโบสถขยายให้ใหญ่ออกไปตามต้องการ
  12. ภิกษุบวชใหม่มาประชุมก่อนเวลาในวันอุโบสถ นึกว่าพระเุถระคงยังไม่มาจึงกลับไป กว่าจะได้ทำอุโบสถก็กลางคืน เพราะมัวแต่รอกัน จึงตรัสอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นเถระมาประชุมก่อนในวันอุโบสถ
  13. ที่อยู่ของสงฆ์ในนครราชคฤห์หลายแห่งมีสีมาเดียวกัน ภิกษุทั้งหลายวิวาทกันว่า ขอสงฆ์จงทำอุโบสถในที่อยู่ของพวกเรา ๆ จึงตรัสว่า “ภิกษุเหล่านั้นทุก ๆรูป พึงทำอุโบสถแห่งเดียวกัน ก็หรือภิกษุผู้เถระอยู่ในที่อยู่ใด พึงทำอุโบสถในที่นั้น แต่สงฆ์เป็นวรรคไม่พึงทำอุโบสถ รูปใดทำต้องทุกกฏ”
  14. พ ระมหากัสสปเกือบถูกน้ำพัดไปในระหว่างทางข้ามแม่น้ำ เพื่อจะทำอุโบสถ จีวรของท่านเปียก จึงตรัสอนุญาตให้สมมติสีมาเป็นเขตอยู่ร่วมกันทำอุโบสถร่วมกัน และให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร (ติจีวราวิปปวาสสีมา) และให้สมมติเว้นเขตบ้าน และละแวกบ้าน เพื่อไม่ให้เก็บจีวรไว้ในบ้าน
  15. ตรัสอนุญาตว่าเมื่อสวดถอน ให้ถอนเขตไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรก่อน แล้วถอนเขตอยู่ร่วมกันทีหลัง เมื่อสวดสมมติให้สมมติสีมา ให้เป็นเขตอยู่ร่วมกันก่อน สมมติเขตไม่อยู่ปราศจากไตรจรีวรทีหลัง
  16. ถ ้ายังมิได้สมมติสีมา (อพัทธสีมา) ให้ใช้หมู่บ้านหรือนิคมที่อยู่นั้นเป็น คามสีมาและนิคมสีมาได้, ถ้าในป่าไม่มีให้ใช้ระยะรัศมี 7 อัพภันดร จากจุดศูนย์กลางเป็นสัตตัพภันตรสีมาได้ อนุญาตให้ใช้เขตที่พ้นระยะน้ำสาดถึง ในน้ำเป็นอุทกุกเขปสีมาเป็นเขตลอยเรือหรือแพ หรือปลูกโรงอุโบสถได้กลางแม่น้ำ ทะเล หรือสระน้ำ แต่ไม่อนุญาตสมมติแม่น้ำทะเลหรือสระน้ำทั้งหมด เป็นเขตสีมา
  17. ตรัสห้ามมิให้สมมติสีมาคาบเกี่ยวกัน ให้มีชานของสีมา
  18. ตรัสอธิบายว่าวันอุโบสถ 14 ค่ำก็ีมี 15 ค่ำก็มี (ตามเดือนขาดเดือนเต็ม)
  19. ตรัสอธิบายหลักเกณฑ์เรื่องสวดปาติโมกข์ย่อ เมื่อมีเหตุสมควร 10 อย่างเกิดขึ้น (รายละเอียดอยู่ในภาคผนวกเรื่องปาติโมกขุทเทส 5 หน้า 428 )
  20. ภิกษุที่จะกล่าวธรรมต้องได้รับเชื้อเชิญ ทรงอนุญาตให้พระเถระกล่าวธรรมเอง หรือเชื้อเชิญภิกษุอื่นกล่าวธรรม
  21. ตรัสอนุญาตให้มีการสมมติแต่งตั้งผู้ถามพระวินัย และผู้ตอบพระวินัย ภิกษุใดยังไม่ได้แต่งตั้ง ถามตอบวินัยในท่ามกลางสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ
  22. ตรัสอนุญาตให้ขอโอกาสก่อน แล้วจึงโจทด้วยอาบัติ รูปใดไม่ขอโอกาสก่อน โจทด้วยอาบัติต้องทุกกฏ รูปใดขอโอกาสในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง ไม่มีเหตุอันควรต่อภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ
  23. ในการทำกรรมเป็นการสงฆ์ที่ไม่ชอบธรรม ทรงอนุญาตให้ภิกษุ 4-5 รูปค้านได้ ภิกษุ 2-3 รูปให้แสดงความคิดเห็ํนแย้งได้ ให้ภิกษุรูปเดียวเมื่อไม่เห็นด้วย ให้อธิษฐานในใจว่า ไม่เห็นด้วยกับกรรมนั้น
  24. ตรัสห้ามมิให้แกล้งสวดปาติโมกข์มิให้ผู้อื่นได้ยิน ถ้ามีเสียงผิดปกติและพยายามแล้วไม่เป็นอาบัติ
  25. ตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีอนุปสัมบันปนด้วย รูปใดสวดต้องอาบัติทุกกฏ”
  26. ภิกษุผุ้มิำได้รับเชื้อเชิญ ตรัสห้ามมิให้สวดปาติโมกข์ รูปใดสวดต้องอาบัติทุกกฏ ทรงอนุญาตให้พระเถระเป็นใหญ่ในเรื่องปาติโมกข์
  27. พระเถระสวดเองไม่ได้ จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาดสามารถเป็นใหญ่ในเรื่องปาติโมกข์
  28. พระทั้งวัดไม่สามารถสวดปาติโมกข์ได้ ให้ส่งภิกษุรูปหนึ่งไปเรียนจากอาวาสใกล้เคียง จะโดยย่อหรือโดยพิสดารก็ตามให้พระเถระเป็นผู้ใช้ไป ผู้ถูกใช้ขัดขืนในเมื่อไม่ป่วยไข้ต้องอาบัติทุกกฏ
  29. ตรัสอนุญาตให้เรียนปักขคณนา (การคำนวนปักษ์) ได้ทุกรูป เพื่อบอกดิถีแก่คนทั้งหลายได้
  30. ตรัสอนุญาตให้เรียกชื่อหรือจับฉลากเพื่อนับจำนวนภิกษุวันอุโบสถ
  31. ตรัสอนุญาตให้พระเถระบอกวันอุโบสถแต่เช้าตรู่ หรือในเวลาฉันหรือในเวลาที่นึกได้ เพื่อไม่หลงลืมหรือไปที่อื่นเสีย
  32. ตรัสอนุญาตให้ปัดกวาด ปูอาสนะ ตามประทีป ตั้งน้ำดื่้มน้ำใช้ในโรงอุโบสถ โดยให้พระเถระเป็นผู้สั่งการ ไม่เป็นไข้ถูกใช้แล้วไม่ทำต้องอาบัติทุกกฏ
  33. ตรัสห้ามภิกษุที่จะไปที่อื่นโดยบอกลาอุปัชฌาย์หรืออาจารย์ ให้อุปัชฌาย์หรืออาจารย์สอบสวนว่าจะไปไหน ไปกับใคร ถ้าเห็นไม่สมควร ก็ไม่ให้อนุญาต ถ้าไม่อนุญาตขืนไปต้องอาบัติทุกกฏ
  34. ภิกษุผู้ทรงความรู้ประพฤติตนดีมา ให้ต้อนรับด้วยดี ถ้าไม่ต้อนรับ ต้องอาบัติทุกกฏ
  35. ถ้าไม่มีใครสวดปาติโมกข์ได้เลย ให้ส่งภิกษุรูปหนึึ่งไปในวัดที่อาจกลับได้ทันใ นวันนั้น เพื่อเรียนปาติโมกข์โดยย่อหรือโดยพิสดาร ถ้าไม่ได้ ภิกษุเหล่านั้นทุกรูปพึงพากัน ไปสู่วัดที่รู้วิธีทำอุโบสถ รู้ปาติโมกข์ ถ้าไม่ไปต้องทุกกฏ ถ้าเป็นช่วงพรรษาให้่ส่งภิกษุไปเรียนเช่นกัน ถ้าไม่ได้ให้ส่งไปชั่วระยะ 7 วัน ถ้าไม่ได้ ไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสนั้น ถ้าขืนอยู่ต้องอาบัติทุกกฏ
  36. ภิกษุเป็นไข้ ตรัสให้บอกความบริสุทธิ์แก่ภิกษุรูปหนึ่ง เพื่อนำไปบอกสงฆ์ ถ้าไม่มีผู้รับไปบอก ให้นำขึ้นเตียง ขึ้นตั่ง หามไปทำอุโบสถ ไม่ให้ทำอุโบสถแยกกัน ถ้าให้เคลื่อนที่อาพาธอาจกำเริบหรืออาจถึงมรณภาพ ให้สงฆ์ไปทำอุโบสถ ณ สถานที่ที่ภิกษุรูปนั้นอยู่ แล้วตรัสให้ภิกษุผู้รับบอกปาริสุทธิ์ ต้องไปบอกแก่สงฆ์ให้จงได้ ถ้าไปไม่ได้ด้วยตนเองให้มอบหมายผู้่อื่นไปบอกแทน ถ้าภิกษุผู้นำบริสุทธิ์เข้าไปที่ประชุมสงฆ์แล้ว จงใจไม่บอก ให้ถือว่าบริสุทธิ์นั้นเป็นอันนำมาแล้ว แต่ภิกษุผู้นำบริสุทธิ์ที่จงใจไม่บอกต้องอาบัติทุกกฏ
  37. สังฆกรรมอื่นนอกจากอุโบสถ ถ้าภิกษุเป็นไข้ตรัสอนุญาตให้มอบฉันทะและมีเงื่อนไขคล้ายอุโบสถ
  38. ในวันอุโบสถถ้ามีสังฆกรรมอื่นด้วย ตรัสอนุญาตให้่ภิกษุผู้บอกความบริสุทธิ์นั้น บอกให้ฉันทะด้วย (มีรายละเอียดวิธีในภาคผนวก หน้า 430)
  39. ภิกษุถูกญาติจับตัว ถูกคนอื่น ๆจับตัว ไม่สามารถมาร่วมทำอุโบสถได้ ให้เจรจาขอตัวมาทำอุโบสถ ถ้าไม่สำเร็จให้เจรจาขอให้บอกบริสุทธิ์ ถ้าไม่สำเร็จให้นำภิกษุนั้นออกให้พ้นเขตสีมา เพื่อให้สงฆ์ที่เหลือทำอุโบสถ สงฆ์เป็นวรรคไม่พึงทำอุโบสถถ้าทำต้องอาบัติทุกกฏ
  40. ถ้าในอุโบสถหรือสังฆกรรมอื่นมีภิกษุเป็นบ้า อยู่ในเขตสีมา ให้สงฆ์สวดสมมติเพื่อจะได้ทำอุโบสถ หรือสังฆกรรมอื่น ๆโดยไม่มีเธออยู่ด้วย
  41. พระมี 4 รูป ตรัสอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ ถ้ามี 3 รูป ให้ประชุมกันตั้งญัตติบอกความบริสุทธิ์แก่กันและกัน เรียกว่า ปาริสุทธิอุโบสถ ถ้า 2 รูป ให้บอกความบริสุทธิ์แก่กัน โดยไม่ต้องตั้งญัตติ ถ้ามีรูปเดียว ให้ปัดกวาดสถานที่คอยภิกษุอื่น เมื่อไม่เห็นมาให้อธิษฐานในใจระลึกว่าวันนี้เป็นวันอุโบสถ ถ้าไม่ทำต้องอาบัติทุกกฏ เรียกว่า อธิษฐานอุโบสถ (มีรายละเอียดวิธีการอยู่ในภาคผนวก หน้า 426)
  42. มิให้ทำอุโบสถทั้งที่ยังมีอาบัติ ให้แสดงอาบัติก่อนแล้วจึงทำอุโบสถ ถ้าสงสัยในอาบัติก็ให้บอกแก่ภิกษุรูปหนึ่งก่อน
  43. ห้ามภิกษุที่ต้องอาบัติเหมือน ๆกันแสดงคืนอาบัติ (ปลงอาบัติ) ที่เหมือน ๆกัน (สภาคาบัติ) ถ้าแสดงหรือรับ ต้องอาบัติทุกกฏ
  44. ถ้าระลึกได้ว่า ยังมีอาบัติอยู่ หรือสงสัยว่าจะต้องอาบัติใด ๆในขณะฟังปาติโมกข์ให้บอกแก่ภิกษุที่อยู่ใกล้ ๆ เพื่อรับทราบไว้ เมื่อเสร็จอุโบสถ จะแสดงอาบัติ แล้วทำอุโบสถฟังปาติโมกข์ต่อไป แต่ต้องไม่ทำอันตรายต่ออุโบสถ
  45. ถ้าสงฆ ์ต้องอาบัติในเรื่องเดียวกัน (สภาคาบัติ) ทั้งวัด ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่ง ไปทำคืนอาบัติกับภิกษุอื่นที่ไม่ต้องสภาบัติ (กรณีจำพรรษาให้ไปกลับภายใน 7 วัน) กรณีสงฆ์ทั้งหมด ไม่แน่ใจในสภาคาบัติพึงสวดญัตติกรรมวาจาในเรื่องสภาคาบัติ (มีรายละเอียดวิธีในภาคผนวกหน้า 433) แล้วทำอุโบสถ
  46. ถ้าสงฆ์ทั้งวัดต้องอาบัติเรื่องเดียวกัน แต่ไม่รู้ชื่อหรือต้นเค้าแห่งอาบัติ ให้สอบถามภิกษุผู้รู้วินัย ที่เดินทางมาพัก ถ้าภิกษุเหล่านั้นจะปลงอาบัตินั้น ตามคำขอของภิกษุผู้รู้วินัย ทำได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าจะไม่พึงทำคืนภิกษุผู้รู้วินัยนั้นไม่ปรารถนา ก็ไม่พึงว่ากล่าวภิกษุเหล่านั้น.
  47. ทรง แสดงเงื่อนไข ในการทำอุโบสถที่ไม่ต้องอาบัต ิเกี่ยวกับไม่รู้ว่ายังมีภิกษุอื่นอยู่อีก จึงทำอุโบสถไปก่อนรวม 15 ข้อ สรุปได้ว่า ถ้าภิกษุที่มาที่หลังมากกว่าให้สวดใหม่ ยกเว้นสวดจบลุกหมดแล้วให้บอกบริสุทธิ์ ,ถ้าภิกษุที่มาที่หลังมีจำนวนเท่ากันหรือน้อยกว่าให้สวดต่อ ถ้าสวดจบไปแล้วให้บอกบริสุทธิ์
  48. ทรงแส ดงเงื่อนไขในการทำอุโบสถ ที่รู้อยู่ว่ายังมีัภิกษุอื่นยังมิได้มาทำอุโบสถ สำคัญว่าเป็นธรรมเป็นวินัย สำคัีญว่าพร้อมกันจึงทำอุโบสถ คงปรับอาบัติทุกกฏเฉพาะภิกษุผู้สวด รวม 15 ข้อและให้ทำตามข้อสรุปในข้อ 47
  49. ทรงแสดงเงื่อนไขในการทำอุโบสถ ที่รู้อยู่ว่ายังมีภิกษุอื่นยังมิได้มา แต่สงสัยว่าจะเป็นการสมควรหรือไม่ แล้วขืนสวดปาติโมกข์คงปรับอาบัติทุกกฏเฉพาะผู้สวด รวม 15 ข้อ และให้ทำตามข้อสรุปในข้อ 47
  50. ท รงแสดงเงื่อนไขในการทำอุโบสถ ที่รู้อยู่ว่ายังมีภิกษุอื่นยังมิได้มาแต่มุ่งให้แตกร้าวว่า ขอให้ภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญจงพินาศ แล้วสวดปาติโมกข์ปรับอาบัติถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้สวด รวม 15 ข้อ และให้ทำตามข้อสรุปในข้อ 47
  51. ท รงแสดงเงื่อนไขในการทำอุโบสถ ที่รู้อยู่ว่ายังมีภิกษุอื่นยังมิได้มาแต่มุ่งให้แตกร้าวว่า ขอให้ภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญจงพินาศ แล้วสวดปาติโมกข์ปรับอาบัติถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้สวดรวม 15 ข้อ และให้ทำตามข้อสรุปในข้อ 47
  52. ท รงแสดงเงื่อนไขดังกล่าว ระหว่างภิกษุที่อยู่ประจำวัดกับภิกษุที่อยู่ประจำวัด, ระหว่างภิกษุที่อยู่ประจำวัดกับภิกษุที่อยู่ประจำวัด, ระหว่างภิกษุที่อยู่ประจำวัดกับภิกษุอาคันตุกะ,ระหว่างภิกษุอาคันตุกะกับภิก ษุที่อยู่ประจำวัด,และระหว่างภิกษุอาคันตุกะกับภิกษุอาคันตุกะรวม 700 ข้อ
  53. ทรงแสดงเงื่อนไขการนับวันอุโบสถ 14 ค่ำหรือ 15 ค่ำ ที่ภิกษุอยู่ประจำวัดกับภิกษุอาคันตุกะ มีความเห็นแตกต่างกัน ให้อนุโลมตามภิกษุข้างมาก เป็นต้น อีกหลายร้อยข้อ
  54. ในวันอุโบสถนั้น ไม่พึงออกจากที่มีภิกษุสมานสังวาสที่พอจะทำอุโบสถได้ ไปสู่ที่ ๆ ไม่มีภิกษุพอทำอุโบสถได้ หรือเป็นนานาสังวาส ยกเว้นแต่ไปเป็นสงฆ์ ( 4 รูปขึ้นไป ) เว้นแต่มีอันตราย หรือไปสู่ที่มีภิกษุสมานสังวาสที่พอจะทำอุโบสถได้ ที่รู้ว่าจะสามารถไปถึงได้ในวันนั้น
  55. ในที่สุดทรงแสดงหลักการ ที่มิให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่มีภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี ภิกษุผู้บอกคืนสิกขา (สึก) ผู้ต้องอันติมวัตถุ (ต้องปาราชิก) ผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัีติ ผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป มีบัณเฑาะก์(กระเทย) มีคนลักเพศ (ปลอมบวช) มีภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์(ไปเข้าศาสนาอื่น) มีสัตว์เดรัจฉาน คนฆ่ามารดา คนฆ่าบิดา คนฆ่าพระอรหันต์ คนประทุษร้ายภิกษุณี คนทำลายสงฆ์ คนทำร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิต นั่งรวมอยู่ด้วย ในการสวดปาติโมกข์
  56. ถ้านำบริสุทธิ์มาบอกแล้ว แต่มีการเลิกประชุมอุโบสถเสีย เมื่อจะทำอุโบสถให้ผู้นำบริสุทธิ์บอกใหม่ และทรงบัญญัติว่าไม่พึงทำอุโบสถในวันที่มิใช่วันอุโบสถ ยกเว้นวันที่สงฆ์สามัคคี.

  57. ปาติโมกขุทเทส 5

    (พระไตรปิฎกแปลไทย มจร.4/230/150)
    การสวดปาติโมกข์มี 5 วิธี ดังนี้
    1. ภิกษุสวดนิทานจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท
    2. ภิกษุสวดนิทานสวดปาราชิก 4 จบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท
    3. ภิกษุสวดนิทาน สวดปาราชิก 4 สวดสังฆาทิเสส 13 จบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท
    4. ภิกษุสวดนิทาน สวดปาราชิก 4 สวดสังฆาทิเสส 13 สวดอนิยต 2 จบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท
    5. ภิกษุสวดโดยพิสดารหมด
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีอันตราย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ย่อ รูปใดสวดต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลายเมื่อมีอันตรายเราอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ ขึ้นแสดงโดยย่อ”
    อันตรายในเรื่องเหล่านี้คือ
    1. พระราชาเสด็จมา
    2. โจรมาปล้น
    3. ไฟไหม้
    4. น้ำหลากมา
    5. คนมามาก
    6. ผีเข้าภิกษุ
    7. สัตว์ร้ายเข้ามา
    8. งูร้ายเลื้อยเข้ามา
    9. ภิกษุจะถึงแก่ชีวิต
    10. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์
    ตัวอย่างการสวดปาติโมกข์ย่อ เช่น วิธีที่ 1
    ที่ตรัสว่า “ภิกษุสวดนิทานจบแล้ว พึงสวดอุเทสที่เหลือด้วยสุตบท” โดย
    -เริ่มด้วยการสวดบุพพกิจบุพพกรณ์ คือเริ่มตั้งแต่
    อุโปสะถะกะระณะโต ปุพเพ นะวะวิธัง ปุพพะกิจจัง กาตัพพัง โหติ………สวดไปเรื่้อยๆ จนถึง……..อะนุมาเนตัพโพ.
    -ต่อไปจึงสวดนิทานนุสเทส ดังนี้
    สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อัชชุโปสะโถ ปัณณะระโส ยะทิ สังฆัสสะ….สวดไปเรื่อยๆ จนถึง…….ผาสุ  โหติ.
    -จากนี้จึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท ดังนี้
    อุททิฏฐัง โข อายัส๎มันโต นิทานัง.
    ตัตถายัส๎มันเต ปุจฉามิ. กัจจิตถะ ปะริสุทธา?
    ทุติยัมปิ  ปุจฉามิ. กัจจิตถะ ปะริสุทธา?
    ตะติยัมปิ ปุจฉามิ. กัจจิตถะ ปะริสุทธา?
    ปะริสุทเธตถายัส๎มันโต, ตัส๎ั ตุณ๎หี,เอวะเมตัง ธาระยามิ.
    สุตา  โข  ปะนายัส๎มันเตหิ  จัตตาโร  ปาราชิกา  ธัมมา.
    สุตา  โข  ปะนายัส๎มันเตหิ เตระสะ สังฆาทิเสสา ธัมมา.
    สุตา  โข  ปะนายัส๎มันเตหิ เท๎ว อะนิยะตา ธัมมา.
    สุตา  โข  ปะนายัส๎มันเตหิ ติงสะ นิสสัคคิยา  ปาจิตติยา  ธัมมา.
    สุตา  โข  ปะนายัส๎มันเตหิ  เท๎วนะวุติ ปาจิตติยา  ธัมมา.
    สุตา  โข  ปะนายัส๎มันเตหิ จัตตาโร ปาฏิเทสะนียา ธัมมา.
    สุตา  โข  ปะนายัส๎มันเตหิ ปััญจะสัตตะติ  เสขิยา  ธัมมา.
    สุตา  โข  ปะนายัส๎มันเตหิ สัตตาธิกะระณะสะมะถา ธัมมา.
    เอตตะกันตัสสะ ภะคะวะโต สุตตาคะตัง สุตตะปะริยาปันนัง อัน๎ัวัฑฒะมาสัง อุทเทสัง อาคัจฉะติ.
    ตัตถะ สัพเพเหวะ สะมัคเคหิ  สัมโมทะมาเนหิ อะวิวะทะมาเนหิ สิกขิตัพพันติ.
    ภิกขุปาติโมกขัง นิฏฐิตัง.
    (คำว่า ปะนายัส๎มันเตหิ  ในบุพพสิกขาใช้ อายัส๎มันเตหิ)
    ภิกษุเป็นไข้  หรือ จะมรณภาพ หรือมีคนมีเวรกันประสงค์จะฆ่า จึงจับภิกษุนั้น (วิ.อ.3/150/131)
    มีอันตรายแก่พรหมจรรย์  คือ มนุษย์ทั้งหลาย ประสงค์จะให้ภิกษุรูปเดียว หรือหลายรูป เคลื่อนจากพรหมจรรย์ (จะให้สึก) จึงจับภิกษุเหล่านี้ไว้ (วิ.อ. 3/150/131)