วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2560

112 วิชา ธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี



บทนำ
                  
มนุษย์ทุกรูปทุกนาม  ล้วนปรารถนาความสุขด้วยกันทั้งนั้น  และเป็นที่รับรองต้องกันของวิญญูชนว่า  เหตุหรือทางมาแห่งความสุขของมนุษย์นั้น  ที่สำคัญมี ๓  อย่าง  คือ  ๑. วิชาความรู้     ๒. อาชีพการงาน   ๓. ธรรม  คือ ศีลธรรม
แต่ส่วนมากมักจะให้ความสำคัญเพียง    อย่าง  คือ  วิชาความรู้กับอาชีพการงานเพราะมองเห็นชัดว่า คนที่มีความรู้ดี ย่อมมีอาชีพการงานที่ดี อาชีพการงานที่ดีก่อให้เกิดทรัพย์             ทรัพย์ย่อมนำมาซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรารถนาและต้องการ เลยพากันทิ้งธรรม  คือ  ศีลธรรม  มนุษย์จึงไม่ได้รับความสุขที่แท้จริง
การขาดธรรม   คือ  ศีลธรรม  สร้างปัญหาให้กับสังคมมนุษย์มากมาย ดังตัวอย่างที่ได้เห็นและได้ยินอยู่เสมอ  บางคนบางครอบครัว  มีความรู้สูง  มีทรัพย์สินเงินทองมาก  แต่ไม่มีความสุขเลยทำร้ายกันถึงกับฆ่ากันก็มี  หรือบางสังคม  บางประเทศขาดธรรมคือความเมตตากรุณา  มีแต่ความอาฆาตพยาบาท  ทำลายล้างกันตลอดเวลา  ทั้งที่มีเศรษฐกิจดี  ก็หาความสุขไม่ได้    
ดังนั้น  ธรรม  คือศีลธรรม   จึงมีความจำเป็นสำหรับมนุษย์   ไม่น้อยไปกว่าวิชาความรู้     และอาชีพการงาน  การที่นักเรียน นักศึกษา  มาสนใจศึกษาธรรมเพื่อนำเอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน       และอาชีพการงาน  จึงเท่ากับเป็นการหาอุบายสร้างความสุขให้แก่ตน   เพราะธรรมนั้นสามารถนำความสุขมาให้แก่ผู้ประพฤติ  ทั้งในปัจจุบันและในภายภาคหน้า ดังพระพุทธพจน์ว่า  ธมมจารี  สุขํ  เสติ   อสมิ  โลเก ปรมหิ  จ. ผู้ประพฤติอย่างสม่ำเสมอ     ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า                                                                                                                                                                      

                                                                                                                                       

วิชา ธรรมวิภาค
ธรรมศึกษาชั้นตรี

ทุกะ  หมวด 

ธรรมมีอุปการะมาก    อย่าง
.  สติ  ความระลึกได้
. สัมปชัญญะ  ความรู้ตัว
สติ  ความระลึกได้  หมายความว่า  ก่อนจะทำจะพูด  คิดให้รอบคอบก่อน  แล้วจึงทำจึงพูดออกไป
สัมปชัญญะ  ความรู้ตัว  หมายความว่า  ขณะทำ  ขณะพูดมีความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา  ไม่ใช่ทำหรือพูดเรื่องหนึ่งใจคิดอีกเรื่องหนึ่ง
ธรรมทั้ง    นี้    ช่วยรักษาจิตจากอกุศลธรรมและช่วยให้จิตประกอบด้วยกุศลธรรมทุกอย่าง  เหมือนมหาอำมาตย์ผู้มีความรู้ความสามารถ  ทำราชกิจทุกอย่างให้สำเร็จเรียบร้อย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า  ธรรมมีอุปการะมาก

ธรรมเป็นโลกบาล  คือคุ้มครองโลก    อย่าง
๑.  หิริ  ความละอายแก่ใจ
๒.  โอตตัปปะ  ความเกรงกลัว
หิริ  ความละอายแก่ใจ  หมายความว่ารู้สึกรังเกียจทุจริต  มีกายทุจริต  เป็นต้น  เหมือนคนเกลียดสิ่งโสโครกมีอุจจาระ  เป็นต้น  ไม่อยากจับต้อง
โอตตัปปะ  ความเกรงกลัว  หมายความว่า  สะดุ้งกลัวต่อทุจริตมีกายทุจริต  เป็นต้น เหมือนคนกลัวความร้อนของไฟ  ไม่กล้าไปจับไฟ
คนดีทั้งหลายย่อมเคารพตน    คือคิดถึงฐานะของตนมีชาติและตระกูลเป็นต้น ด้วยหิริ  ย่อมเคารพผู้อื่น คือคิดถึงเทวดาที่คุ้มครองรักษาตนเป็นต้น ด้วยโอตตัปปะแล้ว  งดเว้นจากการทำบาป  รักษาตนให้บริสุทธิ์  เพราะฉะนั้น  ธรรมทั้ง    นี้  จึงชื่อ  ธรรมคุ้มครองโลก และธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ เรียกว่า เทวธรรม เพราะทำจิตใจของมนุษย์ให้สูงเยี่ยงเทวดา

ธรรมอันทำให้งาม    อย่าง
.  ขันติ  ความอดทน
.  โสรัจจะ   ความเสงี่ยม
ขันติ  ความอดทน  หมายความว่า  ทนได้ไม่พ่ายแพ้  ความหนาว  ร้อน  หิว  กระหายทุกขเวทนา อันเกิดจากความเจ็บป่วย ความบาดเจ็บ ถ้อยคำด่าว่าเสียดสีดูถูกดูหมิ่น และการถูกทำร้าย
โสรัจจะ  ความเสงี่ยม  หมายความว่า  เป็นผู้ไม่มีอาการผิดแปลกไปจากปกติประหนึ่งว่า  ไม่เห็น  ไม่ได้ยิน  ไม่รับรู้ความหนาว  ความร้อนเป็นต้นเหล่านั้น
อนึ่ง  การไม่แสดงอาการเห่อเหิมจนเป็นที่บาดตาบาดใจคนอื่นเมื่อเวลาได้ดี  ก็ควรจัดเป็นโสรัจจะด้วย
บุคคลผู้มีขันติและโสรัจจะ ย่อมประคองใจให้อยู่ในปกติภาพที่ดีอย่างสม่ำเสมอ ไม่พลุ่งพล่านหรือซบเซาในยามมีความทุกข์  ไม่เห่อเหิมหรือเหลิงในยามมีความสุข  เพราะฉะนั้น ขันติและ   โสรัจจะ  จึงชื่อว่า  ธรรมอันทำให้งาม

บุคคลหาได้ยาก    อย่าง
.  บุพพการี  บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน
.  กตัญญูกตเวที   บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว  และตอบแทน
บุพพการี  บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน  หมายความว่า  เป็นผู้ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นโดยไม่คิดถึงเหตุ    ประการ  คือ  ๑.  ผู้นั้นเคยช่วยเหลือเรามาก่อน  ๒.  ผู้นั้นจะทำตอบแทนเราในภายหลัง  ยกตัวอย่าง  เช่น  บิดามารดาเลี้ยงดูบุตรธิดา  และครูอาจารย์สั่งสอนศิษย์เป็นต้น
กตัญญูกตเวที  บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วและตอบแทน  หมายความว่า  ผู้ได้รับการช่วยเหลือจากใครแล้วจดจำเอาไว้  ไม่ลืม  ไม่ลบล้าง  ไม่ทำลายจะด้วยเหตุใดก็ตาม  คอยคิดถึงอยู่เสมอ  และทำตอบแทนอย่างเหมาะแก่อุปการะที่ตนได้รับมา
บุพพการี  ชื่อว่าหายาก  เพราะคนทั่วไปถูกตัณหาครอบงำ     คืออยากได้มากกว่าอยากเสีย
กตัญญูกตเวที   ชื่อว่าหายาก  เพราะคนส่วนมากถูกอวิชชา  ได้แก่กิเลสที่ทำลายความรู้  เช่นความโลภ  ความโกรธ  และความตระหนี่เป็นต้น ครอบงำ      คือปิดบังความรู้สึกที่ดีนั้นเสีย       

ติกะ  คือ  หมวด 

รตนะ    อย่าง
พระพุทธ    พระธรรม    พระสงฆ์ 
.  ท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วย  กาย  วาจา  ใจ  ตามพระธรรมวินัยที่เรียกว่าพระพุทธศาสนา  ชื่อพระพุทธเจ้า
๒.  พระธรรมวินัยที่เป็นคำสอนของท่าน  ชื่อพระธรรม
๓.  หมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของท่านแล้ว  ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย ชื่อพระสงฆ์
รตนะ  แปลว่า  สิ่งที่ให้เกิดความยินดี  หมายถึงสิ่งที่มีราคาแพง  เช่น  เพชร  พลอย  ทองคำ  หรือสิ่งอื่นใดก็ตามที่ชาวโลกเขานิยมกัน   หรือของวิเศษ  เช่น   รตนะ      อย่าง     ของพระเจ้าจักรพรรดิ คือ  ช้างแก้ว ม้าแก้ว ขุนพลแก้ว  ขุนคลังแก้ว  นางแก้ว  จักรแก้ว  แก้วมณี
พระพุทธเจ้า  พระธรรม  และพระสงฆ์  ทรงจัดว่าเป็นรตนะ  เพราะเป็นผู้มีค่ามากโดยตนเองเป็นผู้สงบจากบาปแล้ว  สอนผู้อื่นให้ละชั่วประพฤติชอบ  ถ้าคนในโลกไม่ละชั่วประพฤติชอบแล้ว  สิ่งมีค่าทั้งหลายก็จะกลายเป็นศัตรูนำภัยอันตรายมาสู่ตนเอง  เพราะฉะนั้น  พระพุทธเจ้า
พระธรรม  และพระสงฆ์  จึงชื่อว่า  รตนะ  คือเป็นสิ่งที่มีค่า  น่ายินดี

คุณของรัตนะ   อย่าง
พระพุทธเจ้ารู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้ว  สอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วย
พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว
พระสงฆ์   ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว    สอนให้ผู้อื่นกระทำตามด้วย

โอวาทของพระพุทธเจ้า    อย่าง
๑.  เว้นจากทุจริต  คือประพฤติชั่วด้วยกาย  วาจา  ใจ
๒.  ประกอบสุจริต  คือประพฤติชอบ  ด้วยกาย  วาจา  ใจ
๓.  ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง  เป็นต้น

ทุจริต    อย่าง
๑.  ประพฤติชั่วด้วยกาย  เรียกกายทุจริต
๒.  ประพฤติชั่วด้วยวาจา  เรียกวจีทุจริต
๓.  ประพฤติชั่วด้วยใจ  เรียกมโนทุจริต

กายทุจริต    อย่าง
ฆ่าสัตว์    ลักฉ้อ    ประพฤติผิดในกาม 
วจีทุจริต    อย่าง
พูดเท็จ    พูดส่อเสียด    พูดคำหยาบ    พูดเพ้อเจ้อ 
มโนทุจริต    อย่าง
โลภอยากได้ของเขา    พยาบาทปองร้ายเขา    เห็นผิดจากคลองธรรม 
ทุจริต  (ความประพฤติชั่ว)    อย่างนี้ เป็นสิ่งไม่ควรทำ  ควรละเสีย

สุจริต    อย่าง
  ประพฤติชอบด้วยกาย  เรียก กายสุจริต
๒.  ประพฤติชอบด้วยวาจา  เรียก วจีสุจริต
.  ประพฤติชอบด้วยใจ  เรียก มโนสุจริต

กายสุจริต     อย่าง
เว้นจากฆ่าสัตว์    เว้นจากลักฉ้อ    เว้นจากประพฤติผิดในกาม 
วจีสุจริต    อย่าง
เว้นจากพูดเท็จ    เว้นจากพูดส่อเสียด    เว้นจากพูดคำหยาบ    เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ 
มโนสุจริต    อย่าง
ไม่โลภอยากได้ของเขา    ไม่พยายามปองร้ายเขา    เห็นชอบตามคลองธรรม 
        สุจริต  (ความประพฤติชอบ)    อย่างนี้  เป็นกิจควรทำ  ควรประพฤติ

อกุศลมูล    อย่าง
รากเหง้าของอกุศล  เรียกอกุศลมูล  มี    อย่าง  คือ โลภะ  อยากได้ ๑  โทสะ       คิดประทุษร้ายเขา     โมหะ  หลงไม่รู้จริง 
เมื่ออกุศลทั้ง    นี้  ก็ดี  ข้อใดข้อหนึ่งก็ดีมีอยู่ในใจ  อกุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้นที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้น  เหตุนั้น  จึงชื่อว่า  อกุศลมูล  คือรากเหง้าของอกุศล  ท่านสอนให้ละเสีย

กุศลมูล    อย่าง
รากเหง้าของกุศล    เรียกกุศลมูล    มี       อย่าง  คือ     อโลภะ     ไม่อยากได้     อโทสะ    ไม่คิดประทุษร้ายเขา    อโมหะ  ไม่หลง 
เมื่อกุศลทั้ง    นี้  ก็ดี  ข้อใดข้อหนึ่งก็ดีมีอยู่ในใจ  กุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นแล้วก็เจริญมากขึ้น  เหตุนั้น  จึงชื่อว่ากุศลมูล  คือรากเหง้าของกุศล  ท่านสอนว่า  ควรให้เกิดขึ้นในใจอย่างต่อเนื่อง
สัปปุริสบัญญัติ
คือข้อที่ท่านสัตบุรุษตั้งไว้    อย่าง
๑.  ทาน  สละสิ่งของของตน  เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
๒.  ปัพพัชชา   ถือบวช   เป็นอุบายเว้นจากการเบียดเบียนกันและกัน
๓.  มาตาปิตุอุปัฏฐาน  ปฏิบัติมารดา  บิดาของตนให้เป็นสุข

สัตบุรุษ    แปลว่าคนดีมีความประพฤติทางกาย  วาจาและใจอันสงบ   กายสงบ   คือเว้นจากกายทุจริต    วาจาสงบ  คือเว้นจากวจีทุจริต      ใจสงบ    คือเว้นจากมโนทุจริต  ๓ และเป็นผู้ทรงความรู้
ทาน  แปลว่า  การให้  หมายถึงการให้สิ่งของของตน  มีข้าว  น้ำเป็นต้น  แก่บุคคลอื่นด้วยวัตถุประสงค์   อย่าง  คือ  ๑.  เพื่อบูชาคุณของผู้มีคุณความดี  เช่นการทำบุญแก่พระสงฆ์เป็นต้น    เพื่อช่วยเหลือบุคคลผู้ขาดแคลน  เช่นการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นต้น
ปัพพัชชา  แปลว่า  การถือบวช  หมายถึง  นำกายและใจออกห่างจากกามคุณอันเป็นเหตุแห่งการเบียดเบียนกัน  แม้ผู้เป็นฆราวาสจะทำเช่นนี้บางครั้งบางคราวก็เกิดประโยชน์ได้
มาตาปิตุอุปัฏฐาน  แปลว่า  การปฏิบัติบิดาและมารดา  หมายถึงการเลี้ยงดูท่าน ช่วยท่านทำงาน  รักษาชื่อเสียงวงศ์ตระกูล  รักษาทรัพย์มรดก  และเมื่อท่านถึงแก่กรรมทำบุญให้ท่าน

บุญกิริยาวัตถุ    อย่าง
สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ  เรียกบุญกิริยาวัตถุ   โดยย่อมี    อย่าง
.  ทานมัย  บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
.  สีลมัย   บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
.  ภาวนามัย  บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
บุญ  มีความหมาย    ประการ  คือ 
.  เครื่องชำระสิ่งที่ไม่ดีที่นอนเนื่องอยู่ในใจ 
๒.  สภาพที่ก่อให้เกิดความน่าบูชา
บุญนั้นเป็นสิ่งที่ควรทำ  จึงชื่อว่า  บุญกิริยา
บุญที่ควรทำนั้น  เป็นที่ตั้งแห่งสุขวิเศษ  จึงชื่อว่า  บุญกิริยาวัตถุ
ทาน  คือเจตนาที่เสียสละสิ่งของ  หมายถึง  เสียสละเพื่อทำลายกิเลสคือความโลภ
ในใจของตน
ศีล   คือเจตนาที่ตั้งไว้ดีโดยห้ามกายกรรมและวจีกรรมที่มีโทษ  แล้วให้สมาทานกรรมดีไม่มีโทษและเป็นที่ตั้งของกุศลธรรมชั้นสูง  มีสมาธิและปัญญาเป็นต้น
ภาวนา   คือ  เจตนาที่ทำให้กุศลเจริญ  หมายความว่า  ทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นและทำกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เพิ่มพูนมากขึ้น

จตุกกะ  คือ  หมวด 

วุฑฒิ  คือ  ธรรมเป็นเครื่องเจริญ    อย่าง
๑.  สัปปุริสสังเสวะ  คบท่านผู้ประพฤติชอบด้วยกาย  วาจา  ใจ  ที่เรียกว่า  สัตบุรุษ
๒.  สัทธัมมัสสวนะ  ฟังคำสอนของท่านโดยเคารพ
๓.  โยนิโสมนสิการ  ตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีหรือชั่วโดยอุบายที่ชอบ
๔.  ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ  ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมที่ได้ตรองเห็นแล้ว
วุฑฒิ  คือธรรมเป็นเครื่องเจริญ  หมายความว่า  ถ้าทางคดีโลก  ก็เป็นเหตุให้เจริญด้วย  วิชาความรู้  ทรัพย์สินเงินทองและคุณความดี  ถ้าเป็นคดีธรรมก็เป็นเหตุให้เจริญด้วยศีล  สมาธิ  และปัญญา
สัตบุรุษ  คือ  คนดีมีความรู้ดังได้อธิบายแล้วในสัปปุริสสบัญญัติ
การคบ  คือ  การเข้าไปหาคนดีด้วยมุ่งหวังจะซึมซับเอาความดีจากท่านมาสู่ตน ฟังคำสอนของท่านโดยเคารพ  คือให้ความสำคัญต่อคำสอนและผู้สอน    ไม่ใช่ฟัง พอเป็นมารยาท  ไม่สนใจที่จะนำเอาไปปฏิบัติ
โยนิโสมนสิการ  คือ  พิจารณาด้วยปัญญาถึงสิ่งที่ท่านสอนว่า  ชั่วนั้นชั่วจริงไหม  และที่ท่านสอนว่า  ดีนั้นดีจริงไหม  ชั่ว  คือเป็นเหตุให้เกิดทุกข์เกิดโทษ  ดี  คือเป็นเหตุให้เกิดประโยชน์เกิดความสุข  ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ  คือ
๑.   ธัมมะ  หมายถึง  เป้าหมายที่ตั้งเอาไว้
๒.  อนุธัมมะ  หมายถึง  วิธีการที่จะทำให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้
๓.  ปฎิปัตติ  หมายถึง    การปฏิบัติ  คือการลงมือทำรวมกันแล้วเป็น 
ธัมมานุธัมมปฏิบัติ  ท่านแปลว่า    ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมที่ได้ตรองเห็นแล้ว  ยกตัวอย่างเช่น  นักเรียนต้องการจะมีงานทำที่ดี  นักเรียนจะต้องขยันเอาใจใส่  ตั้งใจเรียน  ไม่เอาแต่เที่ยวเตร่เสเพล

จักร  
๑.  ปฏิรูปเทสวาสะ  อยู่ในประเทศอันสมควร
๒.  สัปปุริสูปัสสยะ  คบสัตบุรุษ
๓.  อัตตสัมมาปณิธิ  ตั้งตนไว้ชอบ
๔.  ปุพเพกตบุญญตา  ความเป็นผู้ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน
จักร  หรือ  บางแห่งเรียกว่า  จักรธรรม  แปลว่า  ธรรมที่เปรียบเหมือนล้อรถอันสามารถนำพาชีวิตของผู้ปฏิบัติตามไปสู่ความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม
การอยู่ในประเทศอันสมควร  หมายถึง  อยู่ในสังคมของคนที่มีศีลธรรม  มีความรู้
การคบสัตบุรุษ  มีอธิบายเหมือนในวุฑฒิธรรม
การตั้งตนไว้ชอบ  หมายถึง  ประพฤติตนในศีลธรรมเคารพกฎหมายบ้านเมือง  รักษาวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงาม
ปุพเพกตบุญญตา  ความเป็นผู้ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน  หมายถึง  ได้สร้างเหตุแห่งประโยชน์และความสุขไว้ในชาติก่อน  ปีก่อน  เดือนก่อน  หรือวันก่อน  เช่นนักเรียนตั้งใจเรียนในวันนี้  จะเป็นเหตุให้ได้หน้าที่การงานที่ดีในวันหน้า  เป็นต้น
อคติ 
๑.  ลำเอียง  เพราะรักใคร่กัน  เรียกฉันทาคติ
๒.  ลำเอียง  เพราะไม่ชอบกัน  เรียกโทสาคติ
๓.  ลำเอียง  เพราะเขลา  เรียกโมหาคติ
.  ลำเอียง  เพราะกลัว  เรียกภยาคติ
อคติ    ประการนี้  ไม่ควรประพฤติ
อคติ  แปลว่า  การถึงฐานะที่ไม่ควรถึง  ท่านแปลเอาใจความว่า  ความลำเอียง
ในสิคาลสูตรตรัสเรียกว่า  เหตุให้ทำบาป  บาปธรรมทั้ง    นี้โดยมากเกิดกับผู้มีอำนาจ
คนที่ตนรัก   ผิดก็หาทางช่วยเหลือไม่ลงโทษ  ไม่มีความรู้  ความสามารถ  ก็แต่งตั้งให้เป็นใหญ่ เป็นต้น  ชื่อว่ามีฉันทาคติ
คนที่ตนเกลียด  คอยจ้องจับผิด  คอยขัดขวางความเจริญก้าวหน้าและทำลายล้างเป็นต้น   ชื่อว่ามีโทสาคติ
ไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริง  ทำโทษหรือยกย่องคนไปตามคำบอกเล่าของผู้ประจบสอพลอ  เป็นต้น   ชื่อว่ามีโมหาคติ
หวังเกาะผู้มีอำนาจ กลัวเขาจะไม่ช่วยเหลือจึงทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องอันผิดกฎหมายผิดศีลธรรม  เป็นต้น   ชื่อว่ามีภยาคติ
ผู้ประพฤติอคติ    ประการนี้  ย่อมเป็นผู้ไร้เกียรติ    ดังพระพุทธพจน์ว่า   ผู้ล่วงละเมิดธรรมเพราะความรัก  ความชัง  ความหลง  และความกลัว  เกียรติยศของผู้นั้นย่อมเสื่อมจากใจคน  เหมือนดวงจันทร์ข้างแรม

ปธาน  คือความเพียร    อย่าง
๑.  สังวรปธาน  เพียรระวังบาปไม่ให้เกิดขึ้นในสันดาน
.  ปหานปธาน  เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
.  ภาวนาปธาน  เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน
.  อนุรักขนาปธาน  เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม
ความเพียร  ๔ อย่างนี้  เป็นความเพียรชอบควรประกอบให้มีในตน
ปธาน  เป็นชื่อของความเพียรที่แรงกล้าไม่ย่นย่อท้อถอย  ดังพระพุทธพจน์ว่า แม้เนื้อและเลือดในร่างกายจะเหือดแห้งไป  เหลืออยู่แต่หนัง  เอ็น  และกระดูกก็ตาม  เมื่อยังไม่บรรลุผลที่จะพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของลูกผู้ชาย  ความหยุดยั้งแห่งความเพียรจะไม่มี
ความเพียรมีอย่างเดียวแต่ทำหน้าที่    อย่าง  คือ   ๑.  เพียรระวังความชั่วที่ยังไม่เคยทำ  ไม่เคยพูด  ไม่เคยคิด  อย่าให้เกิดขึ้น    เพียรละความชั่วที่เคยเผลอตัวทำ  พูดและคิดมาแล้ว  โดยจะไม่ทำอย่างนั้นอีก  ๓. เพียรสร้างความดีที่ยังไม่เคยทำ ไม่เคยพูด  ไม่เคยคิด  ๔.  เพียรรักษาความดีที่เคยทำ  เคยพูด  เคยคิดมาแล้ว  โดยการทำ  พูด  และคิดความดีนั้นบ่อย ๆ

อธิษฐานธรรม   
คือธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ    อย่าง
๑.  ปัญญา  รอบรู้สิ่งที่ควรรู้
๒.  สัจจะ  ความจริงใจ  คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง
๓.  จาคะ  สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ
.  อุปสมะ  สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ
อธิษฐานธรรม  ท่านแปลว่า  ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ  หมายความว่า  ให้แสวงหาธรรมทั้ง    นี้มาเก็บไว้ในใจตน  โดยการฝึกฝนปฏิบัติตามให้ได้  จะทำให้เป็นคนมีค่าแก่สังคม  และมีความสุขใจแก่ตนเองด้วย
ปัญญา  รอบรู้สิ่งที่ควรรู้  ในทางธรรมหมายถึง  รู้สภาวธรรม  มีขันธ์เป็นต้นตามความจริงว่า  ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป  ไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่นให้เกิดทิฎฐิมานะ  แบ่งชั้นวรรณะ  เป็นต้น  ในทางโลกหมายถึงรู้เหตุแห่งความเสื่อมและความเจริญ       ตลอดถึงรู้วิชาการต่าง ๆ   อันเป็นเหตุเกิดของทรัพย์  เกียรติ  และความสุข  เป็นต้น
สัจจะ  ความจริงใจ  หมายความว่า  รู้ว่าอะไรไม่ดีก็ละให้ได้จริง  รู้ว่าอะไรดีมีประโยชน์ก็ตั้งใจทำให้ได้จริง  สัจจะนี้นำความดีทุกชนิดมาสู่ตน  ดังโพธิสัตว์ภาษิตว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลายข้ามพ้นชราและมรณะได้  เพราะตั้งอยู่ในสัจจะ
จาคะ  สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ  หมายความว่า  รู้จักกลับตัวกลับใจจากความไม่ดีทั้งหลายที่เคยทำ  เคยพูด  เคยคิด  และเคยยึดติดมาก่อน 
อุปสมะ  สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ  หมายความว่า  รู้จักดับความขุ่นข้องหมองใจ  ความวิตกกังวลต่าง ๆ   อันเกิดจากกิเลสมีนิวรณ์    เป็นต้น

อิทธิบาท
คือ  คุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์    อย่าง
๑.  ฉันทะ  พอใจรักใคร่ ในสิ่งนั้น
๒.  วิริยะ  เพียรประกอบสิ่งนั้น
๓.  จิตตะ  เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ
๔.  วิมังสา  หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น
คุณ    อย่างนี้  มีบริบูรณ์แล้วอาจชักนำบุคคลให้ถึงสิ่งที่ต้องประสงค์  ซึ่งไม่เหลือวิสัย
อิทธิ  แปลว่า  ความสำเร็จ  บาท  หรือ  ปาทะ  แปลว่า  เหตุที่ทำให้ถึง  อิทธิบาท จึงแปลว่า  เหตุที่ให้ถึงความสำเร็จ  หมายถึง  เหตุที่มีกำลังในการบรรลุความสำเร็จ
ฉันทะ  คือ  ความปรารถนา  ความต้องการ  ความประสงค์  หวามมุ่งหมาย  เมื่อต่อเข้ากับอิทธิบาท  จึงมีความหมายว่า  ความปรารถนา  ความต้องการ  ความประสงค์  ความมุ่งหมายที่มีกำลังในการบรรลุความสำเร็จ
อิทธิบาท   คือ  ฉันทะ   ย่อมพาเอาความคิดจิตใจทั้งหมดไปรวมอยู่กับสิ่งที่ปรารถนาที่พอใจ   เหมือนกระแสน้ำที่ไหลมาอย่างแรง  ย่อมพัดพาเอาต้นไม้   กอไผ่  กอหญ้า  เป็นต้น ไปกับกระแสน้ำด้วย  วิริยะอิทธิบาท  จิตตะอิทธิบาท  และวิมังสาอิทธิบาท  ก็มีอธิบายเหมือนอย่างนี้
วิริยะ  คือ  ความอาจหาญในการงาน  ย่อมสำคัญงานใหญ่ว่างานเล็ก  งานหนักว่างานเบา  งานยากว่างานง่าย  ทางไกลว่าทางใกล้  เป็นต้น
จิตตะ  คือ  ความคิดถึงการงานนั้น  แบบใจจดใจจ่อ  เปรียบเหมือนคนกระหายน้ำจัด  ใจคิดถึงแต่น้ำตลอดเวลา
วิมังสา  ความไตร่ตรอง  ใช้ปัญญาพิจารณาหาเหตุผลและวิธีการที่จะทำงานนั้นให้สำเร็จลงให้ได้

ควรทำความไม่ประมาทในที่    สถาน
๑.  ในการละกายทุจริต  ประพฤติกายสุจริต
๒.  ในการละวจีทุจริต  ประพฤติวจีสุจริต
๓.  ในการละมโนทุจริต   ประพฤติมโนสุจริต
๔.  ในการละความเห็นผิด   ทำความเห็นให้ถูก

อีกอย่างหนึ่ง
.  ระวังใจไม่ให้กำหนัด  ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
.  ระวังใจไม่ให้ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
.  ระวังใจไม่ให้หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง
.  ระวังใจไม่ให้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา
ความประมาท  คือความขาดสติอันก่อให้เกิดผลเสีย    ประการ  คือ
.  ให้เกิดการทำความชั่ว
.  ให้หลงลืมทำความดี
.  ไม่ทำความดีอย่างต่อเนื่อง
ความไม่ประมาท  คือความมีสติกำกับใจอยู่เสมอ ให้เกิดความคิดเป็นกุศล  ดังนี้
.  ไม่ทำความชั่ว
.  ไม่ลืมทำความดี
.  ทำความดีให้ดียิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง
เมื่อสรุปคำสอนทั้ง    นัย  นี้  ย่อมได้ความไม่ประมาท    ประการ  คือ
.  ระวังอย่าไปทำความชั่ว
๒.  อย่าลืมทำความดี
๓.  อย่าปล่อยใจให้ไปคิดเรื่องบาปเรื่องอกุศล

พรหมวิหาร 
๑.  เมตตา  ความรักใคร่  ปรารถนาจะให้เป็นสุข
.  กรุณา  ความสงสาร  คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์
.  มุทิตา  ความพลอยยินดี  เมื่อผู้อื่นได้ดี
.  อุเบกขา  ความวางเฉย    ไม่ดีใจ  ไม่เสียใจ  เมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ
คำว่า  พรหม  แปลว่า  ประเสริฐ  เป็นใหญ่  โดยบุคคลาธิษฐาน  หมายถึง  บุคคลผู้อยู่ด้วยฌานสมาบัติ  ไม่ยุ่งเกี่ยวเรื่องกามารมย์  โดยธรรมาธิษฐาน  หมายถึงจิตใจที่ประกอบด้วย เมตตา  กรุณา  มุทิตา  อุเบกขา  หรือดับนิวรณ์ได้
พรหมวิหาร  แปลว่า  ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม  หรือผู้ประเสริฐ  ผู้เป็นใหญ่
ความรักด้วยความปรารถนาดี  คือต้องการให้เขามีความสุข  โดยไม่มีความใคร่อยากจะได้อะไรจากเขามาเป็นของตน  ชื่อว่า  เมตตา
ความเอื้อเฟื้อ  ความเอาใจใส่  ความห่วงใยต่อผู้ตกทุกข์ประสพภัย  อดอยากหิวโหย  เป็นต้น  เข้าช่วยเหลือ  ด้วยกำลังกายและทรัพย์  ชื่อว่า  กรุณา
ความยินดีด้วยกับบุคคลที่ได้ลาภ  ได้ยศ  ได้เกียรติ  ได้รับความสำเร็จในอาชีพการงาน  เป็นต้น  ชื่อว่า  มุทิตา
ความวางเฉย  คือมีใจเป็นกลาง  ไม่ดีใจเมื่อผู้ที่เป็นศัตรูแก่ตน  ประสบทุกข์ภัยอันตราย  และได้รับความวิบัติ   ไม่เสียใจเมื่อผู้ที่ตนรัก  ประสบทุกข์  เป็นต้นนั้น  ในเมื่อตนได้ช่วยเหลืออย่างเต็มที่แล้ว แต่ช่วยไม่ได้   ชื่อว่า  อุเบกขา

อริยสัจ 
๑.  ทุกข์  ความไม่สบายกาย  ไม่สบายใจ
๒.  สมุทัย  คือเหตุให้ทุกข์เกิด
๓.  นิโรธ  คือความดับทุกข์
๔.  มรรค  คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ความไม่สบายกาย  ไม่สบายใจ  ได้ชื่อว่าทุกข์  เพราะเป็นของทนได้ยาก
ตัณหา    คือความทะยานอยาก  ได้ชื่อว่า  สมุทัย  เพราะเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด       ตัณหานั้น  มีประเภทเป็น    คือ 
ตัณหา  ความอยากในอารมณ์ที่น่ารักใคร่  เรียกว่ากามตัณหาอย่าง     
ตัณหาความอยากเป็นโน่นเป็นนี่  เรียกว่าภวตัณหาอย่าง 
ตัณหาความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่   เรียกว่าวิภวตัณหาอย่าง 
ความดับตัณหาได้สิ้นเชิง  ทุกข์ดับไปหมดได้ชื่อว่า  นิโรธ  เพราะเป็นความดับทุกข์
ปัญญาอันเห็นชอบว่าสิ่งนี้ทุกข์  สิ่งนี้เหตุให้ทุกข์เกิด  สิ่งนี้ความดับทุกข์  สิ่งนี้ทางให้ถึงความดับทุกข์  ได้ชื่อว่า  มรรค  เพราะเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
มรรคนั้นมีองค์    ประการ  คือ  ปัญญาอันเห็นชอบ    ดำริชอบ    เจรจาชอบ    ทำการงานชอบ    เลี้ยงชีวิตชอบ    ทำความเพียรชอบ     ตั้งสติชอบ    ตั้งใจชอบ 
อริยสัจ  แปลว่า  ความจริงอันประเสริฐ  หมายความว่า  เป็นความจริงที่หนีไม่พ้น  เช่นความแก่  ความตาย  เป็นต้น    มนุษย์ทุกรูปทุกนามเกิดมาแล้วสุดท้ายต้องแก่  และต้องตายทั้งสิ้น  หรือเป็นกฎเกณฑ์ที่แน่นอน  คือ  เมื่อดับตัณหาได้ความทุกข์ทั้งหลายก็ดับไป  และตัณหานั้นก็มีวิธีดับโดยการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 
ทุกข์  ท่านให้ความหมายว่า  ความไม่สบายกาย  ไม่สบายใจ  อธิบายว่า  ทุกข์ในอริยสัจ  ต่างจากทุกข์ในสามัญลักษณะ  ทุกข์ในอริยสัจหมายเอาทุกข์ที่เกิดกับสิ่งที่มีวิญญาณครอง  โดยเฉพาะคือมนุษย์  เช่น  แก่  เจ็บ  ตาย  ผิดหวัง  เป็นต้น  ส่วนทุกข์ในสามัญลักษณะ หมายถึงสภาพที่ทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกสิ่งที่เป็นข้าศึกกันเบียดเบียนทำลาย  เช่นผิวคล้ำเพราะถูกแสงแดด  อาคารบ้านเรือนเก่า  เพราะถูกแดดและฝน  ตลิ่งพังเพราะถูกน้ำเซาะ  เป็นต้น  ส่วนอริยสัจข้ออื่น ๆ   มีอธิบายชัดเจนแล้ว

ปัญจกะ   หมวด  

อนันตริยกรรม 
๑.  มาตุฆาต  ฆ่ามารดา
๒.  ปิตุฆาต  ฆ่าบิดา
๓.  อรหันตฆาต  ฆ่าพระอรหันต์
๔.  โลหิตุปบาท  ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป
.  สังฆเภท  ยังสงฆ์ให้เแตกจากกัน
กรรม    อย่างนี้   เป็นบาปหนักที่สุด   ห้ามสวรรค์  ห้ามนิพพาน  ตั้งอยู่ในฐานปาราชิก  ผู้นับถือพระพุทธศาสนาห้ามไม่ให้ทำเป็นอันขาด
อนันตริยกรรม   แปลว่า   กรรมที่ให้ผลในภพที่ติดต่อกันทันที    อธิบายว่า  ผู้ทำอนันตริยกรรม  ทั้ง    นี้  ข้อใดข้อหนึ่ง  หลังจากตายแล้วต้องไปตกนรกชั้นอเวจีทันที  ไม่มีกุศลกรรมอะไรจะมาช่วยได้  เช่นพระเทวทัต  เป็นต้น
กรรมทั้ง    นี้  ท่านกล่าวว่า  ตั้งอยู่ในฐานปาราชิก  หมายความว่า  ผู้ทำกรรมนี้เป็นผู้พ่ายแพ้ต่อความดี   เป็นผู้อาภัพคือหมดโอกาสที่จะได้   มนุษย์สมบัติ  สวรรคสมบัติ   และนิพพานสมบัติ  เพราะต้องตกนรกอเวจีสถานเดียว

อภิณหปัจจเวกขณะ 
๑.  ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า  เรามีความแก่เป็นธรรมดา  ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
๒.  ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า  เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา  ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้
๓. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า  เรามีความตายเป็นธรรมดา  ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
๔. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า  เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๕. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า  เรามีกรรมเป็นของตัว   เราทำดีจักได้ดี   ทำชั่วจักได้ชั่ว
อภิณหะ  แปลว่า  เนือง ๆ   เสมอ  หรือเป็นประจำ
ปัจจเวกขณะ  แปลว่า  การพิจารณา  คือเก็บเอามาคิดเพื่อให้เข้าใจความจริง
อภิณหปัจจเวกขณะ    จึงมีความหมายว่า    การพิจารณา  หรือการคิดเนือง ๆ เพื่อให้เข้าใจความจริง
พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า  สตรีก็ตาม  บุรุษก็ตาม  คฤหัสถ์ก็ตาม  บรรพชิตก็ตาม ควรพิจารณาเนืองๆ  ถึงความแก่  ความเจ็บ  ความตาย  ความพลัดพรากจากบุคคล  และของรัก  และผู้ที่ทำความดีความชั่วแล้วได้รับผลดีและผลร้าย
เห็นคนแก่ชราภาพ  ให้นึกว่า  เราก็จะต้องแก่อย่างนั้น  จะช่วยบรรเทาความมัวเมาในวัย
เห็นคนเจ็บทุกข์ทรมาน  ให้นึกว่า  เราก็จะต้องเจ็บอย่างนั้น  จะช่วยบรรเทาความมัวเมาว่าตนไม่มีโรค
เห็นคนตาย  ให้นึกว่า   เราก็จะต้องตายอย่างมากไม่เกิน  ๑๐๐  ปี  จะช่วยบรรเทาความมัวเมาในชีวิต  คิดว่าตัวเองจะอยู่ค้ำฟ้า
เห็นคนประสบความวิบัติจากคนรักและทรัพย์สินเงินทอง  ให้นึกว่า  ความจากกันนั้นมีแน่  ไม่เขาจากเรา  ก็เราจากเขา  จะช่วยบรรเทาความยึดติดผูกพันในคนรักและของรัก
เห็นคนผู้ทำความดีและความชั่วแล้ว  ได้รับผลดีและผลร้าย  ให้นึกว่า  ทุกคนมีกรรมเป็นของตน  จะช่วยบรรเทาความทุจริตต่าง ๆ ได้

ธัมมัสสวนานิสงส์
คือ  อานิสงส์แห่งการฟังธรรม    อย่าง
๑.  ผู้ฟังธรรมย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒.  สิ่งใดได้เคยฟังแล้ว  แต่ยังไม่เข้าใจชัด  ย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด
๓.  บรรเทาความสงสัยเสียได้
๔.  ทำความเห็นให้ถูกต้องได้
๕.  จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส
การฟังธรรม  เป็นอุบายวิธีที่สำคัญอย่างหนึ่ง  ซึ่งสามารถทำให้บุคคลบางประเภทละชั่วประพฤติชอบได้  และเป็นเหตุให้บุคคลบางประเภทแม้เป็นคนดี  มีความฉลาดอยู่แล้วบรรลุผลอันสูงสุดของชีวิตได้  เช่น  อุปติสสปริพพาชก  เป็นต้น  พระพุทธองค์จึงตรัสสอนว่า  บุคคลในโลกนี้มี    ประเภท  คือ
๑.บางคนจะได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและพระสาวกหรือไม่ก็ตาม  ก็ละชั่วประพฤติชอบไม่ได้  เปรียบเหมือนคนไข้บางคนจะได้อาหาร  ที่อยู่และหมอที่ดีหรือไม่โรคก็ไม่หายตายสถานเดียว
๒.บางคนจะได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและพระสาวกหรือไม่  ก็ละชั่วประพฤติชอบได้เอง    เปรียบเหมือนคนไข้บางคนจะได้อาหาร    ที่อยู่และหมอที่ดีหรือไม่   โรคก็หายเอง
๓.บางคนต้องได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกเท่านั้นจึงละชั่วประพฤติชอบเปรียบเหมือนคนไข้บางคนต้องได้อาหาร      ยาและหมอที่ดี โรคจึงหาย     เมื่อไม่ได้ไม่หาย
การฟังธรรม  จึงเป็นประโยชน์โดยตรงแก่บุคคลประเภทที่    แต่บุคคลประเภทที่    ก็ควรฟังเพื่อเป็นอุปนิสัยในภายหน้า  และบุคคลประเภทที่    ก็ควรฟังเพื่อความรู้ความเข้าใจภูมิธรรมที่สูงขึ้น
เพื่อจำง่าย  ย่ออานิสงส์    ดังนี้  ได้ฟังเรื่องใหม่เข้า  ใจเรื่องเก่า  บรรเทาความสงสัย  ทำลายความเห็นผิด  ดวงจิตผ่องใส

พละ  คือธรรมเป็นกำลัง    อย่าง
๑.  สัทธา    ความเชื่อ
.  วิริยะ   ความเพียร
.  สติ    ความระลึกได้
.  สมาธิ    ความตั้งใจมั่น
.  ปัญญา    ความรอบรู้
อินทรีย์    ก็เรียกเพราะเป็นใหญ่ในกิจของตน
พละ  แปลว่าธรรมมีกำลัง  มีความหมาย    อย่าง  คือ    ครอบงำ  ย่ำยีธรรมที่เป็นข้าศึกที่เกิดขึ้นแล้วได้   เปรียบเหมือนช้างสามารถเหยียบมนุษย์  หรือเอางวงจับฟาดตามสบาย เพราะมีกำลังมากกว่า  ๒.  อันธรรมที่เป็นข้าศึกให้หวั่นไหวไม่ได้  เปรียบเหมือนภูเขาอันมนุษย์ หรือสัตว์ทั้งหลายมีช้าง  เป็นต้น  ทำให้หวั่นไหวไม่ได้  เพราะมีความแข็งแกร่งกว่า     
สภาพที่ข้าศึก คือความไม่มีศรัทธา (อสัทธิยะ)  ให้หวั่นไหวไม่ได้  ชื่อว่า  สัทธาพละ
สภาพที่ข้าศึก   คือ  ความเกียจคร้าน  (โกสัชชะ)  ให้หวั่นไหวไม่ได้  ชื่อว่า  วิริยพละ
สภาพที่ข้าศึก   คือ  ความขาดสติ  (สติวิปวาสะ)  ให้หวั่นไหวไม่ได้   ชื่อว่า  สติพละ
สภาพที่ข้าศึก  คือ  ความฟุ้งซ่าน  (อุทชัจจะ)  ให้หวั่นไหวไม่ได้  ชื่อว่า  สมาธิพละ
สภาพที่ข้าศึก  คือ  ความไม่รู้  (อวิชชา)  ให้หวั่นไหวไม่ได้   ชื่อว่า  ปัญญาพละ
อีกนัยหนึ่ง กุศลธรรมที่ครอบงำ อสัทธิยะ  โกสัชชะ สติวิปวาสะ  อุทชัจจะ และอวิชชาได้ชื่อว่า  สัทธาพละ  วิริยพละ   สติพละ    สมาธิพละ และ   ปัญญาพละ  ตามลำดับ

ขันธ์  
กายกับใจนี้  แบ่งออกเป็น    กอง  เรียกว่า  ขันธ์    คือ  .  รูป  .  เวทนา  .  สัญญา  .  สังขาร  .  วิญญาณ
ธาตุ    คือ  ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม  ประชุมกันเป็นกาย    นี้เรียกว่า   รูป
ความรู้สึกอารมณ์ว่า  เป็นสุข  คือสบายกาย  สบายใจ  หรือเป็นทุกข์  คือ  ไม่สบายกายไม่สบายใจ  หรือเฉย ๆ  คือไม่ทุกข์ไม่สุข  เรียกว่า  เวทนา
ความจำได้หมายรู้  คือจำรูป  เสียง  กลิ่น  รส  โผฎฐัพพะ  และอารมณ์ที่เกิดกับใจได้  เรียกว่า  สัญญา  เจตสิกธรรม  คือ  อารมณ์ที่เกิดกับใจ  เป็นส่วนดีเรียกกุศล  เป็นส่วนชั่วเรียกอกุศล  เป็นส่วนกลางๆ   ไม่ดีไม่ชั่วเรียก  อัพยากฤต  (ทั้งหมด)  เรียกว่า  สังขาร  ความรู้อารมณ์ในเวลามีรูปมากระทบตา  เป็นต้น  เรียกว่า  วิญญาณ
ขันธ์  ๕ นี้  ย่น  เรียกว่า  นาม  รูป  คือ  เวทนา  สัญญา  สังขาร  และวิญญาณ  รวมเข้าเป็นนาม  รูปคงเป็นรูป
คำว่า  ขันธ์  แปลว่า  กอง  หมายถึงกองธรรม    กอง  ที่รวมกันเข้าแล้วเป็นชีวิต  พระพุทธเจ้าทรงแสดงเพื่อให้เข้าใจว่า  ชีวิตมนุษย์ก็คือ  การประชุมรวมกันของกองธรรมทั้ง    นี้  ได้เหตุได้ปัจจัยก็รวมกันเรียกว่ามีชีวิต  สิ้นเหตุสิ้นปัจจัยก็แตกสลาย  เรียกว่า  ตาย  ไม่มีใครที่ไหนมาสร้างมาดลบันดาลให้เกิดขึ้นหรือให้ตายไป

ฉักกะ   หมวด 

คารวะ    อย่าง
ความเอื้อเฟื้อ  ในพระพุทธเจ้า    ในพระธรรม    ในพระสงฆ์    ในความศึกษา    ในความไม่ประมาท    ในปฏิสันถารคือต้อนรับปราศรัย 
คารวะ  แปลว่า  ความเคารพ  หมายถึงการให้ความสำคัญต่อบุคคล  หรือสิ่งที่มีคุณความดีมีค่าควรแก่การให้เกียรติ  ให้การสนับสนุน  และการคุ้มครองรักษา การกระทำที่แสดงออกซึ่งความเคารพ  คือการไหว้  การกราบ  การก้มศีรษะ  การลุกขึ้นต้อนรับ  การให้ที่นั่ง  การหลีกทางให้  การให้สิ่งของ  การนับถือ  การบูชา  เป็นต้น
ความเคารพในพระพุทธเจ้าในปัจจุบันนี้  คือ  เชื่อความตรัสรู้ของพระองค์  ไม่แสดงอาการไม่สุภาพต่อพระปฏิมาและศาสนสถาน  มีเจดีย์  เป็นต้น
ความเคารพในพระธรรม  คือ  ตั้งใจศึกษาและปฏิบัติตาม  ศีล  สมาธิ  ปัญญา
ความเคารพในพระสงฆ์  คือการกราบไหว้  นับถือ  ถวายไทยธรรม  มีอาหารบิณฑบาต  เป็นต้น
ความเคารพในการศึกษา  คือ  เห็นคุณค่าของการศึกษาว่าจะทำให้มีความรู้ดี  มีความประพฤติดี  มีอาชีพการงานดี  แล้วตั้งใจศึกษาเล่าเรียน  ไม่เที่ยวเตร่  เสเพล
ความเคารพในความไม่ประมาท  คือ  ระวังตัวไม่ให้ไปทำความชั่ว  ไม่ลืมทำความดี  ไม่ปล่อยใจให้คิดเรื่องบาป  อกุศล
ความเคารพในปฏิสันถาร คือ ต้อนรับผู้มาเยือนด้วยการให้ที่พัก น้ำ อาหาร และสนทนาปราศรัยด้วยปิยวาจา  เป็นต้น

สาราณิยธรรม    อย่าง
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง  เรียก  สาราณิยธรรม  มี    อย่าง  คือ
.  เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา  ในเพื่อนภิกษุสามเณร  ทั้งต่อหน้าและลับหลัง  คือช่วยขวนขวายในกิจธุระของเพื่อนด้วยกายมีพยาบาลภิกษุไข้     เป็นต้น  ด้วยจิตเมตตา
.  เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา  ในเพื่อนภิกษุสามเณร  ทั้งต่อหน้าและลับหลัง  คือช่วยขวนขวายในกิจธุระของเพื่อนด้วยวาจา  เช่นกล่าวสั่งสอน  เป็นต้น
๓.  เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร  ทั้งต่อหน้าและลับหลัง  คือคิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน
๔.  แบ่งปันลาภที่ตนได้มาโดยชอบธรรม  ให้แก่เพื่อนภิกษุสามเณร  ไม่หวงไว้บริโภคจำเพาะผู้เดียว
.  รักษาศีลให้บริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนภิกษุสามเณรอื่น ๆ   ไม่ทำตนให้เป็นที่รังเกียจของผู้อื่น
.  มีความเห็นร่วมกันกับภิกษุสามเณรอื่น ๆ  ไม่วิวาทกับใคร ๆ  เพราะมีความเห็นผิดกัน
ธรรม    อย่างนี้  ทรงแสดงแก่ภิกษุจึงดูเหมือนเป็นเรื่องเฉพาะพระ  แต่ความจริงแล้วทุกคนนำไปใช้ได้กับทุกคน  ทุกเพศทุกวัย  เช่นอยู่กับบิดามารดาก็ใช้ว่า  เข้าไปตั้งกายกรรม  วจีกรรม  มโนกรรม  อันประกอบด้วยเมตตาทั้งต่อหน้าและลับหลัง  ช่วยท่านทำงาน  พูดกับท่านด้วยปิยวาจา   มีจิตใจเคารพนับถือท่าน  เป็นต้น
                         
สัตตกะ  หมวด 

อริยทรัพย์ 
ทรัพย์  คือ   คุณความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ  เรียกอริยทรัพย์  มี    อย่าง  คือ
๑.  สัทธา   เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ
๒.  ศีล    รักษากาย  วาจา  ให้เรียบร้อย
๓.  หิริ   ความละอายต่อบาปทุจริต
๔.  โอตตัปปะ   สะดุ้งกลัวต่อบาป
๕.  พาหุสัจจะ   ความเป็นคนเคยได้ยินได้ฟังมามาก คือทรงจำธรรม และรู้ศิลปวิทยามาก
๖.  จาคะ   สละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน
๗.  ปัญญา  รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
อริยทรัพย์    ประการนี้  ดีกว่าทรัพย์ภายนอก  มีเงินทอง  เป็นต้น  ควรแสวงหาไว้ให้มีในสันดาน
ทรัพย์ภายนอก  จะเป็นสังหาริมทรัพย์  อสังหาริมทรัพย์  สวิญญณกทรัพย์ อวิญญณกทรัพย์  ก็ตาม  มีไว้เพื่อให้เกิดความสุข  ถ้าขาดทรัพย์แล้วย่อมมีความทุกข์  ตามธรรมภาษิตว่า   ทลิททลิยํ   ทุกขํ   โลเก     ความจนเป็นทุกข์ในโลก    แต่ถึงจะมีทรัพย์ภายนอกมากมายอย่างไร  ถ้าขาดทรัพย์ภายใน  คืออริยทรัพย์  เช่นขาดศีล  หิริ  โอตตัปปะ  เป็นต้น โลกก็จะลุกเป็นไฟหาความสุขไม่ได้เลย
อนึ่ง  เมื่อคนมีทรัพย์ภายใน  คือ  อริยทรัพย์แล้ว  ย่อมหาทรัพย์ภายนอกได้ง่าย  ทั้งทำให้ทรัพย์ภายนอกนั้นมีความมั่นคง  และก่อให้เกิดความสุขอย่างแท้จริง  สมดังที่นักปราชญ์สอนไว้ว่า  ความพยายามทุกอย่างของมนุษย์  ก็เพื่อความสุข  แต่ถ้าขาดธรรมเสียแล้ว  ความสุขจะเกิดไม่ได้เลย

สัปปุริสธรรม    อย่าง
ธรรมของสัตบุรุษ  เรียกว่า  สัปปุริสธรรม  มี    อย่าง  คือ
.  ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ เช่นรู้จักว่า สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งสุขสิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์
.  อัตถัญญุตา  ความเป็นผู้รู้จักผล  เช่นรู้จักว่าสุขเป็นผลแห่งเหตุอันนี้  ทุกข์เป็นผลแห่งเหตุอันนี้
.   อัตตัญญุตา  ความเป็นผู้รู้จักตนว่า  เราว่าโดยชาติ  ตระกูล ยศศักดิ์  สมบัติ  บริวาร  ความรู้  และคุณธรรมเพียงเท่านี้   แล้วประพฤติตนให้สมควรแก่ที่เป็นอยู่ อย่างไร
๔.   มัตตัญญุตา  ความเป็นผู้รู้ประมาณในการแสวงหาเครื่องเลี้ยง ชีวิตแต่โดยทางที่ชอบ  และรู้จักประมาณในการ บริโภคแต่พอสมควร
๕.   กาลัญญุตา  ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันสมควรในอันประกอบกิจนั้น ๆ
๖.   ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประชุมชน และกิริยาที่จะต้องประพฤติต่อประชุมชนนั้น ๆ  ว่า  หมู่นี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกิริยาอย่างนี้  จะต้องพูดอย่างนี้  เป็นต้น
๗.   ปุคคลปโรปรัญญุตา  ความเป็นผู้รู้จักเลือกบุคคลว่า  ผู้นี้เป็นคนดีควรคบ  ผู้นี้เป็นคนไม่ดีไม่ควรคบ  เป็นต้น
สัตบุรุษ  คือคนดีมีความประพฤติ  ทางกาย  วาจา  ใจ  อันสงบ  และทรงความรู้  หรือจะกล่าวว่า  ผู้ประกอบด้วยธรรม    ประการนี้  คือ  รู้จักเหตุ  รู้จักผล  รู้จักตน  รู้จักประมาณ  รู้จักกาลเวลา  รู้จักเข้าหาชุมชน  รู้จักเลือกคนที่ควรคบ  เรียกว่า  สัตบุรุษ  ก็ได้
รู้ว่า  จุดไฟทิ้งไว้ในบ้าน  ไฟจะไหม้บ้าน  ชื่อว่า  รู้เหตุ
รู้ว่าไฟไหม้บ้านพร้อมทั้งทรัพย์สินต่าง ๆ  หมดสิ้น  ก็เพราะจุดไฟทิ้งไว้  ชื่อว่า  รู้ผล
การรู้เหตุ  ทำให้รู้จักสร้างเหตุดี  หลีกหนีเหตุร้าย
การรู้ผล  ทำให้เป็นคนมีประสบการณ์  แล้วไม่ทำอย่างนั้นอีก
สัปปุริสธรรมข้ออื่น ๆ   ท่านอธิบายไว้ชัดเจนแล้ว

อัฏฐกะ  คือ  หมวด 

โลกธรรม 
ธรรมที่ครอบงำสัตว์โลกอยู่  และสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามธรรมนั้น  เรียกว่า  โลกธรรม
โลกธรรมนั้น มี ๘ อย่าง  คือ  มีลาภ    ไม่มีลาภ    มียศ    ไม่มียศ    นินทา    สรรเสริญ    สุข    ทุกข์ 
ในโลกธรรม    ประการนี้  อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นควรพิจารณาว่า  สิ่งนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว  ก็แต่ว่ามันไม่เที่ยง  เป็นทุกข์    มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา        ควรรู้ตามที่เป็นจริง  อย่าให้มันครอบงำจิตได้  คืออย่ายินดีในส่วนที่ปรารถนา  อย่ายินร้ายในส่วนที่ไม่น่าปรารถนา
โลกธรรม    นี้  ท่านแบ่งออกเป็น    ฝ่าย 
ที่ดี  คือ  มีลาภ  มียศ  สรรเสริญ  สุข  เรียกว่า   อิฏฐารมณ์  แปลว่า  อารมณ์ที่น่าปรารถนา   ที่
ไม่ดี  คือ  ไม่มีลาภ  ไม่มียศ  นินทา  ทุกข์  เรียกว่า  อนิฏฐารมณ์    แปลว่า  อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา 
ที่ว่าครอบงำสัตว์โลก  และสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามธรรมนั้น  หมายความว่า เมื่อได้รับโลกธรรมฝ่ายดี  จิตใจก็ฟูเบิกบาน  หรือเรียกว่า  หน้าชื่นตาบาน  เมื่อได้รับโลกธรรมฝ่ายไม่ดี  จิตใจก็ฟุบเหี่ยวแห้ง  หรือที่เรียกว่า  หน้าเศร้าอกตรม ความรู้สึกทั้ง    นี้  พระพุทธศาสนาสอนว่า  ล้วนเป็นภัยต่อระบบศีลธรรมทั้งนั้น  คือ เป็นเหตุให้จิตใจเหินห่าง  จากศีล  สมาธิ  และปัญญา

ทสกะ  คือ  หมวด  ๑๐

บุญกิริยาวัตถุ  ๑๐  อย่าง
๑.   ทานมัย  บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒.   สีลมัย    บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓.   ภาวนามัย  บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
๔.   อปจายนมัย  บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อมตนแก่ผู้ใหญ่
    เวยยาวัจจมัย  บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ
๖.   ปัตติทานมัย   บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
๗.   ปัตตานุโมทนามัย  บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
๘.   ธัมมัสสวนมัย   บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
๙.   ธัมมเทสนามัย  บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์     การทำความเห็นให้ตรง
ความหมายของคำว่า  บุญกิริยาวัตถุ  ได้อธิบายแล้วในบุญกิริยาวัตถุ 
ในหมวดนี้  เพียงแต่ให้ตั้งข้อสังเกตว่า  คนส่วนใหญ่เมื่อพูดถึงการทำบุญ  ก็จะคิดว่าตนไม่มีทรัพย์  เลยไม่มีโอกาสได้ทำบุญกับเขา  แต่ความจริงแล้ว  ทรัพย์ไม่ใช่อุปกรณ์สำหรับทำบุญที่สำคัญเลย  จะเห็นว่าทั้ง  ๑๐  ข้อนี้ที่ต้องใช้ทรัพย์มีข้อเดียว  คือ  ทานมัยเท่านั้นเอง  นอกจากนั้นเป็นเรื่องของ  กาย  วาจา  ใจ  ทั้งสิ้น
ดังนั้น  จึงทำให้เข้าใจได้ว่า  อุปกรณ์สำหรับทำบุญที่สำคัญที่สุด  ก็คือ  กาย  วาจา  และ  ใจ  ของตนนี่เอง
กาย  และ  วาจาของตนงดเว้นจากการทำ  การพูด  ที่สร้างความทุกข์  ความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น
ศีรษะของตน  ใช้ก้มให้กับผู้ใหญ่  มือของตนใช้ไหว้ท่านผู้เจริญด้วยวัยวุฒิ  คุณวุฒิ  และชาติวุฒิ
ร่างกายของตน  ร่วมด้วยช่วยกันทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่สังคม
ปาก  ใช้พูดเรื่องที่เป็นประโยชน์  มีคุณค่าแก่ชีวิตจิตใจของผู้ฟัง
หู  ใช้ฟังคำสอนของบิดามารดา  ครูอาจารย์  และองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น
ใจ  ใช้คิดและรับรู้  แต่สิ่งที่เป็นความรู้  เป็นกุศล  ไม่โลภอยากได้ของใคร  ไม่คิดประทุษร้ายใคร  มีความคิดเห็นที่ส่งเสริมระบบศีลธรรม
เพียง    การทำ    การพูด   และการคิด   อย่างนี้   กาย   วาจา   และใจของเราก็สามารถสร้างมนุษยสมบัติ   สวรรคสมบัติ   และนิพพานสมบัติ   ให้แก่เราได้แล้ว
            

คิหิปฏิบัติ

จตุกกะ
ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์  คือ  ประโยชน์ในปัจจุบัน    อย่าง
๑.   อุฏฐานสัมปทา    ถึงพร้อมด้วยความหมั่น    ในการประกอบกิจ  เครื่องเลี้ยงชีวิตก็ดี  ในการศึกษาเล่าเรียนก็ดี  ในการทำธุระหน้าที่ของตนก็ดี
.   อารักขสัมปทา    ถึงพร้อมด้วยการรักษา  คือรักษาทรัพย์ที่แสวงหามาได้ด้วยความหมั่น  ไม่ให้เป็นอันตรายก็ดี  รักษาการงานของตน   ไม่ให้เสื่อมเสียไปก็ดี
.   กัลยาณมิตตตา   ความมีเพื่อนเป็นคนดี  ไม่คบคนชั่ว
๔.   สมชีวิตา    ความเลี้ยงชีวิตตามสมควร แก่กำลังทรัพย์ที่หาได้  ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก

สัมปรายิกัตถประโยชน์  คือ   ประโยชน์ภายหน้า    อย่าง
.   สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือเชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ  เช่นเชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว  เป็นต้น
.   สีลสัมปทา   ถึงพร้อมด้วยศีล  คือ  รักษา  กาย  วาจาเรียบร้อยดี ไม่มีโทษ 
.   จาคสัมปทา  ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน  เป็นการเฉลี่ยสุขให้แก่ผู้อื่น
.   ปัญญาสัมปทา  ถึงพร้อมด้วยปัญญา  รู้จัก  บาป  บุญ  คุณ   โทษ  ประโยชน์  มิใช่ประโยชน์  เป็นต้น

มิตตปฏิรูป  คือ  คนเทียมมิตร    จำพวก
๑.   คนปลอกลอก
๒.   คนดีแต่พูด
๓.   คนหัวประจบ
๔.   คนชักชวนในทางฉิบหาย
คน    จำพวกนี้  ไม่ใช่มิตร  เป็นแต่คนเทียมมิตร  ไม่ควรคบ

๑.  คนปลอกลอก   มีลักษณะ 
๑.   คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว
๒.   เสียให้น้อย  คิดเอาให้ได้มาก
๓.   เมื่อมีภัยแก่ตัว  จึงรับทำกิจของเพื่อน
๔.   คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว
๒.  คนดีแต่พูด    มีลักษณะ 
๑.   เก็บเอาของล่วงแล้วมาปราศรัย
๒.   อ้างเอาของที่ยังไม่มีมาปราศรัย
๓.   สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้
๔.   ออกปากพึ่งมิได้
.  คนหัวประจบ  มีลักษณะ 
.   จะทำชั่วก็คล้อยตาม
.   จะทำดีก็คล้อยตาม
.   ต่อหน้าว่าสรรเสริญ
.   ลับหลังตั้งนินทา
.  คนชักชวนในทางฉิบหาย  มีลักษณะ 
.    ชักชวนดื่มน้ำเมา
.   ชักชวนเที่ยวกลางคืน
.   ชักชวนให้มัวเมาในการเล่น
.   ชักชวนเล่นการพนัน

มิตรแท้       จำพวก
๑.   มิตรมีอุปการะ
๒.   มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
๓.   มิตรแนะประโยชน์
๔.   มิตรมีความรักใคร่
มิตร    จำพวกนี้  เป็นมิตรแท้  ควรคบ
๑.  มิตรมีอุปการะ   มีลักษณะ 
.   ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
.   ป้องกันทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
.   เมื่อมีภัย  เป็นที่พึ่งพำนักได้
.   เมื่อมีธุระ  ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก
.   มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์   มีลักษณะ 
.   ขยายความลับของตนแก่เพื่อน
.   ปิดความลับของเพื่อนไม่ให้แพร่งพราย
.   ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ
.   แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้
.   มิตรแนะประโยชน์   มีลักษณะ  
.   ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว
.   แนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี
.   ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
.   บอกทางสวรรค์ให้
.   มิตรมีความรักใคร่   มีลักษณะ  
.   ทุกข์ ๆ  ด้วย
.   สุข    ด้วย
.   โต้เถียงคนที่พูดติเตียนเพื่อน
.   รับรองคนที่พูดสรรเสริญเพื่อน
.   สังคหวัตถุ    อย่าง
.   ทาน   ให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน
.   ปิยวาจา   เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน
.   อัตถจริยา   ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
.   สมานัตตตา    ความเป็นคนมีตนเสมอไม่ถือตัว
คุณทั้ง    อย่างนี้  เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจของผู้อื่นไว้ได้

.   ธรรมของฆราวาส   
.   สัจจะ      สัตย์ซื่อต่อกัน
.   ทมะ        รู้จักข่มจิตของตน     (หมายถึงปัญญา)
๓.   ขันติ        อดทน     (หมายถึงความเพียร)
๔.   จาคะ       สละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน

ปัญจกะ

๑.   มิจฉาวณิชชา    คือการค้าขายไม่ชอบธรรม    อย่าง
๑.   ค้าขายเครื่องประหาร
๒.   ค้าขายมนุษย์
๓.   ค้าขายสัตว์เป็นสำหรับฆ่าเพื่อเป็นอาหาร
๔.   ค้าขายน้ำเมา
.   ค้าขายยาพิษ
การค้าขาย    อย่างนี้  เป็นข้อห้ามอุบาสกไม่ให้ประกอบ
.   สมบัติของอุบาสก    ประการ   
.   ประกอบด้วยศรัทธา
.   มีศีลบริสุทธิ์
.   ไม่ถือมงคลตื่นข่าว  คือเชื่อกรรม   ไม่เชื่อมงคล
.   ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพุทธศาสนา
.   บำเพ็ญบุญแต่ในพระพุทธศาสนา
อุบาสกพึงตั้งอยู่ในสมบัติ    ประการ  และเว้นจากวิบัติ    ประการ  ซึ่งวิปริตจากสมบัตินั้น

ฉักกะ

ทิศ  
๑.  ปุรัตถิมทิส   คือทิศเบื้องหน้า  มารดาบิดา
๒.  ทักขิณทิศ   คือทิศเบื้องขวา   อาจารย์
๓.  ปัจฉิมทิส   คือทิศเบื้องหลัง   บุตรภรรยา
๔.  อุตตรทิส   คือทิศเบื้องซ้าย   มิตร
๕.  เหฏฐิมทิส   คือทิศเบื้องต่ำ   บ่าว
๖.  อุปริมทิส   คือทิศเบื้องบน   สมณพราหมณ์

๑.   ปุรัตถิมทิส     คือทิศเบื้องหน้า ได้แก่ มารดาบิดา  บุตรพึงบำรุงด้วยสถาน 
๑.   ท่านได้เลี้ยงมาแล้ว  เลี้ยงท่านตอบ
๒.   ทำกิจของท่าน
๓.   ดำรงวงศ์สกุล
๔.   ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับทรัพย์มรดก
.   เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว  ทำบุญอุทิศให้ท่าน
มารดาบิดาได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว  ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน 
.   ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว
.   ให้ตั้งอยู่ในความดี
.   ให้ศึกษาศิลปวิทยา
.   หาภรรยาที่สมควร
.   มอบทรัพย์ให้ในสมัย
.   ทักษิณทิศ      คือทิศเบื้องขวา ได้แก่  อาจารย์  ศิษย์พึงบำรุงด้วยสถาน  
.   ด้วยลุกขึ้นยืนรับ
.   ด้วยเข้าไปยืนคอยรับใช้
.   ด้วยเชื่อฟัง
.   ด้วยอุปัฏฐาก
.   ด้วยเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ
อาจารย์ได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว  ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน  
๑.   แนะนำดี
.   ให้เรียนดี
.   บอกศิลปให้สิ้นเชิง  ไม่ปิดบังอำพราง
.   ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง
.   ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย    (คือจะไปทางทิศไหนก็ไม่อดอยาก)
๓.    ปัจฉิมทิส  คือทิศเบื้องหลัง ได้แก่  ภรรยา   สามีพึงบำรุงด้วยสถาน 
๑.   ด้วยยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา
๒.   ด้วยไม่ดูหมิ่น
๓.   ด้วยไม่ประพฤติล่วงใจ
๔.   ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้
๕.   ด้วยให้เครื่องแต่งตัว
ภรรยาได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว  ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน 
๑.   จัดการงานดี
.   สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามีดี
.   ไม่ประพฤติล่วงใจสามี
.   รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ไว้
.   ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง
.   อุตตรทิส        คือทิศเบื้องซ้าย ได้แก่  มิตร  กุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน 
.    ด้วยให้ปัน
.   ด้วยเจรจาถ้อยคำไพเราะ
.   ด้วยประพฤติประโยชน์
.   ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ
.   ด้วยไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความเป็นจริง
มิตรได้บำรุงฉะนี้แล้ว  ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน 
.   รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว
.   รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว
.   เมื่อมีภัย  เอาเป็นที่พึ่งพำนักได้
.   ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ
.   นับถือตลอดถึงวงศ์ของมิตร
.   เหฏฐิมทิส      คือทิศเบื้องต่ำ ได้แก่  บ่าว  นายพึงบำรุงด้วยสถาน  
.   ด้วยจัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง
๒.   ด้วยให้อาหารและรางวัล
๓.   ด้วยรักษาพยาบาลในเวลาเจ็บไข้
๔.   ด้วยแจกของมีรสประหลาดให้กิน
๕.   ด้วยปล่อยในสมัย
บ่าวได้บำรุงฉะนี้แล้ว  ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน  
๑.   ลุกขึ้นทำการงานก่อนนาย
๒.   เลิกการงานทีหลังนาย
๓.   ถือเอาแต่ของที่นายให้
๔.   ทำการงานให้ดีขึ้น
๕.นำคุณของนายไปสรรเสริญในที่นั้น ๆ

๖.   อุปริมทิส   คือทิศเบื้องบน ได้แก่ สมณพราหมณ์  กุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน 
๑.   ด้วยกายกรรม  คือทำอะไร ๆ  ประกอบด้วยเมตตา
.   ด้วยวจีกรรม   คือพูดอะไร ๆ  ประกอบด้วยเมตตา
.   ด้วยมโนกรรม  คือคิดอะไร ๆ  ประกอบด้วยเมตตา
.   ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู  คือมิได้ห้ามเข้าบ้านเรือน
.   ด้วยให้อามิสทาน
สมณพราหมณ์ได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว  ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน 
.   ห้ามไม่ให้กระทำความชั่ว
.   ให้ตั้งอยู่ในความดี
.   อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม
.   ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
.   ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง
.   บอกทางสวรรค์ให้

อบายมุข  คือเหตุเครื่องฉิบหาย 
.   ดื่มน้ำเมา
    เที่ยวกลางคืน
.   เที่ยวดูการเล่น
.   เล่นการพนัน
.   คบคนชั่วเป็นมิตร
.   เกียจคร้านการทำงาน

.   ดื่มน้ำเมา  มีโทษ 
.   เสียทรัพย์
.   ก่อการทะเลาะวิวาท
.   เกิดโรค
.   ต้องติเตียน
.   ไม่รู้จักอาย
.   ทอนกำลังปัญญา

.   เที่ยวกลางคืน  มีโทษ 
.   ชื่อว่าไม่รักษาตัว
.   ชื่อว่าไม่รักษาลูกเมีย
.   ชื่อว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติ
.   เป็นที่ระแวงของคนทั้งหลาย
.   มักถูกใส่ความ
.  ได้ความลำบากมาก

.   เที่ยวดูการเล่น  มีโทษตามวัตถุที่ไปดู   
๑.   รำที่ไหนไปที่นั่น
๒.   ขับร้องที่ไหนไปที่นั่น
.   ดีดสีตีเป่าที่ไหนไปที่นั่น
.   เสภาที่ไหนไปที่นั่น
.   เพลงที่ไหนไปที่นั่น
.   เถิดเทิงที่ไหนไปที่นั่น

.   เล่นการพนัน  มีโทษ  
๑.   เมื่อชนะย่อมก่อเวร
๒.   เมื่อแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป
๓.   ทรัพย์ย่อมฉิบหาย
๔.   ไม่มีใครเชื่อถือถ้อยคำ
.   เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อน
.   ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย

.   คบคนชั่วเป็นมิตร  มีโทษตามบุคคลที่คบ  
.   นำให้เป็นนักเลงการพนัน
.   นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้
๓.   นำให้เป็นนักเลงเหล้า
๔.   นำให้เป็นคนลวงเขาด้วยของปลอม
๕.   นำให้เป็นคนลวงเขาซึ่งหน้า
๖.  นำให้เป็นคนหัวไม้

๖.   เกียจคร้านการทำงาน  มีโทษ  
๑.   มักให้อ้างว่า    หนาวนัก  แล้วไม่ทำการงาน
๒.   มักให้อ้างว่า    ร้อนนัก  แล้วไม่ทำการงาน
๓.   มักให้อ้างว่า    เวลาเย็นแล้ว  แล้วไม่ทำการงาน
๔.   มักให้อ้างว่า    ยังเช้าอยู่  แล้วไม่ทำการงาน
๕.   มักให้อ้างว่า    หิวนัก  แล้วไม่ทำการงาน
        .   มักให้อ้างว่า    กระหายนัก  แล้วไม่ทำการงาน
        ผู้หวังความเจริญด้วยโภคทรัพย์  พึงเว้นเหตุเครื่องฉิบหาย    ประการนี้เสีย




๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙
เลือกอ่าน ธรรมศึกษาชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก
ตามลิงค์ด้านล่าง
ธรรมศึกษาชั้นตรี
ธรรมศึกษาชั้นโท
ธรรมศึกษาชั้นเอก
๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น