วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2560

113 วิชา พุทธประวัติ ธรรมศึกษาชั้นตรี




บทนำ
 
วิชาพุทธประวัติ  เป็นวิชาว่าด้วยประวัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระศาสดาแห่งเราทั้งหลาย  จึงควรที่เราทั้งหลายในฐานะเป็นพุทธศาสนิกชนต้องศึกษา  ซึ่งนอกจากจะทำให้ได้ทราบถึงวงศ์ตระกูล  การศึกษาฐานะทางสังคมของพระศาสดาก่อนที่จะทรงผนวชแล้วยังจะได้พิสูจน์ความจริงเกี่ยวกับพระศาสดาอย่างน้อย    ประการ  คือ
๑.  สัมมาสัมพุทธปฏิญญา  ได้แก่การที่ทรงปฏิญญาว่าเป็นพระพุทธเจ้าเราจะได้ศึกษาว่า  ธรรมที่ทรงตรัสรู้นั้น  มีศาสดาอื่นเขาสอนกันมาก่อนแล้วหรือไม่
๒.  ขีณาสวปฏิญญา  ได้แก่  ที่ทรงปฏิญญาว่า  พระองค์เป็นขีณาสพ  คือ  หมดกิเลสนั้น  เราจะได้ศึกษาดูพระจริยาวัตรที่ทรงปฏิบัติมา ๔๕  พรรษา  หลังจากทรงตรัสรู้แล้วว่ามีตรงไหนบ้างที่แสดงว่า  พระองค์ยังมีกิเลสอยู่ 
.  อันตรายิกธรรมวาทะ  ได้แก่  การที่พระองค์ทรงสอนว่า  ธรรมเหล่าใดเป็นอันตรายแก่บุคคลผู้ประพฤติ  เราศึกษาดูธรรมเหล่านั้นแล้ว  จะได้ทราบว่า  เป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่
๔.  นิยานิกธรรมเทศนา  ได้แก่  การที่พระองค์ทรงแสดงธรรมใดว่าทำให้ผู้ปฏิบัติตามพ้นจากความทุกข์  เราจะได้ศึกษาดูว่า  ธรรมเหล่านั้นช่วยให้ผู้ปฏิบัติตามพ้นทุกข์ได้จริงหรือไม่
การศึกษาวิชาพุทธประวัติด้วยความเคารพ  และความสนใจใฝ่รู้  ย่อมนำไปสู่เป้าหมายอันสำคัญที่สุดของพุทธศาสนิกชน  คือ  ตถาคตโพธิศรัทธา ความเชื่อมั่นในความตรัสรู้ของพระตถาคต  ซึ่งผู้มีศรัทธานี้แล้ว  ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์  และความสุขแก่ชีวิตอย่างยิ่งใหญ่ไพศาล

พุทธประวัติ
ปุริมกาล
ปริจเฉทที่ 
ชมพูทวีปและประชาชน

ชมพูทวีป  คือ  ประเทศอินเดีย  ปัจจุบันนี้ได้แก่ อินเดีย  ปากีสถาน  เนปาล บังคลาเทศ
ประชาชนในชมพูทวีป  มี    พวก  คือ  .  พวกเจ้าของถิ่นเดิม  เรียกว่า  มิลักขะ  .  พวกที่ยกมาจากแผ่นดินข้างเหนือ  เรียกว่า  อริยกะ
ชมพูทวีปแบ่งเป็น    จังหวัด  คือ  .  ร่วมใน  เรียกว่า  มัชฌิมชนบท  .  ภายนอก  เรียกว่า  ปัจจันตชนบท
มูลเหตุแห่งการแบ่งเช่นนี้  สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส  ทรงสันนิษฐานว่า  พวกอริยะ คงเรียกชนบทที่ตนเข้าตั้ง  และเป็นใจกลางแห่งการปกครองว่า  มัชฌิมชนบท  เรียกชนบทที่พวกมิลักขะตั้งอยู่ภายนอกเขตของตนว่า  ปัจจันตชนบท
ชมพูทวีปตามบาลีอุโบสถสูตร  ในติกนิบาทอังคุตตรนิกาย  ระบุว่า  มี  ๑๖  แคว้น  คือ  อังคะ  มคธะ  กาสี  โกสละ  วัชชี  มัลละ  เจตี  วังสะ  กุรุ  ปัญจาละ  มัจฉะ  สุรเสน  อัสสกะ  อวันตี  คันธาระ  กัมโพชะ  และในบาลีอื่นที่ไม่ซ้ำอีก    คือ  สักกะ  โกลิยะ  ภัคคะ  วิเทหะ  อังคุตตราปะ
คนในชมพูทวีป  แบ่งเป็น    พวก  เรียกว่า  วรรณะ  คือ
๑.  กษัตริย์  พวกเจ้า  มีธุระทางรักษาบ้านเมือง
๒.  พราหมณ์  พวกเล่าเรียนมีธุระทางฝึกสอนและทำพิธี
๓.  แพศย์  พวกพลเรือน  มีธุระทางทำนา  ค้าขาย
.  ศูทร  พวกคนงาน  มีธุระรับจ้างทำการ  ทำของ 
และยังมีคนนอกจาก    พวกนี้อีก  เรียกว่า จัณฑาล  อันเกิดมาจากบิดาและมารดาที่ต่างวรรณะกัน  เป็นที่ดูหมิ่นของคนมีชาติสกุลเป็นอย่างยิ่ง

การศึกษาของวรรณะ 
พวกกษัตริย์  ศึกษาในเรื่องยุทธวิธี
พวกพราหมณ์  ศึกษาในเรื่องศาสนา  และวิทยาการต่างๆ
พวกแพศย์  ศึกษาเรื่องศิลปะ  กสิกรรม  และพาณิชการ
พวกศูทร  ศึกษาเรื่องการงานที่จะพึงทำด้วยแรงกาย

ความเชื่อของชาวชมพูทวีป
.  เกี่ยวกับความเกิดและความตาย  บางพวกเชื่อว่าตายแล้วเกิดใหม่  บางพวกเชื่อว่าตายแล้วสูญ
.  เกี่ยวกับความสุขและความทุกข์  บางพวกถือว่า  สัตว์จะได้สุขหรือทุกข์ก็ได้เอง  สุขทุกข์ไม่มีเหตุปัจจัย  บางพวกเห็นว่า  สุขทุกข์มีเหตุปัจจัย

วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับความเกิด  ความตาย  และสุขทุกข์
พวกที่ถือว่าตายแล้วเกิดอีก  เข้าใจว่าประพฤติอย่างไรจะได้ไปเกิดในสวรรค์  และสุคติ  ก็ประพฤติอย่างนั้น
พวกที่ถือว่าตายแล้วสูญ  ก็ประพฤติมุ่งแต่เพียงเอาตัวรอดในปัจจุบัน  ไม่กลัวแต่ความเกิดในนรกและทุคติ
พวกที่ถือว่า  จะได้สุขหรือทุกข์ก็ได้เอง  สุขทุกข์ไม่มีเหตุปัจจัย  ก็ไม่มีการขวนขวาย  ได้แต่คอยเสี่ยงสุขเสี่ยงทุกข์ไปวันๆ
พวกที่ถือว่า  สุขทุกข์มีมาเพราะเหตุปัจจัยภายนอก  ก็บวงสรวงเทวดาขอให้ช่วยบ้าง  ขวนขวายในทางอื่นบ้าง
พวกที่ถือว่า  สุขทุกข์มีมาเพราะเหตุปัจจัยภายใน  คือ  กรรม  เห็นว่ากรรมใดเป็นเหตุแห่งทุกข์  ก็เว้นกรรมนั้นเสีย  ไม่ทำ  เห็นว่ากรรมใดเป็นเหตุแห่งสุขก็ทำกรรมนั้น

ปริจเฉทที่ 
สักกชนบท  และศากยวงศ์
สักกชนบท  ตั้งอยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือ  ที่ได้ชื่ออย่างนั้นเพราะตั้งขึ้นในดงไม้สักกะ  ส่วนกษัตริย์ผู้ปกครองสักกชนบทนั้น  เรียกว่า  ศากยะ  ที่ได้ชื่ออย่างนั้น  เพราะสามารถตั้งบ้านเมืองและตั้งวงศ์ได้ตามลำพัง  แห่งโอรสของพระเจ้าโอกากราช  ดังมีประวัติย่อว่า
พระเจ้าโอกากราช  ได้ครองราชสมบัติในพระนครตำบลหนึ่ง  ทรงมีพระโอรส    พระองค์  พระธิดา    พระองค์  วันหนึ่งทรงพลั้งพระโอษฐ์พระราชทานพระนครให้กับพระโอรสที่เพิ่งประสูติจากพระมเหสีอีกพระองค์หนึ่ง  จึงต้องรับสั่งให้พระโอรสและพระธิดาเหล่านั้นไปตั้งเมืองใหม่  ทั้งหมดได้ไปตั้งอยู่ที่ดงไม้สักกะประเทศหิมพานต์
สักกชนบทนั้น  มีเมืองหลวงชื่อว่า  กบิลพัสดุ์  เพราะสถานที่นั้นเคยเป็นสถานที่อยู่ของกบิลดาบสมาก่อน  และเพราะถูกสร้างขึ้นตามคำแนะนำของกบิลดาบส

ศากยวงศ์
พระราชบุตร  และพระราชบุตรีของพระเจ้าโอกากราชสมรสกันเอง  มีเชื้อสายสืบสกุลลงมาเป็นพวกศากยะ  แต่บางแห่งก็แบ่งเรียกสกุลพระเชษฐภคินีว่า  พวกโกลิยะ
สกุลพระศาสดา  ครองนครกบิลพัสดุ์  สืบเชื้อสายลงมาโดยลำดับจนถึงพระเจ้าชยเสนะ  พระเจ้าชยเสนะ  นั้น  มีพระราชบุตรพระนามว่า  สีหนุ  มีพระราชบุตรีพระนามว่า  ยโสธรา
ครั้นพระเจ้าชยเสนะทิวงคตแล้ว  สีหหนุกุมารได้ทรงครองราชย์สืบพระวงศ์ต่อมา  ท้าวเธอทรงมีพระมเหสีพระนามว่า  กัญจนา  ซึ่งเป็นกนิษฐภคินีของพระเจ้าอัญชนะ  เจ้าผู้ครองเทวทหนคร
พระเจ้าสีหนุและพระนางกัญจนา  มีพระราชบุตร    พระองค์  คือ  สุทโธทนะ ๑  สุกโกทนะ    อมิโตทนะ    โธโตทนะ    ฆนิโตทนะ    และ มีพระราชบุตรี    พระองค์  คือ  ปมิตา ๑  อมิตา ๑ 
ส่วนพระนางยโสธรา  ผู้เป็นกนิษฐภคินีของพระเจ้าสีหนุนั้น  ได้เป็นมเหสีของพระเจ้าอัญชนะ  มีพระราชบุตร ๒ พระองค์  คือ  สุปปพุทธะ    ทัณฑปาณิ    พระราชบุตรี    พระองค์  คือ  มายา    ปชาบดี 
พระผู้มีพระภาคเจ้า  ผู้พระศาสดาของเราทั้งหลายได้เสด็จมาอุบัติขึ้นในพวกอริยกชาติ  ในจังหวัดมัชฌิมชนบท  ชมพูทวีป  แคว้นสักกะ  ในสกุลกษัตริย์พวกศากยะผู้โคตมโคตร  เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนศากยะเจ้ากรุงกบิลพัสดุ์  กับพระนางมายา  เมื่อก่อนพุทธศก  ๘๐  ปี

ปริจเฉทที่ 
พระศาสดาประสูติ
เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางมายา  ทรงอภิเษกสมรสกัน  ต่อมา  พระศาสดาของเราทั้งหลาย  ได้ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของนางมายา  ในวันจะประสูติพระโอรส  พระนางได้เสด็จประพาสอุทยานลุมพินีวัน ทรงประชวรพระครรภ์  ประสูติพระโอรสใต้ร่มไม้สาละ  เมื่อวันศุกร์  เพ็ญเดือนวิสาขะ  ปีจอ  ก่อนพุทธศก  ๘๐  ปี  เวลาใกล้เที่ยง ขณะประสูติ พระนางสิริมหามายาประทับยืนจับกิ่งสาละ พระโอรสพอประสูติแล้ว ดำเนินไปได้ ๗ ก้าว เปล่งอาสภิวาจา อันเป็นบุพพนิมิตแห่งการตรัสรู้

อสิตดาบสเข้าเยี่ยม
ฝ่ายอสิตดาบส (อีกอย่างหนึ่งเรียก กาฬเทวิลดาบส) ผู้เป็นที่นับถือของราชสกุล ได้ทราบข่าวจึงเข้าไปเยี่ยม
พระเจ้าสุทโธทนะ  ทรงอุ้มพระราชโอรสออกมาเพื่อจะให้นมัสการพระดาบส  พระดาบสเห็นพระโอรสนั้นมีลักษณะต้องด้วยตำหรับมหาบุรุษลักษณะ  มีความเคารพนับถือในพระราชโอรสนั้นมาก  จึงลุกขึ้นกราบลงที่พระบาททั้งสองของพระโอรสนั้นด้วยศีรษะของตน  พร้อมกล่าวคำทำนายลักษณะของพระราชโอรสแล้ว  ถวายพระพรลากลับไปอาศรมแห่งตน  ทำให้ราชสกุลทั้งหลายเกิดความนับถือในพระโอรส  ถวายโอรสของตนเป็นบริวารสกุลละองค์ 

ประสูติได้    วัน  ทำนายลักษณะ ขนานพระนาม
เมื่อพระราชกุมารประสูติได้    วัน  พระเจ้าสุทโธทนะโปรดให้ชุมนุมพระญาติวงศ์และเสนามาตย์พร้อมกัน  เชิญพราหมณ์ร้อยแปดคนมาฉันโภชนาหารแล้วทำนายพระลักษณะว่า  พระกุมารมีคติเป็น    คือ  ถ้าได้ครองฆราวาส  จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ครองแผ่นดิน  มีสมุทรสาคร    เป็นขอบเขต  ถ้าออกทรงผนวช  จักได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระศาสดาเอกในโลก  และขนานพระนามว่า  สิทธัตถกุมาร  แต่มหาชนมักเรียกตามพระโคตรว่า  โคตมะ

ประสูติได้    วัน  พระมารดาสิ้นพระชนม์
ฝ่ายพระนางเจ้ามายาผู้เป็นพระมารดา  พอประสูติพระโอรสได้    วัน  ก็สิ้นพระชนม์  พระเจ้าสุทโธทนะจึงทรงมอบพระราชโอรสนั้นแก่พระนางปชาบดีโคตมี  พระมาตุจฉาเลี้ยงต่อมา
ภายหลังพระนางนั้นมีพระราชบุตรพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า นันทกุมาร  มีพระราชบุตรีพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า  รูปนันทา

พระชนมายุ    ปี  ขุดสระโบกขรณี    สระ
เมื่อสิทธัตถกุมารทรงเจริญพระชนมายุได้    พรรษา พระราชบิดาตรัสให้ขุดสระโบกขรณีในพระราชนิเวศน์    สระ  ปลูกอุบลบัวขาบสระ    ปลูกปทุมบัวหลวงสระ ๑  ปลูกบุณฑริกบัวขาวสระ    ให้เป็นที่เล่นสำราญพระหฤทัยพระราชโอรส
ครั้งพระราชกุมารมีพระชนม์เจริญ  ควรจะศึกษาศิลปวิทยาได้  จึงทรงพาไปมอบไว้ในสำนักครูวิศวามิตร  พระราชกุมารทรงเรียนได้ว่องไว  จนสิ้นความรู้ของอาจารย์แล้วได้แสดงให้ปรากฏแก่หมู่พระญาติ  ไม่มีพระกุมารอื่นจะเทียมถึง

พระชนมายุ  ๑๖  พรรษา  อภิเษกพระชายา
เมื่อพระราชกุมารทรงพระเจริญวัย  มีพระชนมายุได้  ๑๖  ปี  ควรมีพระเทวีได้แล้ว  พระราชบิดาตรัสสั่งให้สร้างปราสาท    หลัง  เพื่อเป็นที่เสด็จอยู่แห่งพระราชโอรส  ใน    ฤดู  คือ  ฤดูหนาว  ฤดูร้อน  ฤดูฝน  แล้ว  ได้ตรัสขอพระนางยโสธรา  (บางแห่งเรียกพิมพา)  พระราชบุตรีของพระเจ้าสุปปพุทธะในเทวทหนคร อันประสูติแต่นางอมิตาพระกนิษฐภคินีของพระองค์มาอภิเษกเป็นพระชายา
ฝ่ายพระราชกนิษฐภาดา  ของพระเจ้าสุทโธทนะนั้น 
สุกโกทนศากยะ  มีโอรสองค์หนึ่ง  ทรงนามว่า  อานนท์
อมิโตทนศากยะ  มีโอรส    องค์  ทรงนามว่า  มหานามะ    อนุรุทธะ 
มีธิดา    องค์  ทรงนามว่า  โรหิณี
นางอมิตาพระราชกนิษฐภคินี  เป็นพระมเหสีของพระเจ้าสุปปพุทธะ  ประสูติราชบุตรองค์    ทรงนามว่า  เทวทัต  ราชบุตรีองค์    ทรงนามว่า  ยโสธรา  หรือพิมพา  พระชายาของสิทธัตถกุมาร
พระกุมารและพระกุมารีในศากยวงศ์ทั้ง    สายนั้น  เจริญขึ้นโดยลำดับ ดังนี้แล

ปริจเฉทที่ 
เสด็จออกบรรพชา
สิทธัตถกุมาร  เสด็จอยู่ครองฆราวาสสมบัติ  ตราบเท่าพระชนมายุ  ๒๙  พรรษา  มีพระโอรสประสูติแต่พระนางยโสธราพระองค์หนึ่ง  ทรงพระนามว่า  ราหุลกุมาร
วันหนึ่ง  ได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต    คือ  คนแก่  คนเจ็บ  คนตาย  และสมณะ  อันเทวดาแสร้างนิรมิตไว้ในระหว่างทาง  เมื่อเสด็จประพาสพระราชอุทยาน    วาระโดยลำดับกัน  ทรงสังเวชเหตุได้เห็นเทวทูต    ข้างต้น  ยังความพอพระหฤทัยในบรรพชาให้เกิดขึ้นเพราะได้เห็นสมณะ  ในเวลากลางคืนทรงม้ากัณฐกะ  มีนายฉันนะตามเสด็จ  ถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา  ตรัสสั่งนายฉันนะให้นำม้าพระที่นั่งกลับคืนพระนครแล้ว  ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์  อธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต ณ ที่นั้น  ส่วนไตรจีวรและบาตร  ฆฏิการพรหมนำมาถวาย

ปริจเฉทที่ 
ตรัสรู้
พระมหาบุรุษทรงบรรพชาแล้ว  เสด็จประทับแรมอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน  แขวงมัลลชนบท  ชั่วเวลาราว    วัน  ได้เสด็จผ่านกรุงราชคฤห์  พระเจ้าพิมพิสารพระเจ้ามคธ  ได้เสด็จมาพบเข้า  ตรัสถามถึงชาติสกุลแล้วตรัสชวนให้อยู่  จะพระราชทานอิสริยยศยกย่อง  พระองค์ไม่ทรงรับ  แสดงพระประสงค์ว่า  มุ่งจะแสวงหาพระสัมมาสัมโพธิญาณ  พระเจ้าพิมพิสารทรงอนุโมทนาแล้วตรัสขอปฏิญญาว่า  ตรัสรู้แล้วขอให้เสด็จมาเทศนาโปรด
ต่อจากนั้น  พระมหาบุรุษได้เสด็จไปอยู่ในสำนักอาฬารดาบส  กาลามโคตร  และอุทกดาบส  รามบุตร  ซึ่งมหาชนนับถือว่าเป็นคณาจารย์ใหญ่  ขอศึกษาลัทธิสมัยของท่านทั้งสอง  ได้ทรงทำทดลองในลัทธินั้นทุกอย่างแล้วเห็นว่าไม่ใช่ทางพระสัมมาสัมโพธิญาณ  จึงเสด็จจาริกไปในมคธชนบท  บรรลุถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  ทรงพระดำริเห็นว่าประเทศนั้น  ควรเป็นที่ตั้งความเพียรของกุลบุตรผู้มีความต้องการด้วยความเพียรได้  จึงเสด็จประทับอยู่ ณ ที่นั้น  ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา  ทรมานพระกายให้ลำบากเป็นกิจยากที่จะกระทำได้

ทุกรกิริยา    วาระ
วาระแรก  ทรงกดพระทนต์ด้วยพระทนต์  กดพระตาลุด้วยพระชิวหาไว้ให้แน่น  จนพระเสโทไหลออกจากพระกัจฉะ  ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า  ครั้นทรงเห็นว่าการทำอย่างนั้นไม่ใช่ทางตรัสรู้  จึงทรงเปลี่ยนอย่างอื่น
วาระที่    ทรงผ่อนกลั้นลมอัสสาสะ  ปัสสาสะ  ไม่ให้ลมหายใจเดินสะดวกทางช่องพระนาสิก  และช่องพระโอษฐ์  ได้เสวยทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า  ก็ไม่ได้ตรัสรู้  จึงทรงเปลี่ยนอย่างอื่นอีก
วาระที่    ทรงอดพระอาหาร  ผ่อนเสวยแต่วันละน้อยๆ บ้าง  เสวยพระอาหารละเอียดบ้าง  จนพระกายเหี่ยวแห้ง  พระฉวีวรรณเศร้าหมอง  พระอัฐิปรากฏทั่วพระกาย
ภายหลังทรงลงสันนิษฐานว่า  การทำทุกรกิริยาไม่ใช่ทางตรัสรู้แน่แล้ว  ได้ทรงเลิกเสียด้วยประการทั้งปวง  กลับเสวยพระอาหารโดยปกติ  ไม่ทรงอดอีกต่อไป

อุปมา    ข้อ  ปรากฏ
ครั้งนั้น  อุปมา    ข้อ  ที่พระมหาบุรุษไม่เคยทรงสดับมาปรากฏแจ่มแจ้งแก่พระองค์ว่า
๑.  ไม้สดที่ชุ่มด้วยยาง  แช่อยู่ในน้ำ  จะเอามาสีกันเพื่อให้เกิดไฟย่อมไม่ได้  เหมือนสมณพราหมณ์บางพวก ตัวก็ยังหมกอยู่ในกาม  ใจก็ยังรักใคร่ในกาม พากเพียรพยายามอย่างไรก็คงไม่ตรัสรู้ 
๒.  ไม้สดที่ชุ่มด้วยยาง  แม้จะไม่ได้แช่อยู่ในน้ำ ก็ไม่สามารถสีให้เกิดไฟได้  เช่นเดียวกัน  เหมือนสมณพราหมณ์บางพวกแม้มีกายหลีกออกจากกามแล้ว  แต่ใจยังรักใคร่ในกาม  จะพยายามอย่างไรก็คงไม่สามารถตรัสรู้ได้
๓.  ไม้แห้งที่วางไว้บนบก  ไกลน้ำ  สามารถสีให้เกิดไฟได้  เหมือนสมณพราหมณ์บางพวก  มีกายหลีกออกจากกาม  ใจก็ละความรักใคร่ในกาม  สงบดีแล้ว  หากพากเพียรพยายามอย่างถูกต้อง  ย่อมสามารถตรัสรู้ได้
อุปมาทั้ง    ข้อนี้  ทำให้พระองค์เกิดพระสติหวนระลึกถึงความเพียรทางใจว่า  จักเป็นทางตรัสรู้ได้กระมัง  ใคร่จะตั้งความเพียรทางจิต  ทรงคิดเห็นว่าคนซูบผอมเช่นนี้ไม่สามารถทำได้  จำเราจะกินอาหารแข้น  คือ  ข้าวสุก  ขนมกุมาส  ให้มีกำลังก่อน  จึงกลับเสวยพระอาหารโดยปกติ
 
ปัญจวัคคีย์หนี
ฝ่ายปัญจวัคคีย์  คือ บรรพชิต ๕  รูป ชื่อ โกณฑัญญะ ๑  วัปปะ    ภัททิยะ    มหานามะ ๑  อัสสชิ    ซึ่งพากันออกบวชตามพระมหาบุรุษคอยเฝ้าปฏิบัติทุกเช้าค่ำ  ด้วยหวังว่าพระองค์ได้บรรลุธรรมใด จักทรงสั่งสอนตนให้บรรลุธรรมนั้นบ้าง  ครั้นเห็นพระองค์ทรงละทุกรกิริยา  มาเสวยพระอาหาร เข้าใจว่าคงไม่อาจบรรลุธรรมพิเศษได้แล้ว จึงพากันหนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  แขวงเมืองพาราณสี
ความเพียรทางจิตทำให้บรรลุธรรม
ฝ่ายพระมหาบุรุษเสวยอาหารแข้น  ทำพระกายให้กลับมีพละกำลังได้อย่างเดิม  ทรงเริ่มความเพียรทางจิตต่อไป  นับแต่บรรพชามา    ปีล่วงแล้ว ในเวลาเช้าวันเพ็ญวิสาขมาส  ทรงรับถาดข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา  เสด็จไปสู่ท่าแม่น้ำเนรัญชรา  เสวยแล้วทรงลอยถาดในกระแสน้ำ  ทรงรับหญ้าคาของคนหาบหญ้าชื่อ  โสตถิยะ  ในระหว่างทาง  ทรงลาดหญ้าต่างบัลลังก์  ณ ควงพระมหาโพธิ์ด้านบูรพาทิศแล้ว  เสด็จนั่งขัดสมาธิ  ผินพระพักตร์ทางบูรพาทิศ  ทรงอธิษฐานพระหฤทัยว่า
ยังไม่ลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเพียงใด  จักไม่เสด็จลุกขึ้นเพียงนั้น  แม้พระมังสะและพระโลหิตจะเหือดแห้งไป  เหลือแต่พระตจะ  พระนหารุ  และพระอัฐิ  ก็ตามที
         
ทรงชนะมาร
ในสมัยนั้น  พญามารเกรงว่า  พระมหาบุรุษจะพ้นจากอำนาจแห่งตน  จึงยกพลเสนามาผจญ  แสดงฤทธิ์มีประการต่างๆ  เพื่อจะยังพระมหาบุรุษให้ตกพระหฤทัยกลัวแล้วจะเสด็จหนีไป
พระองค์ทรงนึกถึงพระบารมี  ๓๐  ทัศ  ที่ได้ทรงบำเพ็ญมา  ตั้งมหาปฐพีไว้ในที่เป็นพยาน  แล้วทรงต่อสู้พระบารมี ๓๐ ทัศ  นั้นเข้ามาช่วยผจญ  ยังพญามารกับเสนาให้ปราชัย  แต่ในเวลาพระอาทิตย์ยังไม่อัสดงคตแล้วบรรลุบุพเพนิวาสานุสสติญาณในปฐมยาม  ได้จุตูปปาตญาณในมัชฌิมยาม  ทรงใช้พระปัญญาพิจารณาปฏิจจสสมุปบาท  ทั้งฝ่ายเกิด  ฝ่ายดับ  สาวหน้าสาวกลับไปมาในปัจฉิมยาม  ก็ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ  คือ  อาสวักขยญาณ  ในเวลาอรุณขึ้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า  ได้พระปัญญาตรัสรู้ธรรมพิเศษเป็นเหตุถึงความบริสุทธิ์จากกิเลสาสวะ  จึงได้พระนามว่า  อรหํ  และตรัสรู้ชอบโดยลำพังพระองค์เอง จึงได้พระนามว่า  สมฺมาสมฺพุทฺโธ    บทนี้  เป็นพระนามใหญ่ของพระองค์โดยคุณนิมิตอย่างนี้แล

ปฐมโพธิกาล
ปริจเฉทที่ 
ปฐมเทศนา  และปฐมสาวก
เสวยวิมุตติสุขใต้ร่มมหาโพธิ์    วัน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมพิเศษแล้ว  เสด็จประทับอยู่ภายใต้ร่มไม้มหาโพธิ์นั้น  เสวยวิมุตติสุขสิ้นกาล    วัน  ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท  คือ  ธรรมที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้น  ทั้งข้างเกิด (อวิชชาเป็นเหตุให้เกิดสังขาร  สังขารเป็นเหตุให้เกิดวิญญาณ  เป็นต้น)  ทั้งข้างดับ  (เพราะอวิชชาดับ  สังขารจึงดับ  เป็นต้น)

ใต้ร่มอชปาลนิโครธ    วัน
จากต้นมหาโพธิ์นั้น  เสด็จไปยังภายใต้ร่มไม้ไทร  ชื่อว่า  อชปาลนิโครธ  เสวยวิมุตติสุข  ๗ วัน ทรงแสดงธรรมแก่พราหมณ์ผู้มักตวาดผู้อื่นว่า หึ หึ ว่า ผู้มีบาปธรรมอันลอยเสียแล้ว  ไม่มีกิเลสเป็นเหตุขู่ผู้อื่นว่า  หึ  หึ  ควรกล่าวถ้อยคำว่า  ตนเป็นพราหมณ์โดยธรรม

ใต้ร่มมุจจลินท์    วัน
จากต้นอชปาลนิโครธนั้น  ได้เสด็จไปยังต้นไม้จิก  ชื่อว่า  มุจจลินท์  เสวยวิมุตติสุข    วัน  ทรงเปล่งอุทานว่า  ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมได้สดับแล้วยินดีอยู่ในที่สงัด  รู้เห็นตามเป็นจริง ฯ
ความไม่เบียดเบียน  คือ  ความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย  และความปราศจาก
กำหนัด  คือ  ความก้าวล่วงกามทั้งหลายเสียได้  ด้วยประการทั้งปวง  เป็นสุขในโลก
ความกำจัดอัสมิมานะ  คือ  ถือว่าตัวตนให้หมดได้เป็นสุขอย่างยิ่ง

ใต้ร่มราชายตนะ    วัน
จากต้นมุจจลินท์นั้น  ได้เสด็จไปยังต้นไม้เกต  ชื่อว่า  ราชายตนะ  เสวยวิมุตติสุข    วัน  สมัยนั้นพานิช    คน  คือ  ตปุสสะ    ภัลลิกะ    เดินทางมาจากอุกกล -ชนบท  นำข้าวสัตตุผง  ข้าวสัตตุก้อน  เข้าไปถวายแล้วกราบทูลแสดงตนเป็นอุบาสก  อ้างพระองค์กับพระธรรมเป็นสรณะ  เป็นปฐมอุบาสกในพุทธกาลแล้วหลีกไป (เทฺววาจิกอุบาสก)

ทรงตัดสินพระทัยแสดงธรรม
จากร่มไม้ราชายตนะนั้น  เสด็จกลับไปประทับ ณ ร่มไม้อชปาลนิโครธอีก  ทรงพิจารณาถึงธรรมที่ทรงตรัสรู้ว่า  เป็นคุณอันลึกซึ้ง  ยากที่ผู้ยินดีในกามคุณจะตรัสรู้ตามได้  จึงไม่คิดจะทรงสั่งสอนใคร  แต่ในที่สุดทรงคิดว่ามนุษย์  ก็เหมือนดอกบัว    ชนิด  คือ  บางชนิดยังจมอยู่ในน้ำ  บางชนิดตั้งอยู่เสมอน้ำ  บางชนิดตั้งขึ้นพ้นน้ำ
ดอกบัวที่ตั้งขึ้นพ้นน้ำแล้วนั้น  คอยสัมผัสรัศมีพระอาทิตย์อยู่  จักบาน  ณ วันนี้
ดอกบัวทีตั้งอยู่เสมอน้ำ  จักบาน ณ วันพรุ่งนี้
ดอกบัวที่ยังไม่ขึ้นจากน้ำ  ยังตั้งอยู่ภายในน้ำจักบาน ณ วันต่อๆ ไป
ดอกบัวที่ยังจมอยู่ในโคลนตม อันเป็นภักษาแห่งปลาและเต่าฉิบหายเสีย
ดอกบัวที่จะบานมีต่างชนิด  ฉันใด  เวไนยสัตว์ก็มีต่างพวกฉันนั้น  ผู้มีกิเลสน้อย  มีอินทรีย์  (สัทธา  วิริยะ  สติ  สมาธิ  ปัญญา)  กล้า  ก็อาจจะรู้ธรรมพิเศษนั้นได้ฉับพลัน
ผู้มีคุณสมบัติเช่นนั้นเป็นประมาณกลาง  ได้รับอบรมในปฏิปทาเป็นบุพพภาค จนมีอุปนิสัยแก่กล้า  ก็สามารถจะบรรลุธรรมพิเศษนั้นดุจเดียวกัน
ผู้มีคุณสมบัติเช่นนั้นยังอ่อน  หรือหาอุปนิสัยไม่ได้เลย  ก็ยังควรได้รับแนะนำในธรรมเบื้องต่ำไปก่อนเพื่อบำรุงอุปนิสัย
เพราะฉะนั้น  พระธรรมเทศนาคงไม่ไร้ผล  คงสำเร็จประโยชน์แก่คนทุกเหล่า  เว้นแต่จำพวกที่ไม่ใช่เวไนย  คือ  ไม่รับแนะนำ  ที่เปรียบด้วยดอกบัวอันเป็นภักษาแห่งปลาและเต่าฉิบหายเสีย

ทรงพระดำริหาคนผู้สมควรรับเทศนา
ครั้นพระองค์ทรงตัดสินพระหฤทัย  เพื่อจะแสดงพระธรรมเทศนาอย่างนั้นแล้ว  ครั้งแรก  ทรงคิดถึงอาฬารดาบสและอุทกดาบส  ซึ่งเป็นผู้ฉลาด  ทั้งมีกิเลสเบาบาง  แต่ทั้งสองท่านสิ้นชีพเสียแล้ว  ต่อจากนั้นทรงรำลึกถึงปัญจวัคคีย์  และได้ตัดสินพระหฤทัยว่า  จะแสดงธรรมแก่พวกเขา  จึงเสด็จออกจากต้นอชปาลนิโครธ  ทรงพระดำเนินทางไปยังเมืองพาราณสี  อรรถกถากล่าวว่า  ในเช้าวันขึ้น  ๑๔  ค่ำ  เดือน 
ระหว่างแห่งแม่น้ำคยากับแดนมหาโพธิต่อกัน  ทรงพบอุปกาชีวก  เขาเห็นสีพระฉวีวรรณของพระองค์ผุดผ่อง  นึกประหลาดใจ  จึงทูลถามถึงศาสดาของพระองค์  ทรงตอบว่า  พระองค์เป็นสยัมภู  คือ  เป็นเองในทางตรัสรู้  ไม่มีใครเป็นครูสอน  อุปกาชีวก  กล่าวว่า  ขนาดนั้นเชียวหรือ  สั่นศีรษะแล้วหลีกไป

ทรงแสดงปฐมเทศนา
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  แขวงเมืองพาราณสี  ได้เสด็จเข้าไปหาปัญจวัคคีย์ทั้ง    แต่พวกเขาแสดงความไม่เคารพ  พูดออกพระนามและใช้คำว่า  อาวุโส  พระองค์ทรงห้ามแล้วตรัสบอกว่า  เราได้ตรัสรู้อมฤตธรรมโดยชอบเองแล้ว
ปัญจวัคคีย์ไม่เชื่อ  กล่าวคัดค้านว่า  อาวุโสโคดม  แม้ท่านทำทุกกรกิริยาอย่างหนัก  ท่านยังไม่บรรลุธรรมพิเศษอะไร  บัดนี้  ท่านมาปฏิบัติเพื่อความเป็นคนมักมากเสียแล้ว  เหตุไฉนจะบรรลุธรรมพิเศษได้เล่า  พวกเธอคัดค้านอย่างนั้นถึง      ครั้ง
พระองค์จึงทรงตรัสเตือนพวกเธอให้ระลึกถึงความหลังว่า  ท่านทั้งหลายจำได้อยู่หรือว่า  วาจาเช่นนี้เราได้เคยพูดแล้วในปางก่อนแต่กาลนี้
ปัญจวัคคีย์นึกได้ว่า  วาจาเช่นนี้ไม่เคยมีเลย  จึงมีความสำคัญในอันที่จะฟังพระองค์ทรงแสดงธรรม
ครั้นเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ตรัสเตือนปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟังธรรมได้แล้ว  รุ่งขึ้นวันอาสาฬหบุรณมี  ได้ตรัสปฐมเทศนามีใจความโดยย่อว่า  ที่สุด    อย่าง  ได้แก่ กามสุขัลลิกานุโยค  คือ  การประกอบตนให้พัวพันด้วยสุขในกาม    อัตตกิลมถานุโยค คือ  การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตนเปล่า    อันบรรพชิตไม่ควรเสพ  (ประพฤติ)  บรรพชิตควรเสพมัชฌิมาปฏิปทา  คือ  ข้อปฏิบัติเป็นทางกลาง  ได้แก่  ทางมีองค์    อันนำผู้ปฏิบัติให้เป็นอริยะ  คือ  ปัญญาอันเห็นชอบ    ความดำริชอบ    วาจาชอบ    การงานชอบ    เลี้ยงชีพชอบ    ความเพียรชอบ  ๑ ระลึกชอบ ๑  ตั้งใจชอบ 
ทรงแสดงอริยสัจ    คือ  ๑. ทุกข์  ได้แก่  ความเกิด  ความแก่  ความเจ็บ  ความตาย  เป็นต้น  ๒. สมุทัย  เหตุให้ทุกข์เกิด  ได้แก่  ตัณหา    คือ  กามตัณหา  ภวตัณหา  วิภวตัณหา  . นิโรธ  ได้แก่  ความดับทุกข์  คือ  ความสละ  ละ  วาง  ไม่พัวพันติดอยู่กับตัณหาทั้ง    นั้น  . มรรค  ได้แก่  ทางที่ทำให้ถึงความดับทุกข์  คือ  ทางมีองค์ ๘  อันนำผู้ปฏิบัติให้เป็นอริยะ  ดังกล่าวแล้ว
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสพระธรรมเทศนาอยู่  ธรรมจักษุ  คือ  ดวงตาอันเห็นธรรม  ปราศจากธุลีมลทิน  ได้เกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะว่า  สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา
พระองค์ทรงทราบว่า  ท่านโกณฑัญญะได้เห็นธรรมแล้ว  จึงทรงเปล่งอุทานว่า  โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ  โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ  เพราะอุทานว่า  อญญาสิ  อญญาสิ  ที่เป็นภาษามคธ  แปลว่า  ได้รู้แล้วๆ  คำว่า  อัญญาโกณฑัญญะ  จึงได้เป็นชื่อของท่านตั้งแต่กาลนั้นมา
ฝ่ายท่านโกณฑัญญะได้เห็นธรรมแล้ว  จึงทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย  พระองค์ทรงอนุญาตให้ท่านเป็นภิกษุด้วยพระวาจาว่า  ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด  ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว  ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์  เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด  พระวาจานั้นให้สำเร็จการอุปสมบทแก่ท่าน
          ต่อจากนั้น  ทรงจำพรรษาอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  ทรงสั่งสอนบรรพชิตทั้ง    รูปด้วยพระธรรมเทศนาเบ็ดเตล็ดตามสมควรแก่อัธยาศัย  ท่านวัปปะและภัททิยะ  ได้ดวงตาเห็นธรรม  จึงบวชให้พร้อมกัน  ต่อมา ท่านมหานามะและอัสสชิ ได้ดวงตาเห็นธรรม  จึงบวชให้พร้อมกัน  ทั้ง    ท่านบวชวิธีเดียวกับท่านโกณฑัญญะ

ปัญจวัคคีย์บรรลุพระอรหันต์
เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์  ตั้งอยู่ในที่สาวกแล้ว  มีอินทรีย์  คือ  ศรัทธาเป็นต้นแก่กล้า  ควรเจริญวิปัสสนาเพื่อวิมุตติแล้ว ครั้นวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๙ ตรัสพระธรรมเทศนาอนัตตลักขณสูตรสั่งสอน  ใจความโดยย่อว่า  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  และวิญญาณ  เป็นอนัตตา  คือ  บังคับบัญชาไม่ได้ว่า  จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าเป็นอย่างนั้นเลย  ได้ตรัสถามปัญจวัคคีย์ว่า  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  และวิญญาณ  เที่ยง  เป็นสุข  เป็นอัตตา  หรือไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  เป็นอนัตตา  ทูลตอบว่า  ไม่เที่ยงเป็นทุกข์  เป็นอนัตตา  จึงตรัสให้ละความถือมั่นในรูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  และวิญญาณนั้นเสีย  แล้วถือด้วยปัญญาตามความจริงว่า  นั่นไม่ใช่ของเรา  นั่นไม่ใช่เป็นเรา  นั่นไม่ใช่ตนของเรา
เมื่อพระศาสดาตรัสพระธรรมเทศนาแสดงอนัตตาลักษณะอยู่  จิตของภิกษุปัญจวัคคีย์  ผู้พิจารณาภูมิธรรมตามกระแสเทศนานั้น  พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย  ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
ครั้งนั้น มีพระอรหันต์ขึ้นในโลก ๖ องค์ คือ พระศาสดา    สาวก    ด้วยประการฉะนี้

ปริจเฉทที่ 
ส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา
สมัยนั้น  พระศาสดาเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง  ในเวลาจวนใกล้รุ่ง  ทรงได้ยินเสียงยสกุลบุตรออกอุทานว่า  ที่นี่วุ่นวายหนอ  ที่นี่ขัดข้องหนอ  เดินมายังที่ใกล้  จึงตรัสเรียกว่า  ที่นี้ไม่วุ่นวาย  ที่นี่ไม่ขัดข้อง  ท่านมานี่เถิด  นั่งลงเถิด  เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน
ยสกุลบุตรได้ยินอย่างนั้นแล้ว  คิดว่า  เขาว่าที่นี่ไม่วุ่นวาย  ที่นี่ไม่ขัดข้อง  จึงถอดรองเท้า  เข้าไปหา  ไหว้แล้ว  นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง  พระศาสดาตรัสเทศนาอนุปุพพีกถา  คือ  ถ้อยคำที่กล่าวโดยลำดับ  ได้แก่  ทาน  ศีล  สัคคะ  คือ  สวรรค์  กามาทีนพ  โทษแห่งกาม  เนกขัมมานิสงส์  อานิสงค์แห่งการออกจากกาม  (บวช)  ฟอกจิตของเขาให้ห่างไกลจากความยินดีในกามแล้วจึงทรงแสดงอริยสัจ    คือ  ทุกข์  สมุทัย  นิโรธ  และมรรค  ดังได้กล่าวแล้วในปฐมเทศนา  ยสกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม    ที่นั่งนั้นแล้ว  ภายหลังพิจารณาภูมิธรรมที่พระศาสดาตรัสสอนเศรษฐีผู้เป็นบิดาอีกวาระหนึ่ง  จิตพ้นจากอาสวะ  ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน  (บรรลุพระอรหัต)
ฝ่ายมารดาของยสกุลบุตร  เวลาเช้าขึ้นไปบนเรือนไม่เห็นลูก  จึงบอกแก่เศรษฐีผู้สามี  เศรษฐีให้คนออกตามหาทั้ง    ทิศ  ตนเองก็ออกติดตามด้วย  เผอิญไปทางป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  เห็นรองเท้าของลูกจึงตามเข้าไปหา  พระศาสดาได้ตรัสอนุปพพีกถาและอริยสัจแก่เขา  เมื่อจบเทศนาเขาได้แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยทั้ง    เป็นสรณะ  เป็นอุบาสกคนแรกในพระพุทธศาสนา  แล้วได้กล่าวกับบุตรชายว่า  พ่อยสะ  มารดาของเจ้าเศร้าโศกพิไรรำพัน  เจ้าจงให้ชีวิตแก่มารดาของเจ้าเถิด
พระศาสดาจึงตรัสให้เศรษฐีทราบว่า  ยสกุลบุตรได้บรรลุพระอรหัตแล้ว  ไม่มีการกลับคืนไปครองฆราวาสอีก  เศรษฐีเข้าใจดี  จึงทูลอาราธนาพระศาสดาพร้อมกับยสกุลบุตรเพื่อทรงรับภัตตาหารในเช้าวันนั้น  พระศาสดาทรงรับด้วยพระอาการดุษณีภาพ  เศรษฐีทราบแล้วจึงได้อภิวาททูลลากลับไป
เมื่อเศรษฐีกลับไปแล้ว  ยสกุลบุตรได้ทูลขออุปสมบท  พระศาสดาทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุเหมือนที่ทรงอนุญาตแก่พระโกณฑัญญะ  ต่างกันตรงที่ไม่ตรัสว่าเพื่อทำที่สุด  ทุกข์โดยชอบ  เพราะพระยสะได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว  พระยสะจึงเป็นองค์ที่    ในโลก
ในเวลาเช้าวันนั้น  พระศาสดาพร้อมกับพระยสะ  ได้เสด็จไปยังเรือนของเศรษฐีนั้น  มารดาและภรรยาเก่าของพระยสะมาเฝ้า  ทรงแสดงอนุปพพีกถาและอริยสัจ    แก่พวกเขาให้เห็นธรรมแล้ว  ได้แสดงตนเป็นอุบาสิกาถึงพระรัตนตรัย  เป็นสรณะ  คนแรกในโลก

สหายพระยสะ  ๕๔  คนบวช
ฝ่ายสหายของพระยสะ    คน  ชื่อ  วิมละ    สุพาหุ    ปุณณชิ    ควัมปติ    เป็นบุตรเศรษฐีในเมืองพาราณสีได้ทราบข่าวว่า  ยสกุลบุตรออกบวชแล้ว  คิดว่า  ธรรมวินัยนั้นคงเป็นสิ่งอันประเสริฐ  จึงพร้อมกันไปหาพระยสะ  พระยสะก็พาสหายทั้ง    คนนั้นไปเฝ้าพระศาสดา  พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมให้กุลบุตรทั้ง    เห็นธรรมแล้ว  ประทานให้เป็นภิกษุแล้ว  ทรงสั่งสอนให้บรรลุพระอรหัตผล
ยังมีสหายของพระยสะ  เป็นชาวชนบทอีก  ๕๐  คน  ได้ทราบข่าวนั้นแล้ว  คิดเหมือนหนหลัง  พากันบวชตามแล้วได้สำเร็จพระอรหัตผลด้วยกันสิ้นโดยนัยก่อน  รวมกันเป็นพระอรหันต์  ๖๑  องค์
พระศาสดาทรงส่งสาวก  ๖๐  รูป  ไปประกาศพระศาสนาด้วยพระดำรัสว่า  ท่านทั้งหลายจงเที่ยวไปในชนบทเพื่อประโยชน์และความสุขแก่มหาชน  และอย่าไปรวมกัน    รูป  ผู้รู้ทั่วถึงธรรมคงมีอยู่  แต่ที่เสื่อมจากคุณพิเศษ  เพราะโทษที่ไม่ได้ฟังธรรม  แม้เราก็จะไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคมเพื่อแสดงธรรม

ทรงประทานวิธีอุปสมบทแก่สาวก
ในสมัยนั้น  พระศาสดาทรงประทานวิธีอุปสมบทแก่พระสาวกผู้ไปประกาศศาสนาว่า  พึงให้ผู้อุปสมบทปลงผมและหนวด  ให้ครองผ้าย้อมด้วยน้ำฝาด  นั่งกระโหย่งประนมมือ  ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลาย  แล้วสอนให้ว่าตามว่า  พุทฺธํ  สรณํ  คจฺฉามิ  ธมฺมํ  สรณํ  คจฺฉามิ  สงฺฆํ  สรณํ  คจฺฉามิ  ทุติยมฺปิ  ฯลฯ  ตติยมฺปิ  ฯลฯ  การบวชวิธีนี้เรียกว่า  ติสรณคมนูปสัมปทา

ทรงโปรดภัททวัคคีย์สหาย  ๓๐  คน
ครั้นพระศาสดาประทับอยู่ในเมืองพาราณสีพอควรแก่พระประสงค์แล้ว  เสด็จดำเนินไปยังตำบลอุรุเวลา  ในระหว่างทางเข้าไปพักอยู่ที่ไร่ฝ้าย  ทรงนั่งในร่มไม้ตำบลหนึ่ง  ได้ตรัสอนุบุพพีกถาและอริยสัจ    โปรดภัททวัคคีย์สหาย  ๓๐  คน  ให้ได้บรรลุพระอรหัต ประทานอุปสมบทให้แล้ว  ทรงส่งไปเพื่อประกาศพระศาสนาเหมือนนัยหนหลัง

ทรงโปรดชฏิล    พี่น้อง
ส่วนพระพุทธองค์เสด็จไปยังตำบลอุรุเวลา  ซึ่งเป็นที่อยู่แห่งชฏิล    พี่น้อง  คือ  อุรุเวลกัสสปะ  นทีกัสสปะ  และคยากัสสปะ  ทรงชี้แจงให้อุรุเวลกัสสปะเห็นว่าลัทธิของเขาไม่มีแก่นสาร จนอุรุเวลกัสสปะมีความสลดใจ  เลิกละลัทธินั้น  ลอยบริขารของชฏิลในแม่น้ำแล้วทูลขออุปสมบท  ก็ทรงประทานอุปสมบท  อนุญาตให้เป็นภิกษุทั้งสิ้น
ฝ่ายนทีกัสสปะเห็นบริขารของพี่ชายลอยไปตามกระแสน้ำ  สำคัญว่าเกิดอันตราย  พร้อมทั้งบริวารรีบมาถึงเห็นพี่ชายถือเพศเป็นภิกษุ  ถามทราบความแล้วได้ทูลขอบวชพร้อมทั้งบริวาร
คยากัสสปะน้องชายเล็กพร้อมทั้งบริวาร  ก็ได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและขอบวชทำนองเดียวกับนทีกัสสปะผู้พี่ชาย

ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร
พระศาสดาประทับอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา  ตามสมควรแก่พุทธอัธยาศัยแล้ว  พร้อมด้วยภิกษุหมู่ชฏิลเหล่านั้น  เสด็จไปยังตำบลคยาสีสะ  ใกล้แม่น้ำคยา  ทรงแสดงธรรมว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ  เป็นของร้อน  ร้อนเพราะอะไร  อะไรมาเผาให้ร้อน  เรากล่าวว่าร้อนเพราะไฟราคะ  ไฟโทสะ  ไฟโมหะ  ร้อนเพราะความเกิด  ความแก่  ความตาย  ความโศก  ความรำพัน  ความเจ็บไข้  ความเสียใจ  ความคับใจ
เมื่อพระศาสดาตรัสพระธรรมเทศนานี้จบลง  จิตของภิกษุเหล่านั้นพ้นจากอาสวะทั้งหลาย  ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน  (สำเร็จพระอรหันต์)  พระธรรมเทศนานี้ชื่อว่า  อาทิตตปริยายสูตร

ปริจเฉทที่ 
เสด็จกรุงราชคฤห์แคว้นมคธและได้อัครสาวก
ครั้นพระพุทธองค์เสด็จอยู่    ตำบลคยาสีสะตามควรแก่อัธยาศัยแล้ว  พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสาวกนั้น  เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์  ประทับอยู่    ลัฏฐิวันสวนตาลหนุ่ม  กิตติศัพท์ของพระองค์ขจรไปทั่วทิศว่า  พระสมณโคดม  โอรสแห่งศากยะเป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ  ขณะนี้ประทับอยู่ที่ลัฎฐิวัน
พระเจ้าพิมพิสาร  พระเจ้าแผ่นดินมคธได้ทรงทราบกิตติศัพท์นั้น  จึงพร้อมด้วยราชบริพารเสด็จไปเฝ้า  ทรงนมัสการแล้วประทับนั่ง    ที่อันสมควร
ส่วนราชบริพารของพระองค์มีอาการทางกาย  วาจาต่างๆ  กัน  เป็น    พวก  คือ  ๑.  บางพวกถวายบังคม  ๒.  บางพวกเป็นแต่กล่าววาจาปราศรัย  ๓.  บางพวกเป็นแต่ประณมมือ  ๔.  บางพวกร้องประกาศชื่อและโคตรของตน  ๕.  บางพวกนิ่งอยู่  ที่เป็นเช่นนี้เพราะความไม่แน่ใจว่า  อุรุเวลกัสสปะของพวกตนกับพระสมณโคดมใครเป็นใหญ่กว่ากัน
พระอุรุเวลกัสสปะ  จึงลุกขึ้นจากที่นั่ง  ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง  ซบศีรษะลงที่พระบาทพระศาสดา  ทูลประกาศว่า  พระองค์เป็นศาสดาของข้าพเจ้า  ข้าพเจ้าเป็นสาวกผู้ฟังคำสอนของพระองค์  และทูลประกาศความไม่มีแก่นสารแห่งลัทธิเดิม  ราชบริพารจึงน้อมจิตเชื่อถือพระศาสดา  ตั้งโสตคอยฟังพระธรรมเทศนา
พระศาสดาทรงแสดงอนุปพพีกถาและอริยสัจ    พระเจ้าพิมพิสารและราชบริพารแบ่งเป็น  ๑๒  ส่วน  ๑๑  ส่วนได้จักษุเห็นธรรม  ส่วน    ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์

ความปรารถนา    ประการของพระเจ้าพิมพิสาร
เมื่อครั้งยังเป็นราชกุมาร  ยังไม่ได้รับอภิเษก  พระเจ้าพิมพิสารได้ตั้งความปรารถนาไว้    อย่าง  คือ
๑.  ขอให้ข้าพเจ้าได้รับอภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินมคธนี้
๒.  ขอให้ท่านผู้เป็นพระอรหันต์  ผู้รู้เอง  เห็นเอง  โดยชอบ  พึงมายังแว่นแคว้นของข้าพเจ้า  ผู้ได้รับอภิเษกแล้ว
๓.  ขอให้ข้าพเจ้าพึงได้เข้าไปนั่งใกล้พระอรหันต์นั้น
๔.  ขอให้พระอรหันต์นั้น  พึงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า
๕.  ขอให้ข้าพเจ้าพึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระอรหันต์นั้น
บัดนี้ความปรารถนาทั้ง    อย่างของพระองค์สำเร็จบริบูรณ์ทุกอย่างแล้ว  จึงได้ทรงกราบทูลให้พระศาสดาทรงทราบ
ความปรารถนาของพระเจ้าพิมพิสารอันเกี่ยวกับพระอรหันต์  ทำให้เข้าใจได้ว่า  คำว่า  อรหันต์  เป็นของเก่า  และผู้เป็นพระอรหันต์เป็นที่เคารพนับถือของคนทุกชั้นวรรณะ  แม้แต่พระมหากษัตริย์

ทรงอนุญาตให้ภิกษุรับอาราม
พระเจ้าพิมพิสารครั้นกราบทูลความสำเร็จพระราชประสงค์ทั้ง    แล้ว  ได้แสดงพระองค์เป็นอุบาสก  จากนั้นได้กราบทูลเชิญเสด็จพระศาสดาพร้อมทั้งหมู่สาวก  เพื่อเสวยที่พระราชนิเวศน์ในวันรุ่งขึ้น
วันรุ่งขึ้น  พระศาสดาพร้อมด้วยพระสาวกได้เสด็จไปยังพระราชนิเวศน์  พระเจ้าพิมพิสารทรงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานแล้ว  ทรงพระราชดำริถึงสถานควรเป็นที่เสด็จอยู่แห่งพระศาสดา  ทรงเห็นว่า  พระราชอุทยานเวฬุวันสวนไม้ไผ่เหมาะสมที่สุด  ทรงจับพระเต้าทองเต็มด้วยน้ำ  หลั่งลงถวายพระราชอุทยานเวฬุวันนั้นแก่ภิกษุสงฆ์  มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน  พระศาสดาทรงรับแล้วเสด็จไปประทับอยู่  ณ ที่นั้น
พระพุทธองค์ทรงปรารภเหตุนั้น  จึงประทานพระพุทธอนุญาตให้ภิกษุรับอารามที่ทายกถวายตามปรารถนา การถวายอารามเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในกาลนั้น และเวฬุวันก็เป็นอารามของสงฆ์เป็นแห่งแรกในพระพุทธศาสนา

ทรงได้พระอัครสาวก
วันหนึ่ง  พระอัสสชิหนึ่งในปัญจวัคคีย์  เข้าไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์  สารีบุตรปริพพาชกเห็นท่านมีกิริยาอาการที่น่าเลื่อมใส  จึงติดตามไป  ครั้นเห็นท่านกลับจากบิณฑบาต  จึงหาโอกาสเข้าไปถามว่า ใครเป็นศาสดาของท่าน ท่านชอบใจธรรมของใคร ได้รับคำตอบว่า  พระมหาสมณะ  โอรสของเจ้าศากยะออกบวชจากศากยสกุล  เป็นศาสดาของเรา  เราชอบใจธรรมของพระองค์
พระศาสดาของท่านสอนว่าอย่างไร ?”
ธรรมใดเกิดแต่เหตุ  พระศาสดาทรงแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น  และความดับแห่งธรรมนั้น  พระศาสดาทรงสอนอย่างนี้
สารีบุตรได้ฟังธรรมนั้นก็ทราบได้ทันทีว่า พระศาสดาทรงสอนให้ปฏิบัติเพื่อระงับดับเหตุแห่งธรรมเป็นเครื่องก่อให้เกิดทุกข์ ได้ดวงตาเห็นธรรมว่า  สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งนั้นทั้งหมดต้องมีความดับเป็นธรรมดา  แล้วถามว่า  พระศาสดาของเราเสด็จอยู่ที่ไหน
เสด็จประทับอยู่ที่เวฬุวัน  ผู้มีอายุ
ถ้าอย่างนั้น  พระผู้เป็นเจ้าไปก่อนเถิด  ข้าพเจ้าจะกลับไปบอกสหายแล้ว จะพากันไปเฝ้าพระศาสดา
สารีบุตรได้กลับไปยังที่อยู่ของตน  บอกความที่ไปพบพระอัสสชิ  และแสดงธรรมนั้น  แก่โมคคัลลานปริพพาชกให้ได้ดวงตาเห็นธรรม  แล้วไปลาอาจารย์สัญชัย  แม้จะถูกห้ามปรามขอร้องก็ไม่ฟัง  พาบริวารของตนไปเฝ้าพระศาสดาที่เวฬุวัน  ทูลขออุปสมบท  พระองค์ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยกันทั้งสิ้น  ท่านกล่าวว่า  ภิกษุผู้เป็นบริวารสำเร็จพระอรหันต์ก่อน
ฝ่ายพระโมคคัลลานะ  บวชได้    วัน  ไปทำความเพียรอยู่ที่กัลลวาลมุตตคาม  แขวงมคธ  ถูกถีนมิทธะครอบงำนั่งโงกง่วงอยู่  พระศาสดาได้เสด็จไปยังสถานที่นั้น  ทรงแสดงอุบายระงับความโงกง่วง แล้วให้โอวาทว่า
ดูก่อนโมคคัลลานะ  เธอจงจำใส่ใจว่า  เราจักไม่ชูงวงเข้าไปสู่สกุล  เราจักไม่พูดคำซึ่งเป็นเหตุเถียงกัน  เราจักยินดีที่นอนที่นั่งอันสงัด
ทรงสอนถึงข้อปฏิบัติที่ทำให้สิ้นตัณหาว่า  บรรดาธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น  ควรพิจารณาให้เห็นว่าไม่เที่ยงน่าเบื่อหน่าย  ล้วนมีความแตกดับย่อยยับ  ควรปล่อยวางเสีย  พระโมคคัลลานะปฏิบัติตามพระโอวาทนั้น  ก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ในวันนั้น (คือ  วันที่  ๗)
พระสารีบุตร  เมื่อบวชได้  ๑๕  วัน  พระศาสดาประทับอยู่ที่ถ้ำสุกรขาตา  ทรงแสดงธรรมแก่ปริพาชกผู้หนึ่งชื่อ  ทีฆนขะ  อัคคิเวสนโคตร  ผู้มีทิฏฐิแรง  ชอบขัดแย้งกับผู้อื่น  ซึ่งเข้าไปเฝ้าเพื่อทูลถามปัญหา  ว่า  ดูก่อน  อัคคิเวสนะ  ผู้รู้พิจารณาเห็นว่า  ถ้าเราจักถือมั่นทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งว่า  สิ่งนี้เท่านั้นจริง  สิ่งอื่นเหลวไหลหาความจริงไม่ได้  ก็จะต้องถือผิดไปจากคนอื่นที่มีทิฎฐิไม่เหมือนกับตน  ครั้นความถือผิดกันมีขึ้น  ความวิวาทเถียงกันก็มีขึ้น  ครั้นความวิวาทมีขึ้น  ความพิฆาตหมายมั่นก็มีขึ้น  ครั้นความพิฆาตมีขึ้น  ความเบียดเบียนกันก็มีขึ้น  ผู้รู้ท่านเห็นอย่างนี้  ครั้นรู้แล้วย่อมละทิฎฐินั้นเสียด้วย  ไม่ทำทิฎฐิอื่นให้เกิดขึ้นด้วย  การละทิฏฐิย่อมมีด้วยอุบายอย่างนี้
ทรงแสดงอุบายเครื่องไม่ถือมั่นต่อไปว่า  อัคคิเวสนะ  กายคือประชุมมหาภูต
รูป    (ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ)  มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด  เติบโตเพราะข้าวสุกและขนมต่างๆ  ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  เป็นของว่างเปล่าไม่ใช่ตน  เวทนาทั้ง    คือ  สุข  ทุกข์  และไม่ทุกข์ไม่สุข  ไม่เที่ยง  ปัจจัยแต่งขึ้นมีความสิ้นไป  เสื่อมไป  ดับไปเป็นธรรมดา  อริยสาวก  ได้ฟังอย่างนี้  ย่อมเบื่อหน่าย  คลายกำหนัด  ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน  ชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้น  ผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้  ย่อมไม่วิวาทโต้เถียงกับผู้ใดด้วยทิฏฐิของตน  โวหารใดเขาพูดกันอยู่ในโลก  ก็พูดตามโวหารอย่างนั้น  แต่ไม่ถือมั่นด้วยทิฏฐิ
สมัยนั้น  พระสารีบุตรนั่งถวายงานพัดอยู่    เบื้องพระปฤษฎางค์แห่งพระศาสดา  ได้ฟังพระธรรมเทศนานั้น  คิดว่า  พระศาสดาตรัสสอนให้ละการถือมั่นธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง  เมื่อท่านพิจารณาอยู่อย่างนั้น  จิตก็พ้นจากอาสวะ  ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน  (บรรลุพระอรหัต)  หลังจากบวชได้  ๑๕  วัน
ส่วนทีฆนขปริพาชก  เป็นแต่ได้ดวงตาเห็นธรรมแสดงตนเป็นอุบาสก  ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
พระสารีบุตรเถระ และพระโมคคัลลานเถระ ครั้นสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว  พระสารีบุตรได้เป็นอัครสาวกเบื้องขวา เลิศทางปัญญา พระโมคคัลลานะ  ได้เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย เลิศทางมีฤทธิ์  เป็นกำลังสำคัญในการช่วยพระศาสดาประกาศพระศาสนา
พระศาสดา  ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธอย่างนี้แล้ว  เสด็จจาริกไปมาในชนบทนั้นๆ  ทรงแสดงธรรมเทศนาสั่งสอนประชุมชนให้ได้ความเชื่อ  ความเลื่อมใส  แล้วปฏิบัติตาม  ออกบวชในพระธรรมวินัย  เป็นภิกษุบ้าง  เป็นภิกษุณีบ้าง  คงอยู่ในฆราวาสเป็นอุบาสกบ้าง  อุบาสิกาบ้าง  รวมเข้าเป็นพุทธบริษัท    เหล่า  ประกาศพระศาสนาให้แพร่หลายเพื่อสมพุทธปณิธานที่ได้ทรงตั้งไว้เดิม

มัชฌิมโพธิกาล
ปริจเฉทที่ 
ทรงบำเพ็ญพุทธกิจในมคธชนบท
ประทานอุปสมบทแก่พระมหากัสสปะ
คราวหนึ่ง  พระศาสดาเสด็จจาริกโปรดประชาชนในมคธชนบท  ประทับอยู่ที่ใต้ร่มไทร  เรียกว่า  พหุปุตตกนิโครธ  ระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทาต่อกัน  ในเวลานั้น  ปิปผลิมาณพ  กัสสปโคตร  มีความเบื่อหน่ายในการครองเรือน  ละฆราวาสถือเพศเป็นบรรพชิต  ออกบวชอุทิศพระอรหันต์ในโลก  จาริกมาถึงที่นั้น  เห็นพระศาสดา  มีความเลื่อมใสเข้าไปเฝ้า  รับเอาพระองค์เป็นศาสดาของตน  ทรงรับเป็นภิกษุในพระธรรมวินัยด้วย  ประทานโอวาท    ข้อ  ว่า
๑.  กัสสปะ  ท่านพึงศึกษาว่า  เราจักเข้าไปตั้งความละอายและความยำเกรงในภิกษุ  ทั้งที่เป็นผู้เฒ่า  ทั้งที่เป็นผู้ใหม่  ทั้งที่เป็นปานกลาง  อย่างแรงกล้า
๒.  เราจะฟังธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง  ซึ่งประกอบด้วยกุศล  เราจักเงี่ยหูลงฟังธรรมนั้น  พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมนั้น
๓.  เราจะไม่ละสติไปในกาย  คือ  พิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์ (กายคตาสติ)
พระมหากัสสปะได้ฟังพุทธโอวาทนั้นแล้ว  บำเพ็ญเพียรปฏิบัติตามในวันที่    แต่อุปสมบทได้สำเร็จพระอรหัต

มหาสันนิบาตแห่งมหาสาวก
ครั้งพระศาสดาเสด็จประทับ ณ กรุงราชคฤห์  พระนครหลวงแห่งมคธ  ได้มีการประชุมแห่งพระสาวกคราวหนึ่ง  เรียกว่า  จาตุรงคสันนิบาต  แปลว่า  การประชุมมีองค์    คือ
๑.  พระสาวกผู้เข้าประชุมกันนั้น  ล้วนเป็นพระอรหันต์อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
.  พระสาวกเหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุ  สาวกครั้งแรกที่พระศาสดาประทานอุปสมบทเอง
.  พระสาวกเหล่านั้นไม่ได้นัดหมาย  ต่างมาพร้อมกันเข้าเอง ๑,๒๕๐ องค์
.  พระศาสดาประทานพระบรมพุทโธวาท  ซึ่งเรียกว่า  โอวาทปาฏิโมกข์  ย่อหัวใจพระพุทธศาสนาแสดง
มหาสันนิบาตนี้  ได้มีขึ้นที่เวฬุวนาราม  ในวันมาฆปุรณมี  ดิถีเพ็ญมาฆมาส  คือ  เดือน    เวลาบ่าย  การประชุมนี้มีชื่อเล่าลือมาในพระศาสนา  จึงยกขึ้นกล่าวเป็นพระเกียรติของพระศาสดาในมหาปทานสูตร  และเป็นอภิรักขิตสมัยที่ทำบูชาของวัดทั้งหลาย  เรียกว่า มาฆบูชา

โอวาทปาฏิโมกข์คำสอนหลักของศาสนา
โอวาทปาฏิโมกข์นั้น  เป็นคำประพันธ์    คาถากึ่ง
คาถาที่    แสดงว่า
ขันติ  คือ  ความอดทน  เป็นตบะอย่างยอด
ท่านผู้รู้กล่าวนิพพานว่าเป็นยอด
บรรพชิตผู้ฆ่า  ผู้เบียดเบียนสัตว์อื่น  ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ

คาถาที่    แสดงว่า
การไม่ทำบาปทั้งปวง  การยังกุศลให้บริบูรณ์
การยังจิตของตนให้ผ่องใส  เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

คาถาที่    แสดงว่า
การไม่พูดข้อนขอดกัน  การไม่ประหัดประหารกัน
ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์  ความรู้จักประมาณในอาหาร
ความเสพที่นอนที่นั่งอันสงัด  ความประกอบความเพียรทางใจอย่างสูง
เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
การแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ของพระศาสดา  ก็เพื่อพระสาวกผู้เที่ยวสอนในพระพุทธศาสนา  จะได้ยกเอาธรรมข้อใดข้อหนึ่งขึ้นแสดงโดยเหมาะสมแก่บริษัท  ท่านกล่าวว่า  โอวาทปาฏิโมกข์นี้  พระศาสดาเองก็ตรัสแก่ภิกษุสงฆ์ในอุโบสถทุกกึ่งเดือน  มางดเสียเมื่อได้ทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์เอาสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้มาสวดในที่ประชุมแทน  เรียกว่า  สวดพระปาฏิโมกข์

ทรงอนุญาตเสนาสนะ
ในคราวเสด็จกรุงราชคฤห์ครั้งแรก  พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายเวฬุวนารามเป็นที่ประทับพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์  สถานที่นั้นคงเป็นป่าไผ่  ไม่มีอาคารแต่อย่างใด  สมด้วยข้อความในเสนาสนะขันธกะว่า  ครั้งพระศาสดายังไม่ได้อนุญาตเสนาสนะ  ภิกษุทั้งหลายอยู่กันในป่าบ้าง  โคนไม้บ้าง  บนภูเขาบ้าง  ซอกเขาบ้าง  ในถ้ำบ้าง  ป่าช้าบ้าง  ที่สุมทุมพุ่มไม้บ้าง  ที่แจ้งบ้าง  ลอมฟางบ้าง
วันหนึ่ง  ราชคหกเศรษฐีไปอุทยานแต่เช้า  เห็นภิกษุทั้งหลายออกจากสถานที่เหล่านั้น  ด้วยกิริยาอาการน่าเลื่อมใส  จึงถามว่า  ถ้าเขาทำวิหารถวาย  จะอยู่ในวิหารได้ไหม  ภิกษุทั้งหลายตอบว่า  พระศาสดายังไม่ทรงอนุญาต  เขาขอให้กราบทูลถามแล้วบอกแก่เขา  ภิกษุทั้งหลายได้ทำตามนั้น  พระศาสดาทรงอนุญาตที่นั่งที่นอน    ชนิด  คือ  วิหาร    อัทฒโยค    ปราสาท    หัมมิยะ    คุหา 
วิหาร  คือ  กุฏิธรรมดา  อัทฒโยค  คือ  เพิง  ปราสาท  คือ  เรือนชั้น  เช่น  ตึกแถว  หัมมิยะ  คือ  ที่อยู่ก่อด้วยอิฐหรือดินเหนียว  โดยหาสิ่งอื่นมาทำหลังคา  คุหา  คือ  ถ้ำทั่วไป

ทรงแสดงวิธีทำปุพพเปตพลี
พระเจ้าพิมพิสาร  ทรงทำปุพพเปตพลี  คือ  การทำบุญอุทิศบรรพบุรุษ  ภายหลังจากพระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนาแล้ว  ในวันทรงทำปุพพเปตพลี  ทรงทูลเชิญสมเด็จพระศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ไปทรงอังคาสที่พระราชนิเวศน์  พระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว  ทรงบริจาคไทยธรรมต่างๆ  รวมทั้งผ้าด้วยแก่พระภิกษุสงฆ์  แล้วทรงอุทิศบุรพบิดร  คือ  บรรพบุรุษผู้ล่วงลับวายชนม์
พระศาสดาทรงอนุโมทด้วยคาถา  มีคำว่า  อทาสิ  เม  อกาสิ  เม  เป็นต้น  แปลว่า  ญาติก็ดี  มิตรก็ดี  ระลึกถึงอุปการะอันท่านทำแล้วในกาลก่อนว่า  ท่านได้ให้สิ่งนี้แก่เรา  ได้ทำสิ่งนี้แก่เรา  เป็นญาติ  เป็นมิตร  เป็นสขา  (สหาย)  ของเรา  พึงให้ทักษิณา  เพื่อชนผู้ล่วงลับไปแล้ว  ไม่พึงทำการร้องไห้  เศร้าโศก  รำพันถึง  (เพียงอย่างเดียว)  เพราะการอย่างนั้นไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ญาติผู้ล่วงลับไป  แต่ญาติทั้งหลายก็มักเป็นอย่างนี้  (คือร้องไห้  เป็นต้น)  ส่วนทักษิณานี้ที่ท่านทั้งหลายบริจาคในสงฆ์  ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้วนั้นโดยพลัน  ท่านทั้งหลาย  (ชื่อว่า)  ได้แสดงออกซึ่งญาติธรรมด้วย  ได้ทำบูชาญาติผู้ล่วงลับอย่างยิ่งด้วย  ได้เพิ่มกำลังให้แก่ภิกษุทั้งหลายด้วย  เป็นอันได้บุญไม่น้อยเลย
การทำปุพพเปตพลี  ย่อมบำรุงความรัก  ความนับถือ  ในบรรพบุรุษของตน  ให้เจริญกุศล ส่วนกตัญญูกตเวทิตาเป็นทางมาแห่งความรุ่งเรืองแห่งสกุลวงศ์  พระศาสดาจึงได้ทรงอนุมัติ  ด้วยประการฉะนี้

ทรงมอบให้สงฆ์เป็นใหญ่ในกิจ
วันหนึ่ง พระศาสดาประทับอยู่ที่วิหารเชตวัน  อารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี  เมืองสาวัตถี  แคว้นโกศล  มีพราหมณ์ชราคนหนึ่งศรัทธามาขอบวช  จึงทรงมอบให้พระสารีบุตรบวชให้  โดยทำพิธีเป็นการสงฆ์  ในมัธยมชนบทต้องประชุมภิกษุ  ๑๐  รูป  ในปัจจันตชนบทมีพระน้อยประชุมภิกษุ    รูป  ภิกษุรูปหนึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์  คือ  เป็นผู้รับรอง (รับผิดชอบ) ผู้จะอุปสมบท  รูปหนึ่งประกาศสงฆ์ให้รู้เรื่อง  แต่ในปัจจุบันนี้นิยมใช้ ๒ รูป  เรียกว่า  กรรมวาจาจารย์  กับอนุสาวนาจารย์  แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า  คู่สวด  ครั้นประกาศสงฆ์ให้รู้เรื่อง    ครั้ง  ถ้าไม่มีภิกษุคัดค้าน  ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ  ถ้าถูกคัดค้านแม้เสียงเดียวเป็นอันไม่ยอมรับ  อุปสมบทชนิดนี้เรียก  ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา  แปลว่า  อุปสมบทด้วยการสงฆ์  มีวาจาประกาศเป็นที่    เมื่อทรงอนุญาตวิธีอุปสมบทนี้แล้ว  ทรงยกเลิกการอุปสมบทแบบไตรสรณคมน์ที่ทรงอนุญาตไว้เดิม

ทรงสอนพระศาสนาผ่อนลงมาถึงคดีโลก
วันหนึ่ง  พระศาสดาเสด็จไปบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์  พบชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อ  สิงคารมาณพ  กำลังไหว้ทิศอยู่จึงตรัสถาม  เขาทูลว่า  ไหว้ทิศพระเจ้าข้า  บิดาของข้าพระองค์ก่อนตายได้สั่งเอาไว้  ข้าพระองค์เคารพคำสั่งของท่านจึงไหว้ทิศ
พระพุทธองค์ตรัสแก่เขาว่า  ในแวดวงของอารยชน  เขาไม่ไหว้ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก  เป็นต้น  อย่างนี้หรอก  เขาไหว้ทิศ    แต่ก่อนจะไหว้ทิศต้องทำกิจเบื้องต้นให้สมบูรณ์ด้วย  คือ  ต้องเว้นกรรมกิเลส    ไม่ทำบาปกรรมเพราะอคติ    และไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุข    ต่อจากนั้นจึงไหว้ทิศ    คือ
๑.  ทิศบูรพา  อันเป็นทิศเบื้องหน้า  ได้แก่  มารดา  บิดา
๒.  ทิศทักษิณ  อันเป็นทิศเบื้องขวา  ได้แก่  อาจารย์
๓.  ทิศปัจจิม  อันเป็นทิศเบื้องหลัง  ได้แก่  บุตรภรรยา
๔.  ทิศอุดร  อันเป็นทิศเบื้องซ้าย  ได้แก่  มิตรอมาตย์
๕.  ทิศเบื้องล่าง  ได้แก่  บ่าวและลูกจ้าง
๖.  ทิศเบื้องบน  ได้แก่  สมณพราหมณ์
ส่วนความละเอียดแห่งเทศนานี้  มีอยู่ในวิชาธรรมแผนกคิหิปฏิบัติ

ทรงแสดงวิธีทำเทวตาพลี
ครั้งหนึ่ง  พระศาสดาเสด็จจาริกไปถึงบ้านปาฏลิคาม  แคว้นมคธ  คราวนั้นสุนีธพราหมณ์  และวัสสการพราหมณ์  มหาอำมาตย์มคธ  มาอยู่ที่นั่น กำลังสร้างนครเพื่อป้องกันชาววัชชี  สองอำมาตย์นั้นมาเฝ้า  เชิญเสด็จรับภัตตาหารที่เมืองใหม่นั้น  พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์  เมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว  พระศาสดาทรงอนุโมทนาด้วยคาถา  มีคำว่า  ยสฺมึ  ปเทเส กมฺเปติ วาสํ ปณฺฑิตชาติโย  เป็นต้น  มีความว่า  กุลบุตรผู้มีชาติแห่งบัณฑิต  สำเร็จการอยู่ในประเทศใด  พึงนิมนต์พรหมจารี  ผู้มีศีลสำรวมดีให้ฉัน ณ  ที่นั้นแล้ว  อุทิศทักษิณาเพื่อเทวดาผู้สถิตย์    ที่นั้น  เทวดาทั้งหลายนั้นอันกุลบุตรนั้นบูชาแล้ว  ย่อมบูชาตอบ  อันกุลบุตรนั้นนับถือแล้ว  ย่อมนับถือตอบ  แต่นั้นย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยเมตตา  ดุจมารดากับบุตร  กุลบุตรนั้นอันเทวดาอนุเคราะห์แล้ว  ย่อมเห็น  (ได้)  ผลอันเจริญทุกเมื่อ

ปัจฉิมโพธิกาล
ปลงอายุสังขาร
เมื่อพระศาสดาตรัสรู้แล้ว  และได้เสด็จพระพุทธดำเนินสัญจรสั่งสอนเวไนยสัตว์ในคาม  นิคม  ชนบท  ราชธานี  มีเมืองราชคฤห์  แคว้นมคธ  เป็นต้น  จนประดิษฐานพระพุทธศาสนามี  ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  และอุบาสิกา  ซึ่งเรียกว่า  บริษัท    นับเวลาแต่อภิสัมโพธิสมัยล่วงได้  ๔๔  พรรษา  ครั้น    พรรษากาลที่  ๔๕  เสด็จจำพรรษา  ณ บ้านเวฬุวคาม  เขตพระนครไพสาลี  ทรงบำเพ็ญพุทธกิจจนเวลาล่วงไปถึงเดือนที่    แห่งฤดูเหมันต์  อันได้แก่  มาฆมาส  (เดือน  ๓)  วันบุรณมี  ทรงปลงอายุสังขาร  ณ ปาวาลเจดีย์ว่า  อีก    เดือนต่อแต่นี้ไปตถาคตจักปรินิพพาน

ทรงแสดงอภิญญาเทสิตธรรม
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน  ตรัสประทานโอวาทสอนภิกษุสงฆ์ด้วยอภิญญาเทสิตธรรมว่า  ธรรมทั้งหลายที่เราแสดงด้วยปัญญายิ่ง  คือ  สติปัฏฐาน    สัมมัปปธาน    อิทธิบาท    อินทรีย์    พละ    โพชฌงค์    มรรคมีองค์    ชื่ออภิญญาเทสิตธรรม  ท่านทั้งหลายพึงเรียนให้ดี  และส้องเสพเจริญทำให้มากในสันดานเถิด

ทรงแสดงอริยธรรม    ประการ
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่    บ้านภัณฑุคาม  ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุสงฆ์ว่า  เพราะไม่หยั่งรู้ธรรม    ประการ  คือ  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  และวิมุตติ  อันเป็นอริยธรรม
นี้แลเป็นเหตุ  เราและท่านทั้งหลาย  จึงได้ท่องเที่ยวไปในกำเนิดและคติ  สิ้นกาลนานนักอย่างนี้  แต่บัดนี้เราและท่านทั้งหลายได้ตรัสรู้ธรรมทั้ง    นั้นแล้ว  ตัดตัณหาได้  ภพใหม่จึงไม่มี

ทรงแสดงมหาปเทส  ฝ่ายพระสูตร 
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่    อานันทเจดีย์  ในเขตโภคนคร  ตรัสเทศนามหาปเทส    ฝ่ายพระสูตรว่า  ถ้ามีผู้มาอ้างพระศาสดา  สงฆ์  คณะ  หรือบุคคล  แล้วแสดงว่านี้ธรรม  นี้วินัย  นี้สัตถุศาสน์  อย่าด่วนรับหรือปฏิเสธ  พึงสอบดูกับพระสูตรและพระวินัย  ถ้าไม่ตรงกัน  พึงเข้าใจว่านั่นไม่ใช่คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า  ถ้าตรงกันพึงทราบว่า  นั่นเป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า  มหาปเทส  แปลว่า  ที่อ้างใหญ่

นายจุนทะถวายปัจฉิมบิณฑบาต
ครั้นใกล้ถึงวันปรินิพพาน  ตามที่ทรงปลงอายุสังขารไว้  สมเด็จพระโลกนาถพร้อมภิกษุสงฆ์พุทธบริวาร  ได้เสด็จถึงปาวานคร  ประทับอยู่    อัมพวัน  สวนมะม่วงของนายจุนทะ  บุตรช่างทอง  นายจุนทะทราบข่าว  จึงไปเฝ้า  ฟังธรรมเทศนาแล้ว  กราบทูลเชิญเสด็จเพื่อทรงรับภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น  ทรงรับนิมนต์และเสด็จไปตามนั้น  ซึ่งวันนั้นเป็นวันก่อนวันปรินิพพานหนึ่งวัน  (ขึ้น  ๑๔  ค่ำ)  นายจุนทะได้ถวายสูกรมัทวะแก่พระศาสดา  ทรงรับสั่งให้ถวายเฉพาะพระองค์เท่านั้น  ส่วนภิกษุสงฆ์ให้ถวายอาหารอย่างอื่น  และให้เอาสูกรมัทวะที่เหลือจากที่เสวยฝังเสียในบ่อ  หลังจากทรงเสวยสูกรมัทวะได้ทรงประชวรลงพระโลหิต  เกิดเวทนากล้าใกล้ต่อมรณทุกข์  จึงตรัสเรียกพระอานนท์มาว่า  จักเสด็จเมืองกุสินารา  พระอานนท์ได้ปฏิบัติตามนั้น

ผิวกายพระตถาคตผ่องใสยิ่ง    กาล
ระหว่างทางเสด็จไปเมืองกุสินารา  บุตรแห่งมัลลกษัตริย์นามว่า  ปุกกุสะ  เป็นสาวกของอาฬารดาบส  กาลามโคตร  ได้ถวายผ้าคู่สิงคิวรรณ  ตรัสให้ถวายพระอานนท์ผืนหนึ่ง  เมื่อปุกกุสะหลีกไปแล้ว  พระอานนท์ได้ถวายผ้าของท่านแก่พระศาสดา  ทรงนุ่งผืนหนึ่ง  ห่มผืนหนึ่ง  พรรณแห่งผิวพระกายผุดผ่องยิ่งนัก  สมดังที่ตรัสว่า  ดูก่อนอานนท์  กายแห่งพระตถาคตย่อมบริสุทธิ์  ผิวพรรณผุดผ่องยิ่ง    เวลา  คือ  ในราตรีที่จะตรัสรู้ ๑  ในราตรีที่จะปรินิพพาน 

บิณฑบาตทาน    คราว  มีผลเสมอกัน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์บิณฑบาต  ๒ อย่างนี้  มีผลเท่ากัน  มีอานิสงส์มากกว่าบิณฑบาตอย่างอื่น  คือ  บิณฑบาตที่ตถาคตบริโภคแล้วได้ตรัสรู้    บิณฑบาตที่ตถาคตบริโภคแล้วปรินิพพาน ๑

ประทมอนุฏฐานไสยา
ครั้งนั้น  สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์  เสด็จพุทธดำเนินข้ามแม่น้ำหิรัญญวดี  ถึงเมืองกุสินาราบรรลุถึงสาลวัน  ตรัสสั่งพระอานนท์ว่า  เธอจงแต่งตั้งปูลาดซึ่งเตียง  ให้มีเบื้องศีรษะ ณ ทิศอุดร ณ ระหว่างแห่งไม้รังทั้งคู่  เราเป็นผู้เหน็ดเหนื่อยนัก  จักนอนระงับความลำบาก พระเถระได้ทำตามพุทธอาณัติโดยเคารพ  สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  ทรงสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา  ตั้งพระบาทเหลื่อมด้วยพระบาท  มีสติสัมปชัญญะ  แต่มิได้มีอุฏฐานสัญญามนสิการ  เพราะเหตุเป็นไสยาอวสาน  เรียกว่า  อนุฏฐานไสยา
ข้อสังเกต  อนุฏฐานไสยา  การนอนโดยไม่มีสัญญามนสิการว่าจะเสด็จลุกขึ้น  อุฏฐานไสยา  การนอนโดยมีสัญญามนสิการว่า  จะเสด็จลุกขึ้น  ทรงประทับโดยข้างเบื้องขวา  ตั้งพระบาทเหลื่อมกันทั้ง    อย่าง  ไม่มีความต่างกัน

ทรงปรารภสักการบูชา
สมัยนั้น  เทวดาทั้งหลายได้บูชาสักการะพระศาสดา  ด้วยเครื่องบูชา  มีดอกไม้  ของหอม  ดนตรีทิพย์  สังคีตทิพย์  เป็นต้น  มากมาย  ทรงทราบด้วยจักษุทิพย์และทิพยโสต  จึงตรัสแก่พระอานนท์ว่า พระตถาคตเจ้าไม่ชื่อว่าอันบริษัทสักการะนบนอบ  นับถือ  บูชา  คำนับด้วยสักการะพิเศษเพียงเท่านี้ แต่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้ปฏิบัติสมควรแก่ธรรม  ปฏิบัติชอบยิ่ง  ประพฤติธรรมสมควรแล้ว  จึงชื่อว่าสักการะ  เคารพ  นบนอบ  นับถือ  พระตถาคตเจ้าด้วยบูชาอย่างยิ่ง

ทรงแสดงสังเวชนียสถาน    ตำบล
ครั้งนั้น  พระโลกนาถทรงแสดงสถาน    ตำบลแก่พระอานนท์ว่า  เป็นที่ควรจะดู  ควรจะเห็น  คือ
๑.  สถานที่พระตถาคตประสูติ
๒.  สถานที่พระตถาคตตรัสรู้
๓.  สถานที่พระตถาคตแสดงพระธรรมจักร
๔.  สถานที่พระตถาคตปรินิพพาน

ทรงแสดงถูปารหบุคคล 
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถูปารหบุคคล  คือ  ผู้ควรแก่การประดิษฐานพระสถูป    ประเภท  คือ
๑.  พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒.  พระปัจเจกพุทธเจ้า
๓.  พระอรหันตสาวก
๔.  พระเจ้าจักรพรรดิราช

โปรดสุภัททปริพาชก
สมัยนั้น  ปริพาชกผู้หนึ่งชื่อ  สุภัททะ  อาศัยอยู่    เมืองกุสินารา  มีความสงสัยมานานว่า  ครูทั้ง ๖ คือ  ปูรณกัสสป  มักขลิโคศาล  อชิตเกสกัมพล  ปกุทธกัจจายนะ  สัญชยเวลัฎฐบุตร  นิครนถนาฏบุตร  ซึ่งคนเป็นอันมากสมมติกันว่าเป็นผู้ประเสริฐ  ทั้ง    ท่านได้ตรัสรู้จริงหรือไม่  จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาเพื่อทูลถามปัญหานั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่เขาว่า  อริยมรรคมีองค์    ไม่มีในธรรมวินัยใด  สมณะที่    (คือ  พระโสดาบัน)  สมณะที่    (คือ  พระสกิทาคามี)  สมณะที่    (คือ  พระอนาคามี)  สมณะที่    (คือ  พระอรหันต์)  ย่อมไม่มีในธรรมวินัยนั้น
สุภัททปริพาชกได้ทูลขออุปสมบท  จึงทรงมอบหมายให้พระอานนท์ว่า  ถ้ากระนั้น  ท่านทั้งหลายจงให้สุภัททะบวชเถิด  พระอานนท์ได้ทำตามพุทธประสงค์  สุภัททปริพาชก  ชื่อว่าได้อุปสมบทในสำนักแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า  ไม่นานนักก็ได้บรรลุอรหัตผล

ทรงตั้งพระธรรมวินัยเป็นศาสดา
ลำดับนั้น  สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  ตรัสเรียกพระอานนท์ให้เป็นผู้รับเทศนา  ประทานโอวาทแก่ภิกษุบริษัท  เพื่อจะให้มีความเคารพต่อพระธรรมวินัย  ตั้งไว้ในที่แห่งพระศาสดาว่า  ดูก่อนอานนท์  ความดำริดังนี้  จะพึงมีบ้างแก่ท่านทั้งหลายว่า  ศาสนามีศาสดาล่วงแล้ว  พระศาสดาแห่งเราทั้งหลายไม่มี  ดูก่อนอานนท์  ท่านทั้งหลายไม่พึงเห็นอย่างนั้น  ธรรมก็ดี  วินัยก็ดี  อันใด  อันเราได้แสดงแล้ว  ได้บัญญัติไว้แล้วแก่ท่านทั้งหลาย  ธรรมและวินัยนั้น  จักเป็นศาสดาแห่งท่านทั้งหลาย  โดยกาลที่ล่วงไปแล้วแห่งเรา

ปัจฉิมโอวาท
ลำดับนั้น  สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา  ประทานปัจฉิมโอวาทว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บัดนี้เราขอเตือนทั้งหลายว่า  สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมความสิ้นไปเป็นธรรมดา  ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น  ให้บริบูรณ์ด้วยไม่ประมาทเถิด  พระวาจานี้เป็นที่สุดของพระตถาคตเจ้า  ซึ่งรวมเอาพระโอวาทที่ได้ประทานแล้วตลอด  ๔๕  พรรษา  ไว้ในความไม่ประมาท

ปรินิพพาน
หลังจากตรัสปัจฉิมโอวาทแล้ว  พระองค์ไม่ได้ตรัสอะไรอีกเลย  ทรงทำปรินิพพานบริกรรม  (เตรียมปรินิพพาน)  ด้วยอนุปุพพวิหารสมาบัติทั้ง    คือ  รูปฌาณ    อรูปฌาณ    สัญญาเวทยิตนิโรคสมาบัติ  ดับจิตสังขาร  คือ  สัญญาและเวทนา    พระพุทธองค์ได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน  ในปัจฉิมยามแห่งราตรีวิสาขปุรณมีดิถีเพ็ญกลางเดือน 

อปรกาล
ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
เมื่อพระศาสดาปรินิพพานได้    วัน  มัลลกษัริย์ทั้งหลายได้อัญเชิญพระสรีระไปประดิษฐาน    มกุฏพันธนเจดีย์  เพื่อที่จะทำการถวายพระเพลิง  เมื่อพระมหากัสสปะซึ่งเป็นสังฆเถระมาถึง  จึงได้ถวายพระเพลิง
ในการถวายพระเพลิงนั้น  หนัง  เนื้อ  เอ็น  ไขข้อ  ถูกเพลิงเผาไหม้หมดสิ้น  ส่วนพระอัฐิ  พระเกสา  พระโลมา  พระนขา  พระทันตา  ทั้งหมดยังเหลืออยู่  กับผ้าคู่หนึ่งเหลือเป็นปกติอยู่  เพื่อเป็นเครื่องห่อพระบรมสารีริกธาตุ

แจกพระบรมสารีริกธาตุ
พระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  มี    ขนาด  ขนาดใหญ่เท่ากับเมล็ดถั่วเขียวแตก  (ครึ่ง)  ขนาดกลางเท่ากับเมล็ดข้าวสารแตก  ขนาดเล็กเท่ากับเมล็ดผักกาด  ขนาดใหญ่    ทะนาน  ขนาดกลาง    ทะนาน  ขนาดเล็ก    ทะนาน  โทณพราหมณ์  ได้แบ่งให้กษัตริย์และพราหมณ์ที่มาขอท่านละ    ทะนาน  เอาไปประดิษฐานในสถูป    เมืองของตน    แห่ง  คือ  ๑.  พระนครราชคฤห์  ๒.  พระนครเวสาลี  ๓.  พระนครกบิลพัสดุ์  ๔.  อัลลกัปปนคร  ๕.  รามคาม  ๖.  นครเวฏฐทีปกะ  ๗.  นครปาวา  ๘.  นครกุสินารา
ฝ่ายโทณพราหมณ์ก็ได้เชิญตุมพะ  คือ  ทะนานตวงพระธาตุไปก่อพระสถูปบรรจุไว้  มีชื่อว่า  ตุมพสถูป
กษัตริย์เมืองปิปผลิวัน  เชิญพระอังคาร  คือ  เถ้าถ่านที่ถวายพระเพลิงไปทำพระสถูปบรรจุไว้  มีชื่อว่า  พระอังคารสถูป
จึงรวมพระสถูปเจดีย์สถานเมื่อปฐมกาล  ๑๐  แห่งด้วยประการฉะนี้

ประเภทแห่งเจดีย์
ในปฐมกาล หลังจากพระศาสดาเสด็จดับขันธปรินิพพานใหม่ๆ คงมีเจดีย์ ๒ ประเภท คือ
๑.  พระสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ    ส่วน  ที่โทณพราหมณ์แบ่งให้  เรียกว่า  ธาตุเจดีย์
๒.  ตุมพสถูป  อังคารสถูป  และสังเวชนียสถาน    ตำบล  เรียกว่า  บริโภคเจดีย์
ครั้นต่อมา  พระพุทธศาสนาแผ่กว้างออกไป  พุทธศาสนิกชนหาพระธาตุไม่ได้  จึงได้สร้างสถูปแล้วนำเอาคัมภีร์พระธรรมไปบรรจุไว้  เรียกว่า  ธรรมเจดีย์
ต่อมา  เมื่อโลกเจริญขึ้น  จึงมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นกราบไหว้บูชา  เรียกว่า  อุทเทสิกเจดีย์  รวมทั้งหมดจึงเป็นเจดีย์    ประเภท  เป็นที่เคารพนับถือบูชาแทนองค์พระศาสดา  แห่งพุทธศาสนิกชน

ความเป็นมาแห่งพระธรรมวินัย

สังคายนาครั้งที่ 
เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสว่า  ดูก่อนอานนท์  ธรรมก็ดี  วินัยก็ดี  อันใด  อันเราแสดงแล้วบัญญัติไว้แล้ว  แก่ท่านทั้งหลาย  ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาแห่งท่านทั้งหลาย  โดยกาลที่ล่วงไปแล้วแห่งเรา  ดังนั้น  การสังคายนา  คือ  รวบรวมพระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงแสดงไว้ในที่นั้นๆ ตลอดเวลา  ๔๕  ปี  ให้เป็นหมวดหมู่  เพื่อเป็นหลักฐานในการประพฤติปฏิบัติ  จึงเป็นเรื่องที่จำเป็น
เมื่อถวายพระเพลิงพระสรีระของพระศาสดาแล้ว  ท่านพระมหากัสสปะได้นำเรื่องหลวงตาสุภัททะกล่าวล่วงเกินพระธรรมวินัยว่า  บัดนี้พระสมณโคดมนิพพานแล้ว  พวกเราอยากจะทำอะไรก็ทำ  พูดเหมือนกับไม่เคารพพระธรรมวินัย  ปรารถนาจะทำอะไรตามใจตนเอง  โดยไม่ต้องปฏิบัติตามพระธรรมวินัย  เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอันตรายที่จะเกิดแก่พระพุทธศาสนา
พระมหากัสสปะ  จึงชักชวนภิกษุทั้งหลายให้ทำการสังคายนาพระธรรมวินัย  ได้คัดเลือกภิกษุสงฆ์องค์อรหันต์  ๕๐๐  รูป  ไปทำสังคายนาที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา  ข้างภูเขาเวภารบรรพต  แขวงเมืองราชคฤห์  เป็นสังคายนาครั้งแรก  เมื่อพระศาสดาปรินิพพานได้ ๓ เดือน โดยมีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์ กระทำอยู่ ๗ เดือนจึงสำเร็จ

สังคายนาครั้งที่ 
เมื่อพระศาสดาปรินิพพานได้  ๑๐๐  ปี  ภิกษุวัชชีบุตร  ชาวเมืองเวสาลี  แสดงวัตถุ  ๑๐  ประการ  อันผิดพระธรรมวินัย  มีทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์เห็นดีเห็นชอบด้วยจำนวนมาก  ยากที่จะแก้ไข  องค์พระอรหันต์  ๗๐๐  รูป  มีพระยสกากัณฑกบุตรเป็นประธาน  ได้ประชุมกันที่วาลิการาม  เมืองเวสาลี  ชำระวัตถุ  ๑๐  ประการ  ประดิษฐานธรรมวงศ์ให้บริสุทธิ์สืบมา ทำอยู่ ๘ เดือนจึงสำเร็จ

สังคายนาครั้งที่ 
เมื่อพระศาสดาปรินิพพานได้  ๒๑๘  ปี  ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช  แห่งปาฏลีบุตร  เดียรถีย์ปลอมบวชในพระพุทธศาสนาจำนวนมาก  ประพฤติผิดแปลกแตกต่างไปจากพระธรรมวินัย  พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ  ได้พึ่งราโชปถัมถ์ในพระเจ้าอโศกมหาราช  กำจัดเดียรถีย์เหล่านั้นออกจากสังฆมณฑล แล้วพร้อมด้วยพะอรหันต์ ๑,๐๐๐ องค์ ชำระวาทะซึ่งเป็นมลทินแห่งพระธรรมวินัยออกได้แล้วประดิษฐานธรรมวงศ์ให้ดำรงสืบมา กระทำอยู่ ๙ เดือนจึงสำเร็จ


ศาสนพิธี
(พิธีกรรมทางศาสนา)

หมวดกุศลพิธี ว่าด้วยการบำเพ็ญกุศล
กุศลพิธี คือพิธีกรรมอันดีงามที่ทำให้ผู้ปฏิบัติ สามารถลดละเลิกทำความชั่ว และมุ่งมั่นตั้งใจทำความดี เจริญสติและปัญญา กุศลพิธีมี ๓ ประการ คือ
๑. พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
๒. พิธีรักษาอุโบสถ
๓. พิธีเวียนเทียนในวัดสำคัญทางพระพุทธศาสนา

๑. พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ หมายถึง การยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาหรือเป็นผู้ระลึกถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
มามกะ แปลว่า ของเรา หมายถึง การนับถือพระรัตนตรัยว่าเป็นของเรา การแสดงตนเป็นพุทธมามกะสามารถทำได้หลายครั้ง ตามกำลังศรัทธาของตนเอง
การแสดงตนเป็นพุทธมามกะมีปรากฏตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เช่น พระอัญญาโกณฑัญญะแสดงตนเป็นพุทธมามกะโดยการทูลของอุปสมบทในพระพุทธศาสนา หรือตปุสสะและภัลลิกะ แสดงตนเป็นพุทธมามกะโดยการถึงพระพุทธพระธรรมเป็นที่พึ่ง

ความเป็นมาในประเทศไทย
เมื่อประเพณีการบวชเรียนลดน้อยลง และคนไทยเริ่มนิยมส่งบุตรหลานไปเรียนต่างประเทศมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) ทรงประสงค์ให้โอรสที่ไม่ได้ผนวชเป็นสามเณรได้ปฏิญญาเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนาก่อนเสด็จไปศึกษาต่อยังยุโรป ครั้งนั้นใช้คำปฏิญญาตนตามแบบบาลี
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๖) ได้ปฏิญญาพระองค์เป็นพุทธมามกะตามแบบที่ตั้งขึ้นใหม่ และใช้เป็นพระราชประเพณีสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

ระเบียบปฏิบัติ
ระเบียบปฏิบัติหรือขั้นตอนการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ มี ๓ ขั้นตอน คือ
๑. มอบตัว ผู้ปกครองนิมนต์พระสงฆ์ไม่น้อยกว่า ๔ รูป สถานที่ประกอบพิธีกรรมอาจจัดภายในบ้าน วัด หรือ โรงเรียนก็ได้
๒. เตรียมการ คือการจัดเตรียมสถานที่ หรือสิ่งที่ต้องใช้ในการประกอบพิธีกรรม เช่น โต๊ะหมู่ ดอกไม้ ธูปเทียน
๓. พิธีการ เริ่มพิธีการตามลำดับขั้นตอนตั้งแต่ การจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยเป็นต้นไป

๒. พิธีรักษาอุโบสถ
อุโบสถ แปลว่า การอยู่จำ การเข้าจำ เป็นอุบายสำหรับขัดเกลากิเลสให้เบาบางลง ทำให้กายและวาจาไม่วุ่นวาย การรักษาศีลอุโบสถสำหรับคฤหัสถ์ เรียกว่า อัฏฐคิกอุโบสถ คือ การรักษาศีล ๕ อย่างเคร่งครัด
เจ้าลัทธิทั้งหลายในสมัยพุทธกาล นิยมประชุมกันกล่าวธรรมในวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ มีสาวกเข้าร่วมฟังจำนวนมาก
พระเจ้าพิมพิสารจึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อทูลขออนุญาตให้สงฆ์ กล่าวธรรมทุกวันพระ พระสงฆ์จึงปฏิบัติตามพุทธานุญาตจนมาถึงปัจจุบันนี้
ประเภทของอุโบสถ
แบ่งตามวันที่รักษาอุโบสถ มี ๒ ประเภท คือ
๑. ปกติอุโบสถ (อุโบสถตามปกติ) หมายถึง อุโบสถที่นิยมรักษาตามปกติชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง นิยมปฏิบัติกันในวันพระ (๘ ค่ำ, ๑๔ ค่ำ, ๑๕ ค่ำ)
๒. ปฏิชาครอุโบสถ (อุโบสถผู้ตื่น) หมายถึงอุโบสถรักษาคราวละ ๓ วัน คือ วันรับ หมายถึงวันที่รับศีล ๘ จากพระสงฆ์ วันรักษา หมายถึงรักษาศีล ๘ ในวันพระ และวันส่ง หมายถึงวันสิ้นสุดการรักษาศีล เช่น หากกำหนดรักษาในวันพระ ๘ ค่ำ ต้องเริ่มรับศีลในวัน ๗ ค่ำ (วันรับ) และเริ่มรักษาตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวัน ๙ ค่ำ (วันส่ง) และเช้าวัน ๑๐ จึงถือว่าสิ้นสุด

ระเบียบวิธีปฏิบัติ
เมื่อตั้งใจจะรักศีลอุโบสถในวันใด เมื่อถึงกำหนดรักษา(๘ ค่ำ, ๑๔ ค่ำ, ๑๕ ค่ำ) ผู้รักษาควรตื่นนอนแต่เช้าตรู่ ชำระร่างกายให้สะอาด เริ่มพิธีการโดยการบูชาพระรัตนตรัยตามลำดับ คือ
๑. กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย
๒. เปล่งวาจาอธิฐานศีลอุโบสถ
๓. เปล่งคำอาราธนาศีลอุโบสถ
๔. สมาทานศีลอุโบสถ

๓. พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญ
การเวียนเทียนตรงกับคำบาลีว่า “ทักษิณาวรรต” หมายถึง การประนมมือเวียนขวารอบอุโบสถ หรือ รอบสถูปเจดีย์ เพื่อน้อมระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย ในวันสำคัญของพระพุทธศาสนา วันที่นิยมปฏิบัติพิธีเวียนเทียน มี ๔ วัน คือ
๑. วันมาฆบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
๒. วันวิสาขบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
๓. วันอัฏฐมีบูชา แรม ๘ ค่ำ เดือน ๖
๔. วันอาสาฬหบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
๑. วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ เป็นวันคล้ายวันที่ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์
๒. วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
๓. วันอัฏฐมีบูขา ตรงกับแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
๔. วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เป็นวันคล้ายวันทรงแสดงปฐมเทมศนาชื่อ ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร มีพระอัญญาโกณฑัญญะบรรลุธรรม นับเป็นอริยสงฆ์รูปแรกในโลก

ระเบียบวิธีปฏิบัติ
เมื่อถึงวันสำคัญของพระพุทธศาสนา อุบาสกอุบาสิกาและพุทธศาสนิกชน จะนัดหมายประชุมกันหน้าอุโบสถหรือสถูปเจดีย์ จัดเตรียมดอกไม้ ธูปเทียนเครื่องสักการะ พระสงฆ์แถวหน้า ถัดมาเป็นอุบาสกอุบาสิกาและพุทธศาสนิกชนทั่วไปตามลำดับ

เมื่อถึงเวลาอันสมควรแล้ว หัวหน้าสงฆ์กล่าวนำบูชาพระรัตนตรัย กล่าวคำบูชาดอกไม้ธูปเทียนตามแบบที่กำหนดใช้ในวันสำคัญนั้นๆ

ในขณะเดินเวียนขวา ๓ รอบ รอบที่ ๑ สวดระลึกถึงพระพุทธคุณ รอบที่ ๒ สวดพระธรรมคุณ และรอบที่ ๓ สวดพระสังฆคุณ

หมวดบุญพิธี ว่าด้วยพิธีทำบุญ
เป็นพิธีกรรมที่จัดขึ้น เพื่อให้เกิดความสุขและความเป็นสิริมงคลแก่ผู้จัด เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตในประจำวัน ขนบธรรมเนียม ประเพณีต่างๆ ของไทย

ส่วนมากมักทำบุญเกี่ยวกับการฉลองบ้าง เรื่องต้องการสิริมงคลแก่ชีวิตบ้างและครอบครัวบ้าง เรื่องเกี่ยวกับการตายบ้าง นับเป็นวิถีดำเนินชีวิตของชาวพุทธตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย แบ่งการทำบุญเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. ทำบุญงานมงคล ๒. บำบุญงานอวมงคล

เปรียบเทียบงานบุญ
การอาราธนา
งานมงคล : เจริญพระพุทธมนต์
งานอวมงคล : สวดพระพุทธมนต์
พระสงฆ์
งานมงคล : จำนวนคี่
งานอวมงคล : จำนวนคู่
น้ำพระพุทธมนต์
งานมงคล : นิยมทำน้ำพุทธมนต์
งานอวมงคล : ไม่ทำน้ำพุทธมนต์

พิธีการทำบุญงานมงคล
๑. อาราธนาพระสงฆ์นิยมจำนวนคี่ คือ ๕-๗-๙ รูป ถ้าเป็นงานมงคลสมรสนิยมนิมนต์พระสงฆ์เป็นเลขคู่ คือ ๘ รูป พิธีหลวง ๑๐ รูป

๒. เตรียมสถานที่ โต๊ะหมู่ ๕-๗-๙ ถ้าหาไม่ได้โต๊ะอื่นที่สมควร จัดวางพระพุทธรูป ดอกไม้ ธูปเทียน กระถางธูป วางโต๊ะหมู่ทางขวามือของพระสงฆ์ หันพระพักตร์ไปทางเดียวกับพระสงฆ์

๓. วงด้ายสายสิญจน์ วนขวาพระพุทธรูป โยงจากฐานพระพุทธรูปมาที่บาตรหรือขันน้ำมนต์ วนขวาที่บาตรหรือขัน วางไว้ในพานตั้งใกล้อาสนะพระสงฆ์ประธาน

๔. อาสนะสำหรับพระสงฆ์ ควรยกพื้นสูงให้มีระดับเท่ากับเก้าอี้ หรือเพียงปู่เสื่อ ปู่ผ้าขาว ผ้านิสีทนะ (ผ้ารองนั่ง) เท่านั้น ควรให้ที่นั่งพระสูงกว่าที่นั่งฆราวาส

๕. เตรียมเครื่องรองรับพระสงฆ์ คือ ฉันน้ำ เป็นน้ำเย็น หรือน้ำร้อน และจัดวางกระโถนไว้ด้านขวามือพระสงฆ์ด้านในสุด

๖. ตั้งภาชนะน้ำมนต์อาจจะเป็นบาตร หรือขันน้ำมนต์ นิยมใช้น้ำจากดิน ไม่ควรใช้น้ำฝน จัดวางเทียนขี้ผึ้งแท้ขนาด ๑ บาทสำหรับทำน้ำพุทธมนต์ ตั้งไว้หน้าโต๊ะหมู่บูชาเยื้องมาใกล้พระสงฆ์รูปที่เป็นหัวหน้า

๗. เมื่อเริ่มพิธีให้เจ้าภาพจุดเทียน และธูป (ไม่ควรจุดต่อหน้าพระพุทธรูป ตะเกียงหรือจากที่อื่น) ตั้งใจสวดบูชาพระ อาราธนาสมาทานศีล รับศีล อาราธนาพระปริตร เมื่อสวดถึงบทว่า “อะเสวนา จะ พาลานัง...” ให้เจ้าภาพจุดเทียนที่ภาชนะน้ำมนต์

๘. ในวันถวายภัตตาหารเช้าหรือเพล เมื่อพระสวดถึงบทว่า “พาหุง...” ให้เริ่มตักบาตร และเมื่อจบแล้วให้กล่าวคำถวายภัตตาหาร และเข้าประเทศภัตตาหาร

๙. เมื่อพระฉันเสร็จ เจ้าภาพประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์กล่าวอนุโมทนา เมื่อพระเริ่มบทว่า “ยถา...” ให้เจ้าภาพเริ่มกรวดน้ำ จนถึงบทว่า “สัพพีติโย...” กรวดน้ำให้หมด

บูชาข้าวพระพุทธ
ในพิธีทำบุญถวายภัตตาหารพระสงฆ์ เจ้าภาพควรจัดสำรับภัตตาหารถวายพระพุทธเรียกว่า “ถวายข้าวพระพุทธ” ภาชนะเล็กกว่าพระสงฆ์ วางบนโต๊ะหรือบนผ้าขาวสะอาดหน้าโต๊ะหมู่

ทายกนั่งหน้าโต๊ะหมู่ กล่าว นะโม...๓ จบ แล้วกล่าวคำบูชาข้าวพระพุทธ “อิมัง สูปะพะยัญชะนะสัมปันนัง สาลีนัง โอทะนัง อุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิ”

เมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว เจ้าภาพกราบ ๓ หนประนมมือกล่าวคำลาข้าวพระพุทธ “เสสัง มังคะลัง ยาจามิ”

การพรมน้ำพระพุทธมนต์
การพรมน้ำพระพุทธมนต์ นิยมใช้หญ้าคามัดเป็นกำหรือมัดก้านมะยม ๗ ก้าน ประพรมน้ำพุทธมนต์แก่เจ้าภาพและผู้มาร่วมพิธี หรือ ประพรมสถานที่ที่เจ้าภาพต้อง ในขณะที่ประพรมน้ำพุทธมนต์ พระสงฆ์จะสวดบทว่า “ชะยันโต..

การทำบุญงานอวมงคล
การทำบุญอวมงคล หมายถึง การทำบุญเกี่ยวเรื่องการตาย มี ๒ อย่าง คือ
๑. งานทำบุญหน้าศพ ที่เรียกว่า ทำบุญ ๗ วัน, ๕๐ วัน, ๑๐๐ วัน หรือทำบุญวันปลงศพ
๒. งานทำบุญอัฐิ ที่ปรารภบรรพบุรุษหรือญาติ ผู้ใดผู้เหนึ่งที่ล่วงลับไปแล้ว หรือเป็นงานประจำปี เช่น วันสงกรานต์ (เดือน ๕) วันสารท (เดือน ๑๐) หรือวันตายคล้ายวันตายของผู้นั้น

งานทำบุญหน้าศพ
การเตรียมการต่างๆ ส่วนใหญ่คล้ายกับงานทำบุญมงคล แต่มีข้อแตกต่างกัน ดังนี้
๑. นิมมนต์พระสงฆ์เป็นคู่ คือ ๘ รูป ๑๐ รูป เป็นต้น ใช้คำอาราธนาว่า “ขออารธนาสวดพระพุทธมนต์” งานมงคลใช้คำว่า “เจริญพระพุทธมนต์”
๒. ไม่ตั้งภาชนะน้ำมนต์ ไม่วงสายสิญจน์ (ไม่ทำน้ำพระพุทธมนต์)
๓. เตรียมสายโยงหรือภูษาโยงต่อจากศพไว้ สายโยงคือ ด้ายสายสินจน์นั่นเอง ภูษาโยง คือ แผ่นผ้ากว้างประมาณ ๔ นิ้ว สายโยงหรือภูษาโยงควรยาวให้พอตั้งแต่พระสงฆ์ที่เป็นประธานถึงพระสงฆ์รูปสุดท้าย ระวังการเดินสายโยงอย่าให้สูงกว่าพระพุทธรูป และอย่าให้ต่ำกว่าคนนั่ง อย่าข้ามสายโยงภูษาโยง เพราะต่อเนื่องกับศพ (ถือว่าไม่เคารพศพ) สายโยงหรือภูษาโยงสำหรับพระสงฆ์จับบังสุกุล
๔. การปฏิบัติกิจในพิธี เมื่อพระสงฆ์ประจำที่แล้ว เจ้าภาพควรจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธรูปก่อนแล้วจุดธูปเทียนที่หน้าศพภายหลัง

เมื่อถึงเวลาพิจารณาผ้าบังสุกุล ถ้ามีจีวรหรือสบงก็ให้ทอดบนสายโยง ให้ผู้ร่วมพิธีประนมมือ จากนั้นพระสงฆ์อนุโมทนา ให้ทุกคนกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย

ส่วนระเบียบของพระสงฆ์ คล้ายกับงานบุญมงคล แต่ข้อแตกต่างกัน ดังนี้
๑. ใช้พัดที่เกี่ยวกับงานศพ ถ้าไม่มีก็ใช้พัดอื่น
๒. งานศพ ๗ วัน สวดอนัตตตลักขณสูตร, งานศพ ๕๐ วัน สวดอาทิตตปริยายสูตร, งานศพ ๑๐๐ วัน สวดธัมมนิยามสูตร นอกจากอนัตตลักขณสูตร อาทิตตปริยายสูตร และธัมมนิยามสูตรแล้ว จะสวดบทใดก็ได้ ยกเว้นเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร มหาสยสูตร
๓. ไม่ต้องขัด “สมันตา.. สัคเค...” มีลำดับสวดคือ “นะโม... พุทธัง... ยถาปิ เสลา...” พระสงฆ์รูปที่ ๓ ขัดบทสวดที่ต้องการ ทุกรูปสวดบทที่ต้องการ เสร็จแล้วต่อด้วย “อวิชชาปัจจะยา... สังขารา ยะทา หะเว... อะตีตัง นานวาคะเมยยะ... หากสวดบทธัมมนิยามจบแล้ว ให้ต่อด้วยบท “สัพเพ สังขารา... และ อวิชชา...
๔. ถ้างานวันเดียว มีทั้งเทศน์และเลี้ยงพระ ให้สวด “อตีตัง นานวาคะเมยยะ...” จบแล้วเทศน์ จากนั้นสวดบทถวายพรพระ (อิติปิโส... พาหุง... ชะยันโต) “ภะวะตุ สัพพะมังคลัง...
๕. ถ้าเพียงสวดมนต์ บังสุกุล รับไทยธรรมแล้ว อนุโมทนาด้วย “อะทาสิ เม...”
๖. การพิจารณาบังสุกุล ต้องจับพัดมือซ้าย จับสายโยงมือขวา สอดนิ้วใต้สายโยง ส่วนนิ้วหัวมือแม่มือจับบนสายโยง ถ้ามีผ้าบังสุกุลทอดบนสายโยง ก็ให้จับผ้าด้วยวิธีเดียวกัน จากนั้นสวด “อนิจจา วะตะสังขารา...

งานทำบุญอัฐิ
การเตรียมการวส่วนใหญ่คล้ายกับงานทำบุญหน้าศพ แต่ตั้งโกฏิอัฐิหรือรูปหรือชื่อของผู้ตายบนโต๊ะ แยกจากโต๊ะบูชาพระ จัดดอกไม้ประดับ ตั้งกระถางธูป และเชิงเทียน ๑ คู่

พิธีฝ่ายพระสงฆ์ส่วนใหญ่ ก็เช่นเดียวกันกับทำบุญหน้าศพ เพียงแต่บทสวดนิยมสวดบท ธัมมนิยามสูตร, สติปัฏฐานปาฐะ เป็นต้น


หมวดทานพิธี ว่าด้วยการถวายทาน
ทานพิธี คือระเบียบวิธีในการถวายทาน หมายถึงการถวายวัตถุที่ควรให้เป็นทาน ในทางพระพุทธศาสนา เรียกวัตถุที่ควรให้นี้ว่า ทานวัตถุ ทายกควรทำในเรื่องทาน ดังนี้
๑. สิ่งของที่ควรถวาย
๒. เวลาในการถวาย
๓. หลักการถวาย
๔. คำถวายต่างๆ

ทานวัตถุ ๑๐ ประการ
สิ่งของที่ควรถวายมี ๑๐ ประการ
๑. ภัตตาหาร
๒. น้ำ เครื่องดื่ม
๓. ผ้า เครื่องนุ่งห่ม
๔. ยานพาหนะและปัจจัยค่าพาหนะ
๕. ดอกไม้ มาลัย
๖. ธูปเทียนบูชาพระ
๗. เครื่องชำระกาย เช่นสบู่
๘. เครื่องนอนอันควร
๙. ที่อยู่อาศัย เช่น กุฏิเสนาสนะ
๑๐. เครื่องให้แสงสว่าง

บุคคล ๒ ฝ่าย
ในพิธีถวายนี้มีผู้เกี่ยวข้อง ๒ ฝ่าย คือ
๑. ฝ่ายเจ้าภาพ คือ ฝ่ายผู้ให้ ผู้ให้ที่เป็นชาย เรียกว่า “ทายก” ฝ่ายผู้ให้ที่เป็นหญิง เรียกว่า “ทายิกา
๒. ฝ่ายสงฆ์ เรียกว่า “ปฏิคคาหก” เป็นผู้เข้าไปรับวัตถุสิ่งของในพิธีนั้นๆ

การถวายทานนี้ นิยมทำ ๒ วิธี คือ
๑. ปฏิบุคลิกทาน คือ การถวายเจาะจงพระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง หากทายกทายิกา มีศรัทธาต่อรูปใดก็สามารถถวายได้โดยตรง เช่น ทำบุญตักบาตร
๒. สังฆทาน คือ การถวายยกให้เป็นของสงฆ์ ถือเป็นของส่วนรวม มีกิจกรรมให้พระสงฆ์ร่วมรับรู้ ผู้ที่ถวายทานชนิดนี้ จะได้รับอานิสงส์มาก เช่น การถวายสังฆทาน การถวายผ้าป่า การถวายผ้ากฐิน การถวายภัตตาหารเป็นต้น

ช่วงเวลาในการถวายทาน
๑. กาลทาน คือ ของที่ถวายได้ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น เช่น ภัตตาหารคาวหวาน ถวายได้เฉพาะเวลาเช้าถึงเที่ยงเท่านั้น (อาหารบิณฑบาต) ถวายผ้ากฐิน ก็ถวายได้ในระยะเวลา ๑ เดือนหลังออกพรรษา
๒. อกาลทาน คือ ของที่ถวายได้ไม่จำกัดกาลเวลา เช่น จีวร เสนาสนะ คิลานเภสัช (ยารักษาโรค) และทอดถวายผ้าป่า เป็นต้น

หลักการถวายทาน
เมื่อถึงเวลาที่ทายกได้นิมนต์พระสงฆ์ไว้แล้ว พึงปฏิบัติ ดังนี้
๑. จุดธูปเทียนที่หน้าโต๊ะหมู่หรือที่บูชาพระ
๒. อาราธนาศีล และสมาทานศีล
๓. ประนมมือกล่าวคำถวายทานๆ โดยการกล่าว “นโม...” ก่อน ๓ จบ
๔. ในตำราบางแห่งแสดงไว้ว่า ในขณะที่ทายกกล่าวคำถวายทาน ให้พระสงฆ์ประนมมือและเปล่งคำ “สาธุ” เมื่อทายกกล่าวจบ
๕. เมื่อกล่าวคำถวายเสร็จแล้ว ทายกพึงเข้าประเคนจตุปัจจัยหรือไทยธรรมที่เตรียมไว้
๖. พระสงฆ์พึงอนุโมทนา ด้วยบทตามลำดับ
          ก) ยถา...ฯ (ทายกเริ่มกรวดน้ำ)
          ข) สัพพีติโย...ฯ (ทายกประนมมือรับพร)
          ค) บทอนุโมทนาที่ควรแก่ทานนั้นๆ
          ง) ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง...ฯ
๗. เมื่อรับพรเสร็จแล้ว ทายกพึงกราบพระสงฆ์

หลักการถวายทาน ที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีหลักการดังนี้
๑. ก่อนถวายทาน มีจิตใจแช่มชื่นเบิกบาน ที่จะได้ถวายทาน
๒. ขณะถวายมีจิตใจยินดีเบิกบาน เคารพพระสงฆ์ และในทานวัตถุ
๓. หลังถวายเสร็จแล้ว มีจิตใจเบิกบาน ที่ได้ถวายทานแล้ว

คำถวายทานต่างๆ ดังนี้
คำถวายข้าวพระพุทธ
อิมัง สูปะพยัญชนะสัมปันนัง สาลีนัง โอทะนัง อุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิ.
ข้าพระเจ้าขอน้อมถวายข้าวสุขแห่งข้าวสาลี พร้อมแกงและกับข้าว พร้อมน้ำอันประเสร็จ แด่พระพุทธเจ้า

คำลาข้าวพระพุทธเจ้า
เสสัง มังคะลัง ยาจามิ
ข้าพระเจ้าขอรับส่วนที่เหลืออันเป็นมงคล

คำถวายสังฆทาน (เพื่อเป็นสิริมงคล)
อิมานิ มยํ ภนฺเต ภตฺตานิ, สปริวารานิ, ภิกฺสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, ภตฺตานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนามเทอญ.

คำถวายสังฆทาน (อุทิศให้แก่ผู้ตาย)
อิมานิ มยํ ภนฺเต มตกภตฺตานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, มตกภตฺตานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากญฺเจว, มาตาปิตุอาทีนญฺจ ญาตกานํ, กาลกตานํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย มตกภัตตาหารกับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ มตกภัตตาหารกับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลายมีมารดาบิดา เป็นต้น ผู้ทำกาละล่วงลับไปแล้วด้วย สิ้นกาลนาน เทอญ.

คำถวายผ้าวัสสิกสาฏิกะ
อิมานิ มยํ ภนฺเต, วสฺสิกสาฏิกานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงโฆ, อิมานิ, วสฺสิกสาฏิกานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าอาบน้ำฝนกับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ผ้าอาบน้ำฝนกับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ.

คำถวายผ้าจำนำพรรษา
อิมานิ มยํ ภนฺเต, วสฺสาวาสิกจีวรานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, วสฺสาวาสิกจีวรานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ หิตาย, สุขาย.

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าจำนำพรรษากับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ผ้าจำนำพรรษากับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และ ทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ

คำถวายผ้าป่า
อิมานิ มยํ ภนฺเต, ปํสุกูลจีวรานิ, สปริวารานิ, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ, อิมานิ, ปํสุกูลจีวรานิ, สปริวารานิ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าบังสุกุลจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ผ้าบังสุกุลจีวรทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ

คำถวายผ้ากฐิน
อิมํ ภนฺเต สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ, อิมํ, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, ปฏิคฺคเหตฺวา จ. อิมินา ทุสฺเสน, กฐินํ, อตฺถรตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้ แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับ ผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย รับแล้วจงกรานกฐิน ด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ

คำถวายดอกไม้ธูปเทียน (เพื่อบูชา)
อิมานิ มยํ ภนฺเต, ทีปธูปปุปฺผวรานิ, รตนตฺตยสฺเสว, อภิปูเชม, อมฺหากํ, รตนตฺตยาสฺส ปูชา, ทีฆรตฺตํ, หิตสุขาวหา, โหตุ, อาสวกฺขยปฺปตติยา.

ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลายผู้เจริฐ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาธูปเทียนและดอกไม้อันประเสริฐเหล่านี้ แก่พระรัตนตรัย กิริยาที่บูชาแก่พระรัตนตรัยนี้จงเป็นผลนำมาซึ่งประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาม จงเป็นไปเพื่อให้ถึงซึ่งพระนิพพาน เป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวกิเลส เทอญ

คำถวายกระทง (สำหรับลอยประทีป)
มยํ อิมิยา ปทีเปน, อสุกาย, นมฺมทาย, นทิยา, ปุลิเน ฐีตํ, มุนิโม, ปาทวลญฺชํ, อภิปูเชม, อยํ, ปทีเปน, มุนิโน ปาทาวลญฺชสฺส, ปูชา, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย, สํวตฺตตุ

ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชา ซึ่งรอยพระพุทธบาท ที่ตั้งอยู่เหนือหาดทรายในแม่น้ำชื่อนัมมทานทีโน้น ด้วยประทีปนี้ กิริยาที่บูชารอยพระพุทธบาท ด้วยประทีปนี้ขอจงเป็นไป เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ.

หมวดปกิณกะ ว่าด้วยพิธีเบ็ดเตล็ด
ปกิณกพิธี คือ พิธีกรรมหรือสิ่งที่ควรปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ในหมวดทั้ง ๓ (กุศลพิธี,บุญพิธี,ทานพิธี) ที่กล่าวมาข้างต้น ปกิณกพิธีมี ๕ พิธีการ คือ
๑. วิธีแสดงความเคารพพระ
๒. วิธีประเคนของพระ
๓. วิธีทำหนังสืออาราธนาและทำใบปรารถนาถวายจตุปัจจัย
๔. วิธีอารธนาศีล อาราธนาพระปริตร อาราธนาธรรม
๕. วิธีกรวดน้ำ
จะได้แสดงวิธีปฏิบัติต่อไปนี้ตามลำดับ

๑. วิธีแสดงความเคารพพระ
ความมุ่งหมายของการแสดงความเคารพพระสงฆ์ คือ การแสดงออกทางกายด้วยความเคารพ จริงใจ อ่อนน้อม ย่อมบ่งบอกถึงจิตใจที่เคารพนับถืออย่างสุดซึ่ง การแสดงความเคารพต่อพระพุทธรูป ปูชนียวัตถุ หรือ พระสงฆ์ ประกอบด้วยการแสดงออก ๓ วิธี คือ
ก. ประนมมือ (อัญชลี)
ข. ไหว้ (วันทา)
ค. กราบ (อภิวาท)

ประนามือ ตรงกับคำบาลีว่า "ทำอัญชลี" คือ การกระพุ่มมือทั้งสองประกบกัน นิ้วทุกนิ้วแนบชิดติดกัน ตั้งตรงขึ้นมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม ศอกทั้งสองข้างแนบชิดติดลำตัว นิยมใช้แสดงความเคารพพระสงฆ์ขณะนั่ง เช่น นั่งทำวัตรสวดมนต์ นั่งฟั่งพระสวดมนต์ นั่งฟังพระแสดงธรรม นั่งหรือยืนสนทนากับพระ

ไหว้ ตรงกับคำบาลีว่า "วันทา" หรือ “นมัสการ” คือ การยกมือที่ประนมขึ้น พร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย ให้มือประนมไว้จดหน้าผาก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว นิยมใช้แสดงความเคารพพระขณะยืน
เช่น ขณะพระสงฆ์เดินผ่านมา ขณะเดินผ่านพระพุทธรูปหรือปูชนียวัตถุ ขณะนั่งหรือรับพรจากพระสงฆ์

กราบ ตรงกับคำบาลีว่า "อภิวาท" คือ แสดงอาการกราบราบลงกับพื้นด้วย เบญจางคประดิษฐ์ คือการกราบทั้งองค์ ๕ (หน้าผาก ๑ ฝ่ามือ ๒ เข่า ๒) หน้าผากจดกับพื้น ฝ่ามือทั้งสองแบราบกับพื้น ให้หน้าผากอยู่ตรงกลางพอดี ศอกกับเข่าตรงกันทั้งสองข้าง สำหรับหญิงข้อศอกทั้งสองวางขนาบเข่า ระวังอย่าให้ก้นยกขึ้นสูง นิยมใช้กราบพระพุทธรูป กราบพระสงฆ์

การกราบเบญจางคประดิษฐ์สำหรับชาย
ให้นั่งคุกเข่าตั้งฝ้าเท้าชันขึ้น ใช้นิ้วเท้ายันพื้นไว้ นั่งทับลงบนเส้นเท้าทั้งคู่ ผายเข่าทั้งสองออกเล็กน้อย ประนมมืออยู่ในท่าเทพนม (ท่าอัญชลี) วันทา และอภิวาท ตามลำดับ

การกราบเบญจางคประดิษฐ์สำหรับหญิง
ให้นั่งคุกเข่าราบ ไม่ตั้งฝ่าเท้าชัน เหยียดฝ่าเท้าราบไปด้านหลัง ให้ปลายเท้าทับกันเล็กน้อย แล้วนั่งทับลงบนฝ่าเท้าทั้งสอง เข่าชิดกัน ประนมมือไว้ อยู่ในท่าเทพธิดา (อัญชลี) วันทา และ อภิวาท ตามลำดับ

๒. วิธีประเคนของพระ
การประเคน คือ การถวายของพระสงฆ์ให้ถึงมือด้วยความเคารพ ต้องเป็นของที่คนเดียวสามารถยกขึ้นได้ ไม่ใช่ “วัตถุอนามาส” คือของที่พระสงฆ์แตะต้องไม่ได้ เช่น เงิน ทอง สตรี เป็นต้น ถ้าเป็นภัตตาหารหรือของเคี้ยวของฉัน สามารถประเคนได้เฉพาะกาลเช้า ถึงเที่ยง นอกเวลานี้ไม่ควรนำมาประเคน การประเคนของพระสงฆ์ก็เพื่อป้องกันไม่ให้พระสงฆ์หยิบของที่ไม่ได้ถวายไปฉัน (ป้องกันการขโมยของ)

หลักการประเคนของ
๑. ของที่จะประเคนไม่ใหญ่เกินไป สามารถยกขึ้นจากพื้นได้คนเดียว
๒. ผู้ประเคนต้องเข้าไปใกล้กับพระสงฆ์ประมาณหนึ่งศอก (หัตถบาส)
๓. น้อมประเคนด้วยความเคารพนอบน้อม
๔. ประเคนด้วยมือสองข้าง หรือ มือข้างเดียว หรือของเนื่องด้วยกาย เช่น ใช้ทัพพีตักข้าวถวายก็ได้
๕. หากชายประเคนพระสงฆ์จะรับของด้วยมือ ถ้าเป็นหญิงประเคน พระสงฆ์จะใช้ผ้าทอดรับ หรือใช้ภาชนะ เช่น บาตร เป็นต้น
๖. ถ้าเป็นของใหญ่โตไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น กุฏิ วิหาร เป็นต้น ให้ใช้การรินน้ำถวาย (หลังน้ำทักษฺโณทก) หรือใช้สายสิญจน์โยงมอบถวายแทน

สิ่งควรรู้ สิ่งของบางอย่างไม่ต้องประเคน เช่น กระโถน จาน ช้อน แต่ภัตตาหารและน้ำดื่ม(น้ำปานะ) ต้องประเคน สำหรับของที่จะประเคนมอบให้พระสงฆ์ท่านจัดการเอง หากเผลอไปแตะต้อง ต้องประเคนใหม่ การประเคนต้องยกให้สูงขึ้นจากพื้นเล็กน้อย ห้ามเสือกใส หรือ ลากติดพื้นเข้าหาท่าน

พึงวางของลงบนผ้ากราบที่พระปูรับอยู่ข้างหน้า เสร็จแล้วพึงไหว้หรือกราบแล้วแต่
กรณี หนหนึ่งเป็นอันเสร็จการประเคน
หลักสำคัญของการประเคนนี้ ต้องแสดงออกด้วยความเคารพ ไม่ใช่
เสือกให้หรือทิ้งให้โดยไม่เคารพ

๓. วิธีทำหนังสืออาราธนาและใบปวารณาถวายจตุปัจจัย
การอาราธนา หรือ การเชื้อเชิญ หรือนิมนต์พระสงฆ์ไปประกอบพิธีต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา เช่น นิมนต์พระมาฉันเพลที่บ้าน นิมนต์มางานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น

แต่เดิมนิยมอาราธนาด้วยปากเปล่า แต่ปัจจุบันนิยมทำ “หนังสืออาราธนา” เพื่อแจ้งกำหนดงานและรายการต่างๆ ให้พระสงฆ์ทราบ เรียกว่า “ฏีกานิมนต์พระ

ตัวอย่างฏีกานิมนต์พระสงฆ์
ขออาราธนาพระคุณเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์ในวัดนี้อีก.........................รูป
เพื่อ...............................................................................(ระบุเหตุผลที่นิยม)
ในงาน.................................... ณ บ้านเลขที่ .................ชอย.......................
แขวง/ตำบล............................เขต/อำเภอ...................................................
จังหวัด...................................................................................................
วัน...................ที่.......เดือน...................พ. ศ.................เวลา....................น
ตรงกับวัน..........ค่ำ ปี.............................
หมายเหตุ..................................................(ระบุมีรถรับ-ส่ง หรือให้นำปิ่นโตมาด้วย)
ลงชื่อ.................................................. เจ้าภาพ
วันที่................................./ ............................../ ...................................

การทำใบปวาณา
ในพิธีกรรมต่างๆ มักถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระสงฆ์ นอกจากนั้นยังมีการถวายปัจจัย (เงิน) อีกด้วย จึงนิยมทำเป็น “ใบปวารณา” แทน เพื่อไม่ให้ขัดต่อพระธรรมวินัย ซึ่งระบุว่า พระสงฆ์ห้ามแตะต้องเงินทองของมีค่าต่างๆ

ตัวอย่างใบปวารณาถวายจตุปัจจัย
ข้าพเจ้า ขอถวายปัจจัยอันควรแก่สมณบริโภคแด่พระคุณเจ้า
เป็นจำนวนเงิน .................. บาท .............สตางค์

หากพระคุณเจ้าต้องการสิ่งอันควรแก่สมณบริโภคแล้ว
ขอเรียกร้องจากกัปปิยการกของพระคุณเจ้า เทอญฯ


อาราธนาต่างๆ
การอาราธนา หรือ นิทนต์พระสงฆ์ให้มาประกอบพืฃิธีกรรมนั้น สมณกิจของพระสงฆ์ที่เนื่องด้วยพิธีกรรมมี ๓ ประการ คือ
๑. ให้ศีล
๒. สวดพระปริตร
๓. แสดงธรรม

หลักการอารธนา
หากพระสงฆ์ “นั่งบนอาสนะสูง” มากกว่าเจ้าภาพและผู้มาร่วมางาน ผู้อาราธนาหรือพิธีกรเดินเข้าไปยืนระหว่างเจ้าภาพกับพระสงฆ์รูปที่ ๓ หรือ ๔ ห่างจากพระสงฆ์พอสมควร หันหน้าไปทางโต๊ะหมู่บูชา ประนมมือไหว้พระพุทธรูปก่อน แล้วหันหน้าเข้าหาพระสงฆ์กล่าวคำอารธาน

หากในพิธีกรรมมี “การแสดงธรรมก่อนสวดมนต์” ให้อาราธนาศี อาราธนาธรรมและอารธนาพระปริตร ตามลำดับ แต่หากมี “การแสดงธรรมหลังสวดมนต์” ให้อาราธนาพระปริตรก่อน แล้วจึงอาราธนาศีล อาราธนาธรรม ตามลำดับในพิธีกรรมปกติ เช่น ทำบุญถวายภัตตาหาร หรือสังฆทาน เป็นต้น ให้อาราธนาศีลเท่านั้น

คำอาราธนาศีล ๕
มะยัง ภันฺเต วิสุง วิสุง รักฺขะณัตฺถายะ ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญฺจะ สีลานิ ยาจามะ.
ทุติยัมฺปิ ภันฺเต วิสุง วิสุง รักฺขะณัตฺถายะ ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญฺจะ สีลานิ ยาจามะ.
ตติยัมฺปิ ภนฺเต วิสุง วิสุง รักฺขะณัตฺถายะ ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญฺจะ สีลานิ ยาจามะ.

คำอาราธนพระปริตร
วิปตฺติปฏิพาหาย  สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา,
สพฺพทุกฺขวินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ.
วิปตฺติปฏิพาหาย  สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา,
สพฺพภยวินาสาย  ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ.
วิปตฺติปฏิพาหาย  สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา,
สพฺพโรควินาสาย  ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ.

คำอาราธนาธรรม
พฺรหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปติ, กตฺอญฺชลี อนธิวรํ อยาจถ
สนฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา, เทเสตุ ธมฺมํ อนฺกมฺปิมํ ปชํ.

๕. วิธีกรวดน้ำ
การกรวดน้ำ คือ การแผ่ส่วนบุญด้วยวิธีส่งน้ำ หมายถึงการตั้งใจอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ เช่น มารดาบิดา ญาติพี่น้อง เป็นต้นโดยการใช้น้ำเป็นสื่อแทนความจริงใจและความดี ที่อุทิศให้ซึ่งเป็นพิธีทำมาช้านานแล้ว เช่น พระเจ้าพิมพิสารหลั่งน้ำทักษิโณทกอุทิศส่วนบุญให้กับญาติที่เป็นเปรต

ทุกครั้งที่ได้ทำความดีเช่น ถวายทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนา เป็นต้น ควรแผ่บุญกุศลนี้ให้กับสรรพสัตว์ ประเพณีนิยมที่ทำในปัจจุบันนี้ คือ การเตรียมภาชนะใส่น้ำให้พร้อม ในขณะที่พระสงฆ์เริ่มอนุโมทนาด้วยบทว่า “ยถา วาริวะหา...” ให้เริ่มรินน้ำในภาชนะที่เตรียมไว้รองน้ำ มือขวาจับภาชนะใส่น้ำ รินน้ำลงอย่าให้ขากสาย

การรินน้ำให้เริ่มเมื่อพระสงฆ์ประธานเริ่มบทว่า “ยถา วาริวะหา...” เมื่อพระสงฆ์ประธานกล่าวถึงบทว่า “มณิโชติระโส ยะถา” ให้รินน้ำลงให้หมด แล้วนั่งประนมมือรับพรต่อไป

เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ให้นำน้ำที่รินใส่ภาชนะไปเทใต้ต้นไม้ใหญ่หรือพื้นที่สะอาด

คำกรวดน้ำแบบสั้น
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ, สุขิตา โหนฺตุ ญาตะโย
ขอบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงเป็นสุขๆ เถิด




๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙
เลือกอ่าน ธรรมศึกษาชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก
ตามลิงค์ด้านล่าง
ธรรมศึกษาชั้นตรี
ธรรมศึกษาชั้นโท
ธรรมศึกษาชั้นเอก
๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น