วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

214 วิชา วินัย (อุโบสถศีล) ธรรมศึกษาชั้นโท





อุโบสถศีลมี    ประการ

          ๑.ปกติอุโบสถ  ได้แก่ อุโบสถที่รับรักษากันตามปกติ  เฉพาะวันหนึ่งคืนหนึ่งอย่างที่อุบาสกอุบาสิการักษากันอยู่ทุกวันนี้  มีเดือนละ    วัน  คือ  วันขึ้น    ค่ำ  วันขึ้น  ๑๕  ค่ำ วันแรม    ค่ำ  วันแรม  ๑๔  ค่ำ  หรือ  ๑๕  ค่ำ

          ๒. ปฏิชาครอุโบสถ  ได้แก่  อุโบสถที่รับรักษาเป็นพิเศษกว่าปกติ   คือ รักษาคราวละ    วัน  คือวันรับวันรักษา  และวันส่ง  เช่นจะรับอุโบสถวัน    ค่ำ ต้องรับและรักษามาแต่วัน    ค่ำ  ตลอดไปจนถึงวัน  ๙ ค่ำ  จนได้อรุณใหม่ของวัน  ๑๐  ค่ำนั่นเองจึงหยุดรักษา

          ๓. ปาฏิหาริยอุโบสถ  ได้แก่  อุโบสถที่รับรักษาตลอด    เดือนฤดูฝน คือตั้งแต่วันแรม ๑  ค่ำ  เดือน    จนถึงวันเพ็ญกลางเดือน  ๑๒

 

อุโบสถศีลมี    สิกขาบท

          ๑. ปาณาติปาตา  เวรมณี  สิกขาปทํ   สมาทิยามิ

          ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท  คือ  เว้นจากฆ่าสัตว์ด้วยตนเองและใช้ผู้อื่นให้ฆ่า

          ๒. อทินนาทานา  เวรมณี  สิกขาปทํ  สมาทิยามิ

          ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือ  เว้นจากลักฉ้อของเขาด้วยตนเอง  และ ใช้ผู้อื่นให้ลักฉ้อ

          ๓. อพรหทจริยา  เวรมณี  สิกขาปทํ  สมาทิยามิ

          ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท  คือ  เว้นจากประพฤติอสัทธรรม  เป็นข้าศึกแก่ พรหมจรรย์

          ๔. มุสาวาทา  เวรมณี  สิกขาปทํ  สมาทิยามิ

          ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท  คือ  เว้นจากพูดเท็จคำไม่จริง  ล่อลวงอำพรางท่านผู้อื่น

          ๕. สุราเมรยมชชปมาทฏฐานา  เวรมณี  สิกขาปทํ  สมาทิยามิ

          ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท  คือ  เว้นจากเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ  ดื่มกินซึ่งน้ำเมาคือสุราและเมรัย  และเครื่องดองที่เป็นของทำใจให้คลั่งไคล้ต่าง ๆ

          ๖. วิกาลโภชนา  เวรมณี  สิกขาปทํ  สมาทิยามิ

          ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือ  เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาลคือตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงเวลาอรุณขึ้นใหม่

          ๗. นจจคีตวาทิตวิสูกทสสนา  มาลาคนธวิเลปนธารณมณฑนวิภูสนฏฐานา  เวรมณี สิกขาปทํ  สมาทิยามิ

          ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือ  เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง  ประโคม เครื่องประโคมต่าง ๆ ดูการเล่นแต่บรรดาที่เป็นข้าศึกแก่กุศล  และลูบทาทัดทรงประดับตกแต่งซึ่งร่างกาย ด้วยระเบียบดอกไม้และของหอม  เครื่องทาเครื่องย้อม ผัดผิวต่าง ๆ

          ๘. อุจจาสยนมหาสยนา  เวรมณี  สิกขาปทํ  สมาทิยามิ

          ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือ  เว้นจาก

 

อธิบายอุโบสถศีล ๘ ข้อ โดยสังเขป

          สิกขาบทที่    เว้นจากทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง คือ เว้นจากฆ่าสัตว์มีชีวิต  คำว่า สัตว์  ในที่นี้  ประสงค์ทั้งมนุษย์และเดียรฉานยังเป็นอยู่ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกชนิด

          สิกขาบทนี้มีองค์ ๕  คือ  สัตว์มีชีวิต    รู้ว่าสัตว์มีชีวิต  ๑ จิตคิดจะฆ่า ๑ พยายามฆ่า    สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น 

 

          สิกขาบทที่    เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้  กิริยาที่ถือเอาในที่นี้  หมายถึง      ถือเอาด้วยอาการเป็นโจร   สิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ในที่นี้  หมายถึง  สิ่งของที่มีเจ้าของ  ทั้งที่เป็นสวิญญาณกทรัพย์   ทั้งที่เป็นอวิญญาณกทรัพย์  อันเจ้าของไม่ได้ยกให้เป็นสิทธิ์ขาด  อย่างหนึ่งสิ่งของที่ไม่ใช่ของใคร   แต่มีผู้รักษาหวงแหน เช่น ของสงฆ์  ของส่วนรวมอันเป็นสาธารณะประโยชน์ อย่างหนึ่ง

          สิกขาบทนี้มีองค์ ๕  คือ  ของมีเจ้าของหวง    รู้ว่ามีเจ้าของหวง  ๑ จิตคิดจะลัก ๑พยายามลัก  ๑ นำของมาด้วยความพยายามนั้น 

 

          สิกขาบทที่    เจตนาเป็นเหตุก้าวล่วงฐานะ  โดยประสงค์จะเสพอสัทธรรม ซึ่งเป็นไปทางกายทวาร   ชื่อว่า  อพรหมจรรย์   ได้แก่   ความลุอำนาจแก่ราคะแล้วเสพอสัทธรรมในมรรคใดมรรคหนึ่ง  บรรดามรรคทั้ง   (ทวารหนัก  ทวารเบา  ปาก)

          สิกขาบทนี้มีองค์ ๔  คือ  อัชฌาจรณียวัตถุ  วัตถุที่จะพึงประพฤติล่วง (มรรคทั้ง ๓) ๑จิตคิดจะเสพในอัชฌาจรณียวัตถุนั้น  ๑ ความพยายามในการเสพ    มีความยินดี 

 

          สิกขาบทที่    การแสดงความเท็จ  เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิด  คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง  ทางกายก็ดี  ทางวาจาก็ดี  จัดเป็นมุสาวาท

          สิกขาบทนี้มีองค์    คือ เรื่องไม่จริง ๑ จิตคิดจะพูดให้ผิด ๑ พยายามพูดออกไป ๑คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น 

 

          สิกขาบทที่    น้ำเมาที่เป็นแต่เพียงของดอง  เช่น  น้ำตาลเมาต่าง ๆ ชื่อเมรัย เมรัยนั้น  เขากลั่นให้เข้มข้นขึ้นไปอีก  เช่น  เหล้าต่าง ๆ  ชื่อสุรา  สุราเมรัยนี้  ทำให้ผู้ดื่มเมาเสียสติ      สามารถทำความชั่วได้ทุกอย่าง  จึงได้ชื่อว่า  เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

          สิกขาบทนี้มีองค์    คือ ของทำให้เมา  มีสุราเป็นต้น ๑ จิตใคร่จะดื่ม ๑ ทำพยายามดื่ม    ดื่มให้ล่วงลำคอเข้าไป 

 

          สิกขาบทที่  กาลที่ผู้รักษาอุโบสถศีลจะบริโภคอาหารได้ คือ  ตั้งแต่อรุณขึ้นมาแล้วจนถึงเที่ยง เรียกว่า กาล  ส่วนตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงก่อนอรุณขึ้น เรียกว่า วิกาล จะบริโภคอาหารในเวลานี้ไม่ได้

          สิกขาบทนี้มีองค์ ๔ คือ  เวลาตั้งแต่เที่ยงแล้วไปถึงก่อนอรุณขึ้น ๑ ของเคี้ยวของกินสงเคราะห์เข้าในอาหาร    พยายามกลืนกิน ๑  กลืนให้ล่วงลำคอเข้าไป  ด้วยความพยายามนั้น 

 

          สิกขาบทที่    การดูที่ชื่อว่าเป็นข้าศึกศัตรูนั้น  เพราะขัดแย้งต่อคำสอนของศาสนา การฟ้อนรำ  การขับร้อง  การดีดสีตีเป่า  จะทำด้วยตนเอง  หรือใช้ให้ผู้อื่นทำก็ตาม  ถ้าเป็นข้าศึกแก่กุศล  จัดเป็นความผิดในสิกขาบทนี้ทั้งสิ้น

          สิกขาบทนี้มีองค์ ๓ คือ  การเล่นมีฟ้อนรำขับร้องเป็นต้น  ๑ ไปเพื่อจะดูหรือฟัง ๑ ดูหรือฟัง 

 

          สิกขาบทที่     การห้ามที่นั่งที่นอนอันเกินขนาด  อันได้ชื่อว่า  อุจจาสยนะ และเครื่องปูลาดที่ไม่สมควร  อันได้ชื่อว่า  มหาสยนะ นั้น  เพื่อประสงค์ไม่ให้เป็นของโอ่โถงและยั่วยวนให้เกิดราคะความกำหนัดยินดี  พระอรหันต์ทั้งหลาย  เป็นผู้เว้นจากที่นั่งที่นอนสูงและที่นั่งที่นอนใหญ่นั้น

          สิกขาบทนี้มีองค์    คือ  ที่นั่งที่นอนสูงใหญ่    รู้ว่าที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ ๑ นั่งหรือนอนลง 

 

วิธีสมาทานอุโบสถศีล

          พระอรรถกถาจารย์  กล่าวไว้ว่า   ในอรรถกถาอุโบสถสูตรว่า   บุคคลผู้จะเข้าจำอุโบสถศีลนั้น พึงตั้งใจว่า  พรุ่งนี้เราจักรักษาอุโบสถ  ตรวจตราการทำอาหารเป็นต้นเสียแต่ในวันนี้  สั่งการงานให้เรียบร้อยว่า  ท่านทั้งหลายจงทำสิ่งนี้และสิ่งนี้

          ในวันอุโบสถ  พึงเปล่งวาจาสมาทานองค์อุโบสถ  ในสำนักของภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสกหรืออุบาสิกาก็ได้   ซึ่งเป็นผู้รู้จักลักษณะของศีล   ๑๐  แต่เช้าตรู่   ถ้าไม่รู้บาลี  พึงอธิษฐานว่าข้าพเจ้าอธิษฐานอุโบสถที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้  เมื่อไม่ได้ผู้อื่น  พึงอธิฐานด้วยตนเองก็ได้ แต่ควรทำการเปล่งวาจาโดยแท้  เมื่อเข้าจำอุโบสถแล้ว  ไม่ควรจัดแจงการงานที่เกี่ยวกับการเบียดเบียนผู้อื่น  ควรให้เวลาผ่านไปด้วยการนับอายุและวัย

          ส่วนพระฎีกาจารย์อธิบายว่า  ตั้งแต่สมาทานศีลแล้ว  ผู้รักษาอุโบสถไม่ควรทำกิจอะไรอย่างอื่น  ควรให้เวลาผ่านไปด้วยการฟังธรรม   หรือมนสิการกรรมฐาน

 

ระเบียบพิธี

เมื่อถึงวันอุโบสถ    ค่ำ  ๑๔  ค่ำ  หรือ ๑๕  ค่ำ พึงเริ่มกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยว่า

          ยมหํ  สมมาสมพุทธํ  ภควนตํ  สรณํ  คโต  (หญิงว่า  คตา)

          พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ตรัสรู้ดีโดยชอบ ข้าพเจ้าถึงแล้วว่าเป็นที่พึ่ง กำจัดภัยได้จริง

          อิมินา  สกกาเรน  ตํ  ภควนตํ  อภิปูชยามิ

          ข้าพเจ้าขอบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นด้วยเครื่องสักการะนี้

          ยมหํ  สวากขาตํ  ภควตา  ธมมํ  สรณํ  คโต (หญิงว่า  คตา)

          พระธรรมใดอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้าถึงแล้วว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง

          อิมินา  สกกาเรน  ตํ  ธมมํ  อภิปูชยามิ

          ข้าพเจ้าบูชาซึ่งพระธรรมนั้น  ด้วยเครื่องสักการะนี้    

          ยมหํ  สุปฏิปนนํ  สงฆํ  สรณํ  คโต    (หญิงว่า  คตา)

          พระสงฆ์หมู่ใด  เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้าถึงแล้วว่าเป็นที่พึ่ง กำจัดภัยจริง

          อิมินา  สกกาเรน  ตํ  สงฆํ  อภิปูชยามิ

          ข้าพเจ้าบูชาซึ่งพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเครื่องสักการะนี้

          อรหํ    สมมาสมพุทโธ  ภควา  พุทธํ  ภควนตํ อภิวาเทมิ  (กราบ)

          สวากขาโต  ภควตา  ธมโม  ธมมํ  นมสสามิ   (กราบ)

          สุปฏิปนโน  ภควโต  สาวกสงโฆ  สงฆํ  นมามิ  (กราบ)

 

ต่อจากนั้น  ผู้เป็นหัวหน้า  พึงนั่งคุกเข่าประนมมือ  ประกาศอำอุโบสถ  ดังนี้

          อชช  โภนโต  ปกขส  อฏฐมีทิวโส (๑๔ ค่ำ ให้ว่า จาตุททสีทิวโส  ๑๕  ค่ำ ให้ว่า  ปณณรสีทิวโส ,  (อมาวสีทิวโส)  เอวรูโป  โข  โภนโต  ทิวโส  พุทเธน  ภควตา  ปญญตตส     ธมมสสวนส   เจว ตทตถาย  อุปาสกอุปาสิกานํ   อุโปสถกมมส    กาโล  โหติ ฯ  หน     มยํ  โภนโต  สพเพ  อิธ  สมาคตา  ตส  ภควโต  ธมมานุธมมปฏิปตติยา   ปูชนตถาย   อิมญ      รตตึ  อิมญ  ทิวสํ  อุโปสถํ  อุปวสิสสามาติ  กาลปริจเฉทํ กตวา  ตํ ตํ  เวรมณึ  อารมมณํ กริตวา      อวิกขิตตจิตตา  หุตวา  สกกจจํ  อุโปสถงคานิ   สมาทิเยยยาม  อีทิสํ  หิ  อุโปสถกาลํ  สมปตตานํ      อมหากํ   ชีวิตํ  มา  นิรตถกํ  โหตุ ฯ

          ข้าพเจ้า ขอประกาศเริ่มเรื่องความที่จะได้สมาทานรักษาอุโบสถ  ตามกาลสมัยพร้อมด้วยองค์ ๘  ประการ  ให้สาธุชนที่จะตั้งจิตสมาทานทราบทั่วกัน  ก่อนแต่จะสมาทาน    บัดนี้

          ด้วยวันนี้ เป็นวันอัฏฐมี ดิถีที่ ๘ (วันจาตุททสี  ดิถีที่ ๑๔  วันปัณณรสี , (วันอมาวสี     ดิถีที่  ๑๕ ) แห่งปักษ์มาถึงแล้ว  ก็แลวันเช่นนี้  เป็นกาลที่จะฟังธรรมและทำการรักษาอุโบสถ      เพื่อประโยชน์แห่งการฟังธรรม   บัดนี้ขอกุศลอันยิ่งใหญ่  คือ ตั้งจิตสมาทานอุโบสถ  จงเกิดมีแก่เราทั้งหลาย  บรรดามาประชุม     ที่นี้  เราทั้งหลายพึงมีจิตยินดีว่าจะรักษาอุโบสถ  อันประกอบด้วยองค์    ประการ  วันหนึ่งคืนหนึ่ง    เวลาวันนี้แล้ว  จงตั้งจิตคิดงดเว้นไกลจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป คือฆ่าสัตว์เองและใช้ให้คนอื่นฆ่า ๑ เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ คือลักและฉ้อและใช้ให้ลักฉ้อ ๑  เว้นจากอพรหมจรรย์    เว้นจากพูดคำเท็จคำไม่จริง  และล่อลวงอำพรางท่านผู้อื่น ๑  เว้นจากดื่มกินซึ่งสุราเมรัย  สารพัดน้ำกลั่นน้ำดอง  อันเป็นของให้ผู้ดื่มแล้วเมา ซึ่งเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความประมาท ๑  เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล

          ตั้งแต่พระอาทิตย์เที่ยงแล้ว ไปจนถึงเวลาอรุณขึ้นใหม่    เว้นจากฟ้อนรำขับร้องและประโคมดนตรี  และดูการเล่นบรรดาเป็นข้าศึกแก่กุศล  และทัดทรงระเบียบดอกไม้  ลูบไล้ทาตัวด้วยของหอม  เครื่องย้อมเครื่องแต่งและประดับร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์วิจิตรงดงามต่าง ๆ    เว้นจากนั่งนอนเหนือที่นั่งที่นอนอันสูง      มีเตียงตั่งสูงกว่าประมาณ  และที่นั่งที่นอนอันใหญ่ภายในมีนุ่นและสำลี  และเครื่องลาดอันวิจิตรงดงาม    จงทำความเว้นองค์ที่จะพึงเว้น    ประการนี้  เป็นอารมณ์  อย่ามีจิตฟุ้งซ่านส่งไปอื่น    จงสมทานองค์อุโบสถ ๘ ประการนี้โดยเคารพเถิดเพื่อบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  ด้วยข้อปฏิบัติอย่างยิ่ง   ตามกำลังของเราทั้งหลาย  ซึ่งเป็นคฤหัสถ์  ชีวิตแห่งเราทั้งหลายเป็นมาถึงวันอุโบสถนี้  จงอย่าล่วงไปปราศจากประโยชน์เลย

          ต่อจากนั้น  พึงกล่าวคำอาราธนาอุโบสถศีลพร้อมกัน  ดังนี้

          มยํ  ภนเต  ติสรเณน  สห  อฏฐงคสมนนาคตํ   อุโปสถํ  ยาจาม  (ว่า    จบ)

          เสร็จแล้ว  พึงตั้งใจรับสรณคมน์และอุโบสถศีลโดยเคารพ โดยว่าตามคำที่พระสงฆ์บอกดังนี้

          นโม   ตสส   ภควโต  อรหโต  สมมาสมพุทธสส  (ว่า    จบ)

          พุทธํ  สรณํ  คจฉามิ ฯลฯ ตติยมปิ  สงฆํ  สรณํ  คจฉามิ 

 

          เมื่อพระสงฆ์ว่า  ติสรณคมนํ  นิฏฐิตํ   พึงรับพร้อมกันว่า  อาม  ภนเต ต่อจากนั้น      พึงรับอุโบสถศีลทั้ง     ข้อ  ดังกล่าวไว้แล้วข้างต้นต่อไปนี้

          เมื่อรับศีลจบแล้ว  พึงกล่าวตามพระสงฆ์ว่า  อิมํ  อฏฐงคสมนนาคตํ,  พุทธปญญตตํ  อุโปสถํ,     อิมญ  รตตึ  อิมญ  ทิวสํ,    สมมเทว  อภิรกขิตํ     สมาทิยามิ

          ข้าพเจ้าสมาทานอุโบสถ ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ,      นี้เพื่อจะรักษาไว้ให้ดี ไม่ให้ขาดไม่ให้ทำลาย  ตลอดวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ณ  เวลาวันนี้ พระสงฆ์บอกต่อว่า  อิมานิ  อฏ  สิกขาปทานิ  อชเชกํ  รตตินทิวํ  อุโปสถวเสน  สาธุกํ  รกขิตพพานิ  ให้รับพร้อมกันว่า  อาม  ภนเต  แล้วพระสงฆ์จะบอกอานิสงส์ของศีลต่อไป  ดังนี้

          สีเลน สุคตึ  ยนติ,  สีเลน  โภคสมปทา,  สีเลน  นิพพุตึ ยนติ,  ตสมา  สีลํ  วิโสธเยฯ

          จบพิธีสมาทานอุโบสถศีลเพียงเท่านี้  ต่อจากนั้น  พึงตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาหรือมนสิการกรรมฐานต่อไปนี้  เมื่อรักษาครบเวลาวันหนึ่งกับคืนหนึ่งแล้ว  การสมาทานก็สิ้นสุดลง

อุโบสถศีลมีผลน้อยและมีผลมาก

การบำเพ็ญบุญกุศลในพระพุทธศาสนา  แบ่งออกเป็น ๓  ระดับ คือ

อย่างต่ำ  อย่างกลาง   และอย่างสูง

การทำบุญด้วยฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  และวิมังสาอย่างต่ำ  จัดเป็นบุญอย่างต่ำ

การทำบุญด้วยฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  และวิมังสาอย่างกลาง  จัดเป็นบุญอย่างกลาง

การทำบุญด้วยฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  และวิมังสาอย่างสูง  จัดเป็นบุญอย่างสูง

การทำบุญเพราะต้องการชื่อเสียง      จัดเป็นบุญอย่างต่ำ

การทำบุญเพราะต้องการผลบุญ       จัดเป็นบุญอย่างกลาง

การทำบุญเพราะสำคัญว่าเป็นสิ่งควรทำ      จัดเป็นบุญอย่างสูง

 

อุโบสถมี    อย่าง คือ

          ๑. โคปาลกอุโบสถ หมายถึง อุโบสถที่อุบาสกอุบาสิการักษา มีอาการเหมือนคนเลี้ยงโค       ทรงอธิบายว่า  คนเลี้ยงโค  มอบโคทั้งหลายให้เจ้าของในเวลาเย็นแล้วคำนึงอย่างนี้  วันนี้ โคเที่ยวหากินในที่โน้น ๆ  ดื่มน้ำในที่โน้น ๆ  ทีนี้  พรุ่งนี้ โคจักเที่ยวหากินในที่โน้น ๆ  จักดื่มน้ำในที่โน้น ๆ      ฉันใด  คนรักษาอุโบสถบางคน  ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คำนึงไปอย่างนี้ว่า  วันนี้นะ เราเคี้ยวกินขาทนียะสิ่งนี้ ๆ บริโภคโภชนียะสิ่งนี้ ๆ  พรุ่งนี้  เราจักเคี้ยวกินขาทนียะสิ่งนี้ ๆ  จักบริโภคโภชนียะสิ่งนี้ ๆ  คนรักษาอุโบสถ  ผู้นั้นมีใจไปกับความยาก  ใช้วันให้หมดไปด้วยความอยากนั้น  การรักษาอุโบสถเช่นนี้  ย่อมไม่มีผลมาก  ไม่มีอานิสงส์มาก  ดังเรื่องเล่าของคนถือศีลไปเกิดเป็นเปรต  แต่คนตกเบ็ดได้ขึ้นสวรรค์ ว่า

 

๑. โคปาลกอุโบสถ

          ในอุโบสถ  มีคนกลุ่มหนึ่งไปถือศีลอยู่บนศาลาวัด  ส่วนคนอีกคนหนึ่งไปนั่งตกปลาอยู่ที่ฝั่งคลองตรงข้ามศาลา  วันนั้นปลากินเบ็ดดี  คนตกเบ็ดวัดเอา ๆ  ได้ปลามาก  คนถือศีลอยู่บนศาลา  มองไปที่คนตกปลา ก็เกิดความโลภอยากได้ปลา นึกว่าทำไมวันนี้ต้องเป็นวันอุโบสถถ้าไม่เช่นนั้นคงได้ปลากับเขาบ้าง จิตใจคิดถึงแต่ปลา ไม่เป็นอันคิดถึงศีล  คิดถึงกรรมฐาน  และฟังธรรมเลย      ฝ่ายคนตกปลามองไปบนศาลาวัดเห็นคนนุ่งขาวห่มขาวถือศีลกัน แต่ตัวเองต้องมานั่งตกปลาไม่รู้จักว่าวันโกนวันพระ  เกิดหิริโอตตัปปะ  กลับไปถึงบ้าน  หยุดการทำบาป  เกิดสัมปัตตวิรัติขึ้นมาใจเลยสบาย  ส่วนคนถือศีล  ร้อนรนไปด้วยความโลภ  เร่งวันเวลา  ใจจึงมีแต่ความทุกข์   คนขึ้นสวรรค์คือคนที่ใจมีความสุข   คนตกนรกคือคนที่ใจมีแต่ความทุกข์  ดังคำพูดที่ว่า  สวรรค์อยู่ในอกนรกอยู่ในใจ  การปฏิบัติอย่างนี้  ย่อมไม่เกิดประโยชน์อะไร  เพราะจิตใจไม่เข้าถึงธรรมเลย

๓. อริยอุโบสถ

          หมายถึง  อุโบสถที่อุบาสกอุบาสิการักษา  ประเสริฐพิเศษโดยข้อปฏิบัติ  ทรงอธิบายว่า  จิตของมนุษย์ที่เศร้าหมองด้วยอำนาจกิเลสนี้  สามารถชำระล้างให้สะอาดได้ด้วยความเพียร  เหมือนศีรษะที่เปื้อน  ทำให้สะอาดได้ด้วยเครื่องสนานศีรษะ  ร่างกายที่เปื้อน  ทำให้สะอาดได้ด้วยเครื่องชำระล้างร่างกาย  ผ้าที่สกปรก  ฟอกให้สะอาดได้ด้วยเครื่องซักผ้า  แว่นที่มัวหมองทำให้ใสได้ด้วยน้ำมัน  ทองคำที่หมองคล้ำ ทำให้สุกปลั่งได้ด้วยเครื่องมือของช่างทองและสิ่งที่จะทำจิตอันเศร้าหมองให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้วได้นั้น  คือ

.         ๑. พุทธานุสสติ         ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า

          ๒. ธัมมานุสสติ         ระลึกถึงคุณความดีของพระธรรม

          ๓. สังฆานุสสติ                   ระลึกถึงความดีของพระสงฆ์

          ๔. สีลานุสสติ            ระลึกถึงศีลของตน

          ๕. เทวตานุสสติ        ระลึกถึงความดีที่ทำให้เป็นเทวดา มี ศรัทธา   ศีล สุตะจาคะ  และ  ปัญญา  เป็นต้น

 

อานิสงส์ของอุโบสถศีล

          ศีลทุกประเภทที่บุคคลรักษาด้วยจิตศรัทธา  จะด้วยการสมาทาน  หรือการงดเว้นเฉพาะหน้าก็ตาม  ย่อมมีผลมาก   มีอานิสงส์มาก   มีความรุ่งเรืองมาก  มีความเจริญแผ่ไพศาลมาก  เพราะศีลนั้น  สามารถสร้างสวรรค์   สร้างความเสมอภาค และสร้างความปลอดภัยให้แก่มนุษย์ได้

๑. ศีลสร้างสวรรค์แก่มนุษย์

          ศีลนั้น  สามารถสร้างสวรรค์แก่มนุษย์ได้  ดังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแก่นางวิสาขา  ในวิสาขาสูตร  อัฏฐกนิบาต  อังคุตตรนิกาย  ว่า

          ดูก่อนวิสาขา  อุโบสถประกอบด้วยองค์    ประการ  อันบุคคลเข้าจำแล้ว ย่อมมีอานิสงส์มาก  มีผลมาก  มีความรุ่งเรืองมาก  มีความเจริญแผ่ไพศาลมาก  ดูก่อนวิสาขา  การที่สตรี  หรือบุรุษบางคนในโลกนี้  เข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์    ประการ  หลังจากเขาแตกกายทำลายขันธ์แล้ว  พึงได้อยู่ร่วมกับชาวสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกา  ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิตชั้นนิมมานรดี  และชั้นปรนิมมิตวสวัสดี  ข้อนั้นย่อมเป็นไปได้แน่นอน

๒. ศีลนั้นสร้างความเสมอภาคแก่มนุษย์ได้

          ศีลนั้นสร้างความเสมอภาคแก่มนุษย์ได้  ดังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับอุบาสกชื่อว่า  วาเสฏฐะ  ในอัฏฐกนิบาต  อังคุตตรนิกาย  ว่า

          ดูก่อนวาเสฏฐะ  แม้ถ้ากษัตริย์ทั้งหลาย   พราหมณ์ทั้งหลาย   แพศย์ทั้งหลายและศูทรทั้งหลาย  พึงเข้าจำอุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์    ประการ การเข้าจำนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์  เพื่อความสุข  แก่กษัตริย์  แก่พราหมณ์  แก่แพศย์   และแก่ศูทรทั้งหลาย  เหล่านั้น  ชั่วกาลนานเหมือนกัน  (คือได้ไปเกิดในสุคติได้เท่าเทียมกัน)

๓. ศีลสร้างความปลอดภัยแก่มนุษย์

          ศีล  สร้างสวรรค์ให้แก่มนุษย์  สร้างความเสมอภาคให้แก่มนุษย์  สร้างความปลอดภัยให้แก่มนุษย์  และให้สมบัติที่นาปรารถนาแก่มนุษย์  ตามที่กล่าวมาจึงควรรักษาศีลให้ดี  มิให้ขาดมิให้ด่างพร้อย

วิธีปฏิบัติตนของอุบาสก  อุบาสิกา

          บุคคลผู้สมาทานอุโบสถศีล  จัดว่าเป็นผู้ใกล้ชิดพระรัตนตรัย  เป็นบุรุษ เรียกว่า อุบาสก  เป็นสตรีเรียกว่า  อุบาสิกา ตามคำประกาศอุโบสถว่า  ตทตถาย  อุปาสกอุปาสิกานํ        อุโปสถกมมสส   กาโล   โหติ  แปลว่า  วันนี้  เป็นเวลาที่จะรักษาอุโบสถ  แห่งอุบาสก  และอุบาสิกา  เพื่อประโยชน์แก่การฟังธรรมนั้น



๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙
เลือกอ่าน ธรรมศึกษาชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก
ตามลิงค์ด้านล่าง
ธรรมศึกษาชั้นตรี
ธรรมศึกษาชั้นโท
ธรรมศึกษาชั้นเอก
๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น