วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2560

111 วิชา เรียงความแก้กระทู้ธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี




วิชา เรียงความแก้กระทู้ธรรม

บทนำ

การเรียงความแก้กระทู้ธรรม เป็นการแสดงออกซึ่งความรู้ ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก  ของผู้เขียนซึ่งได้มาจากการศึกษาวิชาธรรมะ พุทธะ และเบญจศีลเบญจธรรม  ว่าสามารถจะถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึกออกไปสู่ผู้อื่นได้ดีหรือไม่
การเรียนรู้วิชาธรรมะ  พุทธะ  และเบญจศีลเบญจธรรม  เปรียบเหมือนนักเรียนไปเก็บเอาดอกไม้ที่ต่างสี  ต่างขนาด  มากองรวมกันไว้  ส่วนการเรียงความแก้กระทู้ธรรม  เปรียบเหมือนนักเรียนคัดเอาดอกไม้เหล่านั้นมาปักแจกัน  จะทำได้สวยงามแค่ไหน  ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน  ที่จะแต่งอย่างไร
ตามหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา  การเขียนหรือการพูดที่จัดว่าดีนั้น  ต้องเกิดประโยชน์แก่ผู้อ่านหรือผู้ฟัง    ประการ  คือ  ๑. ได้ความรู้ความเข้าใจ  ๒. เกิดความเลื่อมใสใคร่ปฏิบัติตาม  ๓. กล้าทำความดี  ๔.  มีความบันเทิงใจ  ไม่เบื่อหน่าย
๑.  ผู้อ่านหรือผู้ฟังจะได้รับความรู้  ความเข้าใจนั้น  ผู้เขียนและผู้พูดจะต้องมีความรู้  ความเข้าใจในเรื่องนั้นเป็นอย่างดีเสียก่อน  สรุป สั้นๆ  คือ  จำได้  เข้าใจชัด  ปฏิบัติถูกต้อง
๒.  ผู้อ่านหรือผู้ฟัง  จะเกิดความเลื่อมใส  ใคร่ปฏิบัติตาม ผู้เขียนหรือผู้พูดจะต้องชี้แจงให้เห็นโทษของการไม่ปฏิบัติอย่างนั้นว่า  ไม่ดีอย่างไร
๓.  ผู้อ่านหรือผู้ฟังจะกล้าทำความดี  ผู้เขียนหรือผู้พูด  จะต้องชี้แจงให้เห็นคุณค่าหรือประโยชน์ของการปฏิบัติอย่างนั้นว่า  ดีอย่างไร
๔.  ผู้อ่านหรือผู้ฟัง  จะมีความบันเทิงใจ  ไม่เบื่อหน่าย  ก็เพราะได้รับความรู้ความเข้าใจ  เห็นโทษของการไม่ปฏิบัติ  และเห็นคุณประโยชน์ของการปฏิบัตินั้นๆ  นั่นเอง
ฉะนั้น วิชากระทู้ธรรมจึงเป็นวิชาที่สำคัญ น่าศึกษาวิชาหนึ่ง เพราะเป็นการเอาวิชาที่เรียนแล้วมาประติดประต่อให้ได้ใจความสอดคล้องกับกระทู้ธรรมตามที่สนามหลวงออกมา เป็นการแสดงให้เห็นถึงความรู้  ความเข้าใจ  ความคิดและความรู้สึกที่แท้จริงของผู้เขียน  และเป็นเหตุให้เกิดความรู้ความเข้าใจ  ความคิด  และความรู้สึกแก่ผู้อื่นด้วย  นักเรียนจึงควรเอาใจใส่ฝึกคิด  ฝึกเขียน  ฝึกพูดบ่อยๆ  จะ ได้เป็นคนดีมีความสามารถ  โปรดนึกถึง พุทธภาษิตบทหนึ่งอยู่เสมอว่า ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ  ผู้ฝึกฝนตน  (อยู่เสมอ)  เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในมวลมนุษย์

วิชา เรียงความแก้กระทู้ธรรม
การใช้ภาษาในการพรรณนาแก้กระทู้ธรรม
ในการเขียนเรียงความแก้กระทู้นั้น ผู้เขียนจะต้องพิถีพิถันในด้านการใช้ภาษาให้มาก จะต้องเขียนอย่างประณีต ไม่ใช่เพียงเขียนเพียงให้เต็มๆหน้าเท่านั้น ต้องคำนึงถึงภาษาที่ใช้ด้วย กล่าวคือภาษาที่ใช้ต้องเป็นภาษาเขียน ไม่ใช่ภาษาพูด เช่นไม่ควรใช้คำว่าชั้น” “เค้า” “เป็นไง” “ยังเงี้ยะ” “ปวดหมอง” “ตังค์ในที่นี้ควรเขียนว่า  "ฉัน" "เขา" "เป็นอย่างไร" "อย่างนี้" ฯลฯ หรือไม่ใช้คำแสลง คือคำที่ใช้ผิดแปลกไปจากปกติ เช่นอื้อซ่า” “นิ้งไปเลย” “ขาโจ๋” “.....” ฯลฯ และไม่ควรเขียนแบบใช้ภาษาไทยปนภาษาต่างประเทศ เช่นประเดี๋ยวจะเซอร์ไพรซ์” “โอเค นะจ๊ะ” “อเมซิ่งจริงๆ” “มีการคอรัปชั่นฯลฯ ซึ่งบางทีผู้เขียนอาจเห็นว่าการเขียนเช่นนี้ แสดงว่าตนเป็นผู้มีความรู้สูง แต่นั่นหาชื่อว่าเป็นการเขียนเรียงความที่ดีไม่ รวมไปถึงไม่ใช้คำพื้นเมืองหรือภาษาท้องถิ่น เช่นบ่อไป” “เว้า” “แซบฯลฯ และไม่ใช้ภาษาหนังสือพิมพ์ เช่นเปิดอก” “เปิดศึกขยี้” “พลิกโผ” “แฉสิ้นตำรวจปืนโหดฆ่าสามชีวิตที่ท่าบ่อฯลฯ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามในชั้นนี้ท่านไม่ได้เคร่งครัดการใช้ภาษานัก เพียงแต่กำหนดให้ใช้ภาษาตามสมัยนิยมได้อย่างถูกต้อง เหมาะก็ถือว่าใช้ได้แล้ว
การเรียบเรียงเรื่องราว ก็ควรเป็นไปตามลำดับก่อนหลังไม่วกวนไปมาจนน่าเวียนหัว เพราะฉะนั้นในเวลาจะเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมข้อใดก็ตาม ผู้หัดเขียนใหม่ๆ จึงควรวางโครงเรื่องที่จะเขียนให้ดีเสียก่อน แล้วเขียนให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอนของเรื่องที่วางไว้
เรียงความแก้กระทู้ธรรมที่ได้คะแนนน้อย ส่วนมากจะมีข้อบกพร่องต่างๆ หลายประการ เช่นอธิบายเนื้อความของกระทู้ตั้ง ผิดจากความมุ่งหมายของกระทู้ธรรมนั้นบ้าง อธิบายความสับสนวกไปวนมาเสียบ้าง ไม่มีสรุปความบ้าง ใช้ภาษาไม่ถูกต้องและใช้ถ้อยคำไม่เหมาะสมบ้าง นอกจากนั้นแล้ว ยังมีข้อบกพร่องซึ่งประกอบด้วยลักษณะต่างๆอีก คือ
. ไม่อ้างกระทู้ธรรมมาเชื่อมข้อความที่ต่างกัน
. อธิบายความไม่สมเหตุสมผลกับกระทู้ที่ตั้งไว้
. เขียนข้อความโดยไม่มีการเว้นระยะวรรคตอน หรือเว้นระยะวรรคตอนไม่ถูกต้อง
. เขียนข้อความโดยไม่มีการย่อหน้า หรือย่อหน้าเอาตามความพอใจ โดยยังไม่ทันสิ้นกระแสความ
. นำกระทู้ธรรมมาเชื่อม โดยไม่อ้างถึงข้อความของกระทู้ธรรมนั้นก่อน
. ไม่บอกชื่อคัมภีร์ที่มาของกระทู้ธรรมที่นำมารับ หรือบอกชื่อคัมภีร์ผิดพลาด
. เขียนคำบาลีและคำแปลภาษาไทยไม่ถูกต้อง หรือขาดตกบกพร่อง
. เขียนตัวสะกด การันต์ ผิดพลาดมาก
. เขียนหนังสือสกปรก โดยมีการขีดฆ่า ขูดลบ ปรากฏอยู่ทั่วไป
๑๐. แต่งไม่ได้ตามกำหนด (๒ หน้ากระดาษ เว้นบรรทัด ขึ้นไป)

หลักการอ่านภาษาบาลีเบื้องต้น
. พยัญชนะตัวโดดๆ ที่ไม่มีสระใดๆ ปรากฏอยู่เลย ให้ออกเสียงอะแต่ถ้าพยัญชนะตัวใดมีสระปรากฏอยู่ ให้ออกเสียงตามสระนั้นๆ เช่น
สามเณร      อ่านว่า                สา-มะ-เน-ระ
ภควโต        อ่านว่า                ภะ-คะ-วะ-โต
อรหํ           อ่านว่า                อะ-ระ-หัง
. เครื่องหมายพินทุ( . ) จุดปรากกอยู่ใต้พยัญชนะตัวใด มีวิธีอ่านดังนี้
.๑ ถ้าเครื่องหมายพินทุอยู่ใต้พยัญชนะตัวใด ให้เครื่องหมายพินทุ หมายถึง ไม้หันอากาศ (ในกรณีที่พยัญชนะข้างหน้าตัวนั้นไม่มีสระใดๆ) เช่น
สงฺฆสฺส                อ่านว่า        สัง-คัส-สะ
อตฺตา  หิ  อตฺตโน   อ่านว่า        อัต-ตา-หิ-อัต-ตะ-โน
.๒ ถ้าพยัญชนะตัวหน้าของพยัญชนะตัวที่มีเครื่องหมายพินทุ มีสระปรากฏอยู่ ให้เครื่องหมายพินทุ เป็นตัวสะกด (คืออ่านอย่างภาษาไทย) เช่น
ภิกฺขุสงฺโฆ     อ่านว่า        พิก-ขุ-สัง-โค
เหสุนฺติ        อ่านว่า        เห-สุน-ติ
ปริสุทฺโธ      อ่านว่า        ปะ-ริ-สุด-โท
.๓ ถ้าเครื่องหมายพินทุอยู่ใต้พยัญชนะตัวแรกของคำ ให้อ่านออกเสียงพยัญชนะตัวนั้นกึ่งเสียง คือให้ออกเสียงพยัญชนะตัวนั้นเร็วๆ เช่น
ตฺวา           อ่านว่า        ตฺะวา
เทฺวเม         อ่านว่า       ทฺะเว-เม
สฺวากฺขาโต    อ่านว่า        สฺะวาก-ขา-โต
(บทไหว้พระตอนเช้า-เย็น นักเรียนมักกล่าวเพี้ยนกันว่าซา-หฺวาก-ขา-โต..”)
. เครื่องหมายนิคคหิต(  ) อยู่เหนือพยัญชนะตัวใด มีวิธีอ่านดังนี้
.๑ ถ้าเครื่องหมายนิคคหิตอยู่เหนือพยัญชนะตัวใดๆ ให้เครื่องหมายนิคคหิตอ่านออกเสียง อัง” (ในกรณีที่พยัญชนะตัวนั้นไม่มีสระตัวใดๆปรากฏอยู่ก่อนแล้ว) เช่น
สงฺฆํ  นมามิ          อ่านว่า        สัง-คัง-นะ-มา-มิ
อรหํ  สมฺมา          อ่านว่า        อะ-ระ-หัง-สัม-มา
.๒ ถ้าพยัญชนะตัวนั้นมีสระปรากฏควบคู่พร้อมกับเครื่องหมายนิคคหิต ให้เครื่องหมายนิคคหิต หมายถึง ง. งู สะกด ให้อ่านออกเสียงตามสระนั้นๆ เช่น
นปุสกลิงฺคํ            อ่านว่า        นะ-ปุง-สะ-กะ-ลิง-คัง
สตึ  กึ                 อ่านว่า        สะ-ติง-กิง
วิสุ  รกฺขณตฺถาย     อ่านว่า        วิ-สุง-รัก-ขะ-นัต-ถา-ยะ

หลักเกณฑ์การแต่งกระทู้
ผู้จะแต่งกระทู้  จำเป็นจะต้องทราบหลักเกณฑ์ในการแต่งกระทู้ก่อน  หลักเกณฑ์ในการแต่งกระทู้นั้น  ผู้ศึกษาพึงทราบตามที่สนามหลวงแผนกธรรมได้วางเป็นหลักเอาไว้ดังข้อความว่า
แต่งอธิบายให้สมเหตุสมผล  อ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบด้วย ๑ ข้อ  และบอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย  สุภาษิตที่อ้างมานั้น  ต้องเรียงเชื่อมความให้สนิทติดต่อ  สมกับกระทู้ตั้ง
ชั้นนี้  (ธรรมศึกษาชั้นตรี)  กำหนดให้เขียนลงในใบตอบ  ตั้งแต่    หน้า  (เว้นบรรทัด)  ขึ้นไป 

วิธีการแต่งกระทู้
เมื่อทราบหลักเกณฑ์การแต่งกระทู้โดยย่อแล้ว  ต่อไปควรทราบวิธีการแต่ง วิธีการแต่งกระทู้มีองค์ประกอบใหญ่ๆ ๓  อย่าง  คือ
๑.  คำเริ่มต้น ได้แก่คำว่า บัดนี้ จักอธิบายขยายความธรรมภาษิต  ที่ได้ยกขึ้นนิกเขปบท  เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษา  และปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่เวลา  หรืออื่นใดตามที่เหมาะสม
๒.  คำขยายความ  คืออธิบายเนื้อความแห่งธรรมภาษิต  ซึ่งเป็นกระทู้ปัญหา  พร้อมทั้งอ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบอย่างน้อย ๑  ข้อ พร้อมทั้งบอกที่มาให้ถูกต้อง
๓.  คำลงท้าย คือ สรุปเนื้อความที่ได้อธิบายมาแล้วโดยย่ออีกครั้งหนึ่ง  ให้สอดคล้องกับกระทู้ปัญหา  จบลงด้วยคำว่า สมกับธรรมภาษิตว่า……….หรือ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า………. ตามความเหมาะสม (ช่องว่างที่เว้นไว้หมายถึง กระทู้ปัญหาพร้อมทั้งคำแปล)

  ขั้นตอนการเขียนกระทู้ธรรมตรี

การแต่งกระทู้ธรรมชั้นตรี จะมีขั้นตอนหลักๆ อยู่ ๘ ขั้นตอนใหญ่ จะเห็นว่ามีตัวเลขกำกับอยู่ด้านหน้า หมายถึงขั้นตอนที่ต้องเขียนดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ เขียน "สุภาษิตบทตั้งพร้อมคำแปล" เป็นสุภาษิตที่สนามหลวงกำให้เป็นโจทย์ ต้องเขียนไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ
ขั้นตอนที่ ๒ ย่อหน้าเขียน คำนำหรืออารัมภบท คือเขียนคำว่า "บัดนี้ จักได้ ...สืบต่อไป"
ขั้นตอนที่ ๓ ย่อหน้าเขียน อธิบายเนื้อความสุภาษิตบทตั้ง ประมาณ ๘-๑๕ บรรทัด จากนั้นต่อด้วยคำ "สมดังสุภาษิต ที่มาใน ...ว่า" เช่น "สมดังสุภาษิตที่มาใน ขุทฺทกนิกาย ธรรมบท ว่า" ต้องปิดด้วยคำว่า "ว่า" เสมอ เป็นการบอกที่มาของสุภาษิตเชื่อมก่อนจะเขียนในขั้นที่ ๔
ขั้นตอนที่ ๔ เขียน สุภาษิตเชื่อมพร้อมคำแปล เป็นสุภาษิตที่เราจำมาเอง ให้อยู่กึ่งกลางและตรงกับสุภาษิตบทตั้งด้วย
ขั้นตอนที่ ๕ ย่อหน้าเขียน อธิบายเนื้อความสุภาษิตเชื่อม ประมาณ ๘-๑๕ บรรทัด
ขั้นตอนที่ ๖ ย่อหน้าเขียน สรุปความกระทู้ธรรม ให้ได้ใจความสาระสำคัญ ประมาณ ๕-๖ บรรทัด เมื่อสรุปเสร็จแล้ว ต้องเขียนต่อด้วยคำว่า "สมดังสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นว่า
ขั้นตอนที่ ๗ ให้ยกสุภาษิตบทตั้งพร้อมคำแปล มาเขียนปิดอีกครั้งหนึ่ง และจะต้องเขียนให้อยู่กึ่งกลางตรงกันพอกับสุภาษิตเชื่อม
ขั้นตอนที่ ๘ บรรทัดสุดท้ายเขียนคำว่า "มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้" เพื่อปิดการเขียนเรียงแก้กระทู้ธรรมทั้งหมด
สำคัญ : ตั้งแต่ขั้นตอนที่ ๑ จนถึง ๘ ต้องเขียน "เว้นบรรทัดทุกบรรทัด"


ตัวอย่าง กระทู้ธรรม  ธรรมศึกษาชั้นตรี

กระทู้ธรรม  ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันที่ ………พฤศจิกายน  ..  ๒๕๔๖
พาลา  หเว  นปฺปสํสนฺติ  ทานํ
คนพาลเท่านั้น  ย่อมไม่สรรเสริญทาน
บัดนี้  จักได้อธิบายความแห่งกระทู้ธรรม  ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้  เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษา  และปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรม  สำหรับผู้สนใจใคร่ธรรมทุกท่าน
ทาน  หมายถึงการบริจาคสิ่งของของตน  คือ  อาหาร  น้ำดื่ม  เสื้อผ้า  ผ้าห่ม  ที่อยู่อาศัย  ยารักษาโรค  และของใช้ที่จำเป็นแก่ชีวิต  ให้แก่ผู้อื่น  ด้วยวัตถุประสงค์    ประการคือ
๑.  เพื่อช่วยเหลือ  เพื่ออุดหนุนบุคคลผู้ไม่มีหรือผู้ขาดแคลนสิ่งเหล่านั้น    เช่น  ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ไฟไหม้  เด็กกำพร้า  คนชรา  เป็นต้น
๒.  เพื่อบูชาคุณความดีของผู้ทรงศีล  ทรงธรรม  ตัวอย่างเช่นพระสงฆ์
อีกอย่างหนึ่ง  ทาน  หมายถึง การงดเว้นจากการทำบาป    อย่าง  ดังพระพุทธพจน์ว่า  อริยสาวกในศาสนานี้เป็นผู้ละปาณาติบาต  เว้นขาดจากปาณาติบาต  เป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขากจากอทินนาทาน  เป็นผู้ละกาเมสุมิจฉาจาร  เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร  เป็นผู้ละมุสาวาท  เว้นขาดจากมุสาวาท  เป็นผู้ละการดื่มสุราและอันเป็นเหตุแห่งความประมาท  ชื่อว่า  เขาได้ให้ความไม่มีภัย  ความไม่มีเวร  ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้  เมื่อเขาให้ความไม่มีภัย  ความไม่มีเวร และความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้  ตัวเขาเองก็เป็นผู้มีส่วนได้รับความไม่มีภัย  ความไม่มีเวร  และความไม่เบียดเบียนจากผู้อื่นหาประมาณมิได้เช่นเดียวกัน
ทั้ง    นี้  จัดเป็นทานอันยิ่งใหญ่  เป็นทานที่เลิศกว่าทานทั้งหลาย เป็นวงศ์ของอริยชน  เป็นของเก่า  อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูชนไม่คัดค้าน  ไม่ลบล้าง
ทานทั้ง    ประการ  คือ  การให้วัตถุสิ่งของมีอาหารเป็นต้น  และการให้อภัยมีการไม่ฆ่าเป็นต้นดังกล่าวมา  ช่วยรักษาชีวิตมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายให้รอดพ้นจากความตายได้  อุทาหรณ์ที่เห็นง่ายที่สุดคือ  เมื่อมนุษย์เกิดมา  มารดาบิดาให้น้ำนมดื่ม  ให้ข้าวป้อน ดูแลรักษา  และไม่มีคนมาฆ่า  เด็กทารกนั้นจึงรอดตายและเจริญเติบโตได้  ตรงกันข้าม  ถ้ามารดา  บิดา  หรือผู้อื่นใดไม่ให้น้ำนม  ข้าวป้อน  ดูแลรักษา หรือมีคนมาฆ่า เด็กทารกนั้นคงไม่รอดตายมาได้ เพราะในเวลานั้น เขายังไม่สามารถจะหาอะไรมารับประทานได้เอง  และไม่สามารถจะต่อสู้กับใครได้  อย่าว่าแต่ต่อสู้กับมนุษย์ตัวโตๆ  เลย  สู้กับมดและยุงก็ไม่ไหวแล้ว
เพราะฉะนั้น  ทาน  จะในความหมายว่า ให้วัตถุสิ่งของแก่ผู้อื่นหรือให้อภัย คือ  ความไม่มีภัย  ไม่มีเวร  ไม่มีเบียดเบียนแก่ผู้อื่นก็ตาม  ล้วนมีความสำคัญต่อชีวิตทุกชีวิตเป็นอย่างยิ่ง  เพราะช่วยให้มนุษย์และสัตว์รอดพ้นจากความตายมาได้  ดังกล่าวแล้ว 
ฉะนั้นพระโพธิสัตว์จึงได้กล่าวไว้ในสัตตกนิบาตชาดกในขุททกนิกายว่า ทเทยฺย ปุริโส ทานํ  แปลว่า  คนควรให้ทาน
แต่ทานทั้ง    ประการนี้ ไม่ใช่จะให้กันได้ง่ายๆ  ทุกคนโดยเฉพาะคนพาล  คือ  คนที่ชอบทำชั่ว  ชอบพูดชั่ว  ชอบคิดชั่ว ชอบทำชั่ว  คือชอบประพฤติกายทุจริต  คือ ฆ่าสัตว์  ลักทรัพย์  ประพฤติผิดในกาม  ชอบพูดชั่ว คือ  ชอบพูดเท็จ  ชอบพูดส่อเสียด  ชอบพูดคำหยาบ  ชอบพูดคำเพ้อเจ้อ  ชอบคิดชั่ว  คือ  ชอบโลภอยากได้ของผู้อื่น  ชอบคิดร้ายต่อผู้อื่น  ชอบเห็นผิดเป็นชอบ  อย่างที่เรียกว่า  เห็นกงจักรเป็นดอกบัว  พฤติกรรมทั้งหมดนี้  ล้วนเป็นปฏิปักษ์ คือ  ตรงกันข้ามกับคุณธรรมที่เรียกว่า  ทานทั้ง    ประการนั้นทั้งสิ้น 
การเห็นคุณค่าของทาน  แล้วบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนหรือเพื่อบูชาความดีของผู้ทรงคุณความดีด้วยตนเองและชักชวนบุคคลอื่นให้ปฏิบัติเช่นนั้นก็ดี การให้ความไม่มีภัยแก่ชีวิต ทรัพย์สิน และเกียรติยศชื่อเสียงของผู้อื่นก็ดี  ชื่อว่า สรรเสริญทาน  พฤติกรรมที่ดีเช่นนี้  จะทำได้ก็แต่คนดีมีศีล  มีกัลยาณธรรมเท่านั้น  ส่วนคนชั่ว  คือ คนพาลนั้น  ยากที่จะทำได้  สมกับพระพุทธพจน์  ในธรรมบทขุททกนิกาย ว่า 
สาธุ  ปาเปน  ทุกกรํ
คนชั่ว ทำความดียาก
คนพาลนั้นนอกจากจะไม่ให้ทานและไม่เห็นคุณค่าของทานแล้ว ยังทำอันตรายต่อทาน เช่นลักขโมยทรัพย์สินของผู้บริจาคทาน ทุจริตคดโกงเอาเงินหรือสิ่งของที่ผู้ใจบุญบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยมาเป็นของตนเองเสียอีกด้วย  ดังได้ฟัง  ได้เห็น เป็นข่าวมากมาย
จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า  การที่คนพาลไม่ให้ทานไม่เห็นคุณค่าของทานทั้ง ๒ อย่าง  คือ  วัตถุทาน  และอภัยทาน  ขัดขวางผู้บริจาคทาน  และทำอันตรายต่อทานด้วยการทุจริตคดโกง  ดังกล่าวมา  เป็นการกระทำที่แสดงออกถึงการไม่สรรเสริญทานตามธรรมภาษิตว่า 
พาลา  หเว  นปฺปสํสนฺติ  ทานํ
คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน
ดังพรรณนามาฉะนี้แล ฯ


กระทู้ธรรม  ธรรมศึกษาตรี
สอบในสนามหลวง
วันที่……..พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๔๖
สีลํ  โลเก  อนุตฺตรํ
ศีล  เป็นเยี่ยมในโลก
บัดนี้  จักอธิบายความแห่งธรรมภาษิตว่าศีลเป็นเยี่ยมในโลก  ตามความรู้ที่ได้ศึกษามา  เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและปฏิบัติธรรมสืบต่อไป 
สีล  ท่านผู้รู้อธิบายความหมายไว้หลายนัย  ดังนี้
๑.  สีลนะ  แปลว่า  ความปกติ  หมายความว่า ควบคุมความประพฤติทางกาย  วาจา  ให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยดีงาม  พ้นจากการเบียดเบียนกันและกัน  และหมายความว่าสามารถรองรับความดีชั้นสูงทุกอย่าง  เหมือนแผ่นดินรองรับของหนักมีมหาสมุทรและภูเขา  เป็นต้นเอาไว้ได้  โดยไม่มีความผิดปกติอะไร
๒.  สิระ  แปลว่า  ศีรษะ  หมายความว่า  เป็นยอดของความดี  เหมือนศีรษะเป็นอวัยวะที่อยู่สูงที่สุดของร่างกาย
๓.  สีสะ  แปลว่า  ยิ่งใหญ่  คือมีความสำคัญ  หมายความว่า  ถ้าขาดศีลเสียแล้วคุณธรรมหรือความเจริญอย่างอื่นก็เกิดไม่ได้
๔.  สีตละ  แปลว่า  มีความเย็น  หมายความว่า  ศีลสร้างความเย็นให้แก่จิตใจผู้รักษา  และสร้างความร่มเย็นให้แก่สังคม
๕.  สิวะ  แปลว่า  ปลอดภัย  หมายความว่า  ศีล สร้างความไม่มีภัย  ความไม่มีเวร  และความไม่เบียดเบียนให้แก่สังคมมนุษย์
ศีลนั้นเมื่อใครรักษาได้จะทำลายวีติกกมกิเลส  คือ  กิเลสที่ล่วงละเมิดมาทางกาย  และวาจา  ทางกาย  เช่นการฆ่าสัตว์ ทางวาจา  เช่น  การพูดเท็จ พร้อมกันนั้นก็ทำให้กาย  วาจา  และใจของผู้นั้นมีความสะอาดพ้นจากการกระทำการพูดและความคิดที่ทำให้ตนเองและผู้อื่นได้รับความทุกข์ความเดือดร้อน  เพราะศีลมีความดีอย่างนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแนะนำชาวโลกให้รักษาศีล  ตามพระพุทธพจน์ในขุททกนิกาย  อิติอุตตกะ  ว่า 
สีลํ  รกฺเขยฺย  เมธาวี
ผู้มีปัญญาพึงรักษาศีล
อนึ่ง  ศีลจะเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยธรรม  ๒ ประการ คือ หิริความละอายแก่ใจในการทำบาปทุจริต  และโอตตัปปะ  ความสะดุ้งกลัวต่อผลร้ายอันจะเกิดจากการทำบาปทุจริตนั้น
ศีลนั้น  ย่อมขาดเพราะเหตุ    ประการ  คือ  ๑.  ลาภ    ยศ    ญาติ    อวัยวะ    ชีวิต  หมายความว่า  คนที่ทำผิดศีลก็เพราะปรารถนา    อย่างนี้  อย่างใดอย่างหนึ่ง  เช่น  อยากได้ เงินจึงลักขโมย  คดโกง  หรือฆ่าเจ้าของทรัพย์เป็นต้น
บุคคลย่อมรักษาศีลไว้ได้เพราะยึดมั่นสัมปุริสานุสติ  ว่า  บุคคลพึงสละทรัพย์  เพื่อรักษาอวัยวะ  พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต  พึงสละทั้งทรัพย์  อวัยวะและชีวิตเพื่อรักษาธรรม
ผู้รักษาศีลได้บริสุทธิ์ไม่ให้ขาด  ไม่ให้ด่างพร้อย  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า  จะได้รับอานิสงส์  คือ  ผลดีแก่ตน    ประการ  คือ  ทำให้เกิดทรัพย์  เกียรติศัพท์ขจรไกล  เข้าที่ไหนอาจหาญ  สติมั่นไม่ลืมหลง  มุ่งตรงทางสวรรค์
จากการพรรณนามาโดยย่อนี้  ทำให้เห็นคุณสมบัติของศีลหลายประการด้วยกัน  เช่น
ศีล  ควบคุมความประพฤติทางกาย วาจา ให้เรียบร้อยพ้นจากการเบียดเบียนกัน
ศีล  เป็นเครื่องรองรับความสุขความเจริญต่างๆ
ศีล  สร้างความร่มเย็นให้แก่ชาวโลก
ศีล  ให้ความไม่มีภัย  ไม่มีเวร  และความไม่เบียดเบียนกัน
ศีล  ทำให้คนมีความประพฤติทางกาย  วาจา  ใจ  สะอาด 
ฉะนั้น  นักปราชญ์ทั้งหลายมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น จึงกล่าวว่า
สีลํ  โลเก  อนุตฺตรํ
ศีลเป็นเยี่ยมในโลก
ดังได้บรรยายมาด้วยประการฉะนี้ ฯ


กระทู้ธรรม  ธรรมศึกษาตรี
สอบในสนามหลวง
วันที่  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๔๖
สติ  โลกสฺมิ  ชาคโร
สติเป็นธรรมเครื่อง ตื่นอยู่ในโลก

บัดนี้  จักได้อธิบายความแห่งธรรมภาษิต  ข้อว่า  สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก  เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษาของผู้สนใจใฝ่ธรรมตามสมควรแก่เวลา
สติ  แปลว่า  ความระลึกได้  หมายถึงสภาพจิตใจที่รู้จักคิดว่าอะไรดี  อะไรชั่ว  แล้วกีดกันเอาความชั่วออกไปรับเอาแต่สิ่งที่ดีมาสู่ตน
สติ  เป็นศัพท์ที่ใช้ในความหมายที่ดี  ถ้าจะใช้ในทางที่ไม่ดีให้เติมคำว่า  มิจฉาที่แปลว่าผิดไว้ข้างหน้า  เป็นมิจฉาสติ  แปลว่า  ความระลึกผิด  หมายถึงสภาพจิตใจที่รับเอาความไม่ดีมาสู่ตน  คือชอบคิดแต่สิ่งที่ไม่ดี
สตินั้นมีลักษณะให้รู้ได้  ๒ อย่างคือ ๑  การเตือนใจ  หรือ  ๒.  การรับเอาแต่สิ่งที่ดี
๑.  การเตือนใจ  หมายความว่า  สตินั้นจะเตือนใจว่าสิ่งนั้นดี  สิ่งนั้นไม่ดี  สิ่งนั้นมีประโยชน์  สิ่งนั้นไม่มีประโยชน์  สิ่งนั้นควรทำ  สิ่งนั้นไม่ควรทำ  เป็นต้น  เปรียบเหมือนขุนคลังแก้วคอยทูลเตือนพระเจ้าจักพรรดิ์ให้ทรงทราบอยู่ตลอดเวลาว่า  ในท้องพระคลังมีเงินเท่านั้น  มีทองคำเท่านั้น  มีพลช้าง  พลม้า  พลรถ  พลราบเท่านั้น  เพื่อจะได้ไม่ทรงประมาท  แล้วรับสั่งให้จัดหามาให้พร้อมอยู่เสมอ
๒.  การรับเอาแต่สิ่งที่ดีนั้น  หมายความว่า  สตินั้นจะรับเอาแต่สิ่งที่ดีเท่านั้นให้เข้ามาสู่ชีวิตจิตใจ  พร้อมกันนั้นจะคอยป้องกันขับไล่สิ่งที่ไม่มีทั้งหลายไม่ให้เข้ามา  เปรียบเหมือนทหารยามผู้ฉลาดของพระราชา  ห้ามคนร้ายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระราชาไม่ให้เข้าไปสู่ประตูพระราชวัง  จะอนุญาตเฉพาะคนที่เป็นคุณเป็นประโยชน์เท่านั้นให้เข้าไป
เพราะสติคอยช่วยเตือนใจให้รู้ว่าอะไรดี  อะไรชั่ว  อะไรมีประโยชน์อะไรไม่มีประโยชน์  แล้วให้รับเอาแต่สิ่งที่ดีที่มีประโยชน์เข้ามาสู่ชีวิตจิตใจ  และป้องกันสิ่งที่ไม่ดีไม่มีประโยชน์ให้พ้นไป  จึงเป็นธรรมมีอุปการะมาก  ควรปรารถนาในกิจทุกอย่างในที่ทุกสถาน  และในกาลทุกเมื่อ  สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  จึงทรงสอนว่า  สติ  สพฺพตฺถ  ปตฺภิยา  สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง
สตินั้น  บางครั้งเกิดขึ้นเองก็ได้  เช่นนักเรียนบางคนคิดไปโรงเรียน  เรียนหนังสือ  และทำการบ้านได้เอง  ไม่ต้องเป็นภาระให้ใครมาเตือนมาบอก  บางครั้งต้องได้รับคำเตือนจึงเกิด เช่น  นักเรียนบางคนต้องให้บิดามารดาเตือนจึงเกิดสติที่จะไปโรงเรียน  เรียนหนังสือ และทำการบ้าน
ดังนั้นนักปราชญ์จึงได้สอนวิธีสร้างสติไว้หลายวิธีด้วยกัน  แสดงพอเป็นตัวอย่างดังนี้
ความรู้  หมายความว่า  ความรู้วิชาการต่างๆ  ช่วยให้เกิดสติระวังตัวได้  เช่นผู้มีความรู้เรื่องไฟฟ้า  ย่อมระวังตัวให้พ้นอันตรายจากไฟฟ้าได้
คำเตือน  เช่น  โอวาทต่างๆ สุภาษิตต่างๆ  ที่มีความหมายเตือนใจในเรื่องนั้นๆ
ทำเครื่องหมาย  เช่น  ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ ทางโค้งอันตราย หรือมีคนและสัตว์มักข้ามถนนตรงนั้น ก็จะทำเครื่องหมายบอกเอาไว้
บันทึกเหตุการณ์  เช่น เกิดเหตุการณ์ที่สำคัญ  หรือแม้เกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนให้จดบันทึกเอาไว้
คิดถึงสิ่งที่เหมือนกัน  เช่น จะจำชื่อคน หรือเนื้อหาวิชาต่างๆ  ให้คิดถึงว่าคนนั้นมีชื่อเหมือนใครที่เราเคยรู้จัก หรือเนื้อหาวิชานั้น เหมือนหรือคล้ายวิชาอะไรที่เราเคยจำได้เคยเข้าใจ  เป็นต้น
สตินั้น  ช่วยให้คนเกิดความตื่นตัวที่จะทำความดี  หลีกหนีความชั่วและภัยอันตรายทั้งทางโลกและทางธรรม  ทางโลกนั้นพึงเห็นตัวอย่าง  เช่น นักเรียนบางคนคิดว่าคนจะได้ดีมีความสุขในภายหน้า  เพราะอาศัยวิชาความรู้ จึงขยันไปโรงเรียน ขยันเรียนหนังสือ  ขยันทำการบ้าน  ขยันช่วยพ่อแม่ทำงานไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด  ไม่เที่ยวแต่เสเพล  ส่วนคนหนุ่มสาว คิดถึงความจริงของชีวิตว่า  คนเราสุดท้ายต้องแก่  และต้องเจ็บ  จึงขยันทำงาน  หนักเอาเบาสู้ ไม่อยู่เฉย ได้ทรัพย์สินเงินทองมาก็รู้จักประหยัดและออมเอาไว้ใช้  เมื่อเวลาแก่เฒ่า  และยามเจ็บไข้  อย่างนี้ชื่อว่า  มีสติในทางโลก
ส่วนทางธรรมนั้น  พึงเห็นตัวอย่างเช่น เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเห็นคนแก่คนเจ็บ  และคนตายแล้ว เกิดความคิดว่า  พระองค์เองก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ  และ ต้องตายเหมือนกัน จึงทรงเลิกหมกมุ่นเรื่องกามคุณ แล้วเสด็จออกผนวชจนได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้ชื่อว่า  มีสติในทางธรรม
สติช่วยให้คนตื่นจากความลุ่มหลงมัวเมา  ความประมาท  ที่ยังเป็นเด็กก็ช่วยเตือนให้เอาใจใส่ศึกษาเล่าเรียน  เป็นหนุ่มสาวก็ช่วยเตือนให้ขยันทำงาน  คนทั่วไปก็ช่วยเตือนให้  ทำความดี  หนีความชั่ว  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงสอนว่า 
สติ  โลกสฺมิ  ชาคโร
สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก
ดังได้บรรยายมาด้วยประการฉะนี้ ฯ



กระทู้ธรรม  ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันที่.....เดือน..................พ.ศ.............
ปาปานํ  อกรณํ  สุขํ
การไม่ทำบาป  นำสุขมาให้
ขุ.ธ.๒๕ / ๕๙.
  บัดนี้  จักอธิบายความแห่งพุทธภาษิต  ว่า การไม่ทำบาปนำสุขมาให้  ตามระเบียบปฏิบัติของสนามหลวงแผนกธรรม  และความรู้ที่ได้ศึกษามา
พระพุทธภาษิตนี้  ผู้ศึกษาควรทราบอรรถวิภาค  คือ  การจำแนกเนื้อความเป็น    ประการ  คือ  ๑.  บาป  ๒.  สิ่งที่จัดว่าเป็นบาป  ๓.  การทำบาป  ๔.  การไม่ทำบาป  นำความสุขมาให้
คำว่า  บาป  หมายถึงความไม่ดีทุกอย่าง  เช่น อกุศล  โทษ  ความผิด  ทุจริต  เวร  ธรรมดำ  ทุกข์  ยาก  ลำบาก  เหน็ดเหนื่อย  เจ็บปวดความชั่ว เป็นต้น  ดังนั้นจึงมักพูดศัพท์เดิมว่า  บาป  หรือถ้าจะแปลก็มักจะแปลว่า  ความชั่ว  อันหมายถึงความไม่ดีนั่นเอง  ส่วนท่านผู้รู้คัมภีร์  ศัพทศาสตร์ให้ความหมาย ของคำว่าบาปไว้หลายนัย  เช่น สิ่งที่คนดีทั้งหลายพึงป้องกันตัวเอาไว้ให้ห่างไกล หรือสิ่งที่เป็นเหตุให้คนถึงอบาย  คือกลายสภาพเป็นดิรัจฉาน เปรต สัตว์นรก และ อสุรกาย  เป็นต้น 
สิ่งที่จัดว่าเป็นบาปนั้น พระพุทธศานาจัดสิ่งที่เป็นบาป  ไว้ตามโทษหนักเบาดังนี้  บาปที่มีโทษหนักที่สุด  คือ  นิยตมิจฉาทิฏฐิ  แปลว่า  ความเห็นที่แน่นอนดิ่งลงไป  แก้ไขไม่ได้  ๓ อย่าง  คือ  อกิริยทิฏฐิ  เห็นว่า  ทำบาปหรือทำบุญ  ก็เป็นเพียงแต่กิริยาที่ทำเท่านั้น  ไม่ได้เป็นบาปหรือเป็นบุญ ดังที่ศาสนาทั้งหลายสอนเลย อเหตุกทิฏฐิ  เห็นว่าความสุขหรือความทุกข์ของมนุษย์ล้วนเกิดขึ้นเอง  ไม่ได้เกิดมาจากเหตุใดๆ ทั้งสิ้น นัตติกทิฏฐิ  เห็นว่าไม่มีอะไร  คือ บาปก็สูญ บุญก็สูญ  คนตายแล้วก็สูญ
บาปที่มีโทษหนักรองจากนั้นได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ อย่าง  คือ มาตุฆาต  ฆ่ามารดา ๑  ปิตุฆาต  ฆ่าบิดา ๑  อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ๑  โลหิตุปบาท  ทำร้ายพระศาสดาจนถึงพระโลหิตห้อขึ้น ๑  สังฆเภท  ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ๑ ทั้ง    ประเภทนี้  ใครทำหลังจากตายไปต้องตกนรกทันที
บาปที่มีโทษถึงนำไปสู่อบายก็ได้ ที่ทำให้ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อน เช่น ทำให้อายุสั้น  มีโรคมาก  ยากจนเข็ญใจ  เป็นต้น  ก็ได้  มี  ๑๐  อย่าง เป็นการกระทำทางกาย    อย่าง  คือ  ฆ่าสัตว์    ลักทรัพย์    ประพฤติผิดในกาม    เป็นการพูดทางวาจา    อย่าง  คือ  พูดเท็จ    พูดส่อเสียดทำให้คนแตกสามัคคีกัน ๑  พูดคำหยาบ ๑  พูดเพ้อเจ้อ  ทำให้ผู้อื่นเชื่อถือเองไร้สาระ    เป็นความคิดชั่วทางใจ ๓ อย่าง คือ โลภอยากได้ของคนอื่นอย่างผิดศีลธรรม ๑ คิดร้ายทำลายผู้อื่น ๑  มีความเห็นผิดไม่เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ๑ 
การทำบาป  หมายถึง  การทำ การพูด  และการคิด  สิ่งที่จัดว่าเป็นบาปเหล่านี้เอง  คือ  ถือมั่นมิจฉาทิฏฐิทั้ง ๓  อย่าง  หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง กระทำอนันตริยกรรมมีการฆ่ามารดาบิดาเป็นต้น  หรือทำกายทุจริต    พูดวจีทุจริต ๔  และมีใจประกอบด้วยมโนทุจริต    ดังกล่าวแล้ว
การทำบาปต่างๆ ดังกล่าวมานี้ล้วนแต่ก่อให้เกิดความทุกข์  ความเดือดร้อนทั้งแก่ผู้ทำและบุคคลอื่นผู้เกี่ยวข้องทั้งสิ้น แต่ก็ยังมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ชอบทำ  ที่เป็นเช่นนี้  ก็เพราะคนส่วนมากยังมีบาปอยู่ในใจ  คนที่มีเชื้อบาปอยู่ในใจย่อมทำ  ความชั่วได้ง่าย  สมดังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในขุททกนิกาย  อุทานว่า 
ปาปํ  ปาเปน  สุกรํ
ความชั่ว อันคนชั่ว ทำง่าย
บาปที่ทำนั้น  อย่างหนักทำให้ตกโลกันตริกนรก  รองลงมาทำให้ตกนรกอเวจี  รองลงมาจากนั้น  ทำให้กลายสภาพเป็นดิรัจฉาน  เป็นเปรต  เป็นอสุรกาย  หรือเบากว่านั้นถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์  ก็จะทำให้มีอายุสั้น มีโรคเบียดเบียน  ทำกินไม่ขึ้นมีอุปสรรค  ประสบภัยอันตรายต่างๆ  เป็นต้น
ส่วนการไม่ทำบาป  คือ  เป็นคนที่มีสัมมาทิฏฐิ  มีความคิดเห็นที่ส่งเสริมศีลธรรม  งดเว้นเด็ดขาดจากอนันตริยกรรม  และเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์  การลักทรัพย์  การประพฤติผิดในกาม  การพูดเท็จ  การพูดส่อเสียด  การพูดคำหยาบ  การพูดเพ้อเจ้อ  การโลภอยากได้อย่างผิดศีลธรรม  ความคิดร้ายทำลายผู้อื่น  ย่อมนำความสุขมาให้ทั้งแก่ตนเอง  ครอบครัวและสังคม
จากหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา  ดังได้บรรยายมาแต่โดยย่อนี้ พอสรุปใจความได้ว่า  ความสุขที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้  อันดับแรกต้องเว้นจากการทำบาป  คือ  ความชั่วเสียก่อน  เหมือนคนจะแต่งตัวให้สวยงาม  ต้องอาบน้ำชำระกายให้สะอาดเสียก่อน  เพราะถ้าเนื้อตัวสกปรก  จะแต่งอย่างไรก็คงไม่งาม  ความสุขของมนุษย์ก็เช่นเดียวกัน  ถึงแม้จะมีทรัพย์สินเงินทอง  ยศศักดิ์มากมายอย่างไร  ถ้าไม่มีการงดเว้นจากการทำบาป  เช่นฆ่าฟัน  ประหัดประหารกัน เป็นต้น  ก็ยากที่จะหาความสุขได้อย่างแท้จริง  ดังนั้น  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  จึงทรงสอนว่า
ปาปานํ  อกรนํ  สุขํ
การไม่ทำบาปนำความสุขมาให้
ดังได้บรรยายมาด้วยประการฉะนี้ ฯ



กระทู้ธรรม  ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันที่………..เดือนพฤศจิกายน ……..  ๒๕๔………
ปุญฺญํ  โจเรหิ  ทูหรํ
บุญอันโจรนำไปไม่ได้
สํ.ส. ๑๕ / ๕๐.

บัดนี้  จักอธิบายความแห่งพุทธภาษิตว่า  บุญอันโจรนำไปไม่ได้  พอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาพระธรรมของสาธุชนทั้งหลาย  ตามสมควรแก่ความรู้ที่ได้ศึกษามา
บุญ  หมายถึง  กุศล  สุจริต  กรรมดี  ความดี  ธรรม และธรรมฝ่ายขาว  หรือกล่าวโดยรวมว่า  บุญเป็นชื่อของความดีทุกอย่าง  อันตรงกันข้ามกับบาปที่เป็นชื่อของความไม่ดีทุกอย่าง
ท่านผู้รู้คัมภีร์ศัพทศาสตร์ให้ความหมายว่า  บุญ แปลว่า เครื่องชำระล้างจิตใจให้สะอาด  หรือแปลว่าสภาพที่ก่อให้เกิดความน่าบูชา  อธิบายว่า  บุญคือการบริจาคทาน  การรักษาศีล  และการเจริญภาวนา  เป็นต้น ใครกระทำโดยติดต่อไม่ขาดสาย  ย่อมทำให้จิตใจของเขาปราศจากความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  หรือยิ่งทำไปนานๆ จนเป็นบารมีเหมือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  หรือพระอรหันตสาวกก็จะกำจัดกิเลสได้เด็ดขาด  เป็นพระอรหันต์  เป็นผู้มีจิตใจบริสุทธิ์อย่างแท้จริง  และผู้ที่ไม่มีกิเลสคือความโลภ  ความโกรธ  ความหลงนั้น  ย่อมจัดเป็นปูชนียบุคคล  คือ  บุคคลที่น่าบูชา  ทั้งของเทวดาและมนุษย์
เมื่อบุญ  คือความดีจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องทำ  การทำบุญนั้น  ก็เหมือนกับการทำงานทั่วไป  คือต้องมีอุปกรณ์ได้แก่เครื่องมือ  เหมือนนักเรียนมาเรียนหนังสือ  ต้องมีเครื่องมือ  เช่น  หนังสือ  สมุด  ปากกา  เป็นต้น  อุปกรณ์สำหรับใช้ทำบุญใหญ่ๆ มี ๔  อย่าง  คือ  ๑.  ทานวัตถุ  ของสำหรับใช้บริจาคทาน  พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้  ๑๐  อย่าง  คือ  ข้าว  น้ำ  ผ้า  ยานพาหนะ  ดอกไม้ของหอม  ของลูบไล้  ที่นอน  ที่พัก  ประทีป  ๒. กาย  คือร่างกายทุกส่วน  ๓. วาจา คือ  ปาก  ๔. ใจ  คือความคิด 
เมื่อพูดถึงเรื่องทำบุญ พุทธศาสนิกชนไทยโดยมากมักรู้จักเพียงอย่างเดียว  คือ การบริจาคทาน  จึงเป็นเหตุให้บางคนรู้สึกกลัวบุญ  เพราะทำบุญทีไรจะต้องเสียทรัพย์ทุกครั้ง  บางคนรู้สึกว่า  ตนเองไม่มีโอกาสจะได้ทำบุญกับเขา  เพราะไม่มีทรัพย์สินเงินทอง  แต่ความจริงแล้ว  ทรัพย์สินเงินทองไม่ใช่อุปกรณ์สำหรับทำบุญที่สำคัญเลย  อุปกรณ์สำหรับทำบุญที่สำคัญ คือ  กาย  วาจา ใจ  ของแต่ละบุคคลนั่นเอง
กายของนักเรียนที่เว้นจากการฆ่าสัตว์  การทำร้ายกัน  การลักขโมย  การประพฤติผิดในกาม  หรือที่ใช้ทำสิ่งอันเป็นประโยชน์  เช่น  ขยันไปโรงเรียน  ขยันเรียนหนังสือ  ขยันทำการบ้าน  ขยันช่วยพ่อแม่ทำงาน  ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด  ช่วยเหลือสังคม  ช่วยรักษาความสะอาดบริเวณโรงเรียน เป็นต้น  วาจาหรือปาก  ใช้พูดแต่คำสัตย์จริง  พูดให้คนเกิดความสามัคคีกลมเกลียวกัน  พูดคำสุภาพเรียบร้อย  พูดเรื่องที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง  ใจมีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ไม่คิดโลภอยากได้ของใคร  ไม่คิดร้ายทำลายใคร  ไม่อิจฉาริษยาใคร  เชื่อฟังพ่อแม่ครูอาจารย์  เพียงเท่านี้  กาย  วาจา  และใจ  ของนักเรียนก็สามารถสร้างมนุษย์สมบัติ  สวรรค์สมบัติ  ให้แก่นักเรียนเอง  แก่บิดามารดาและครูอาจารย์ได้แล้ว  โดยที่ไม่ต้องใช้ทรัพย์สินเงินทองเลย  และพระพุทธศาสนาจัดว่าเป็นบุญที่ยิ่งใหญ่กว่าการบริจาคทานอีกด้วย
เพราะบุญหมายถึงความดีทุกอย่าง  บุญจึงมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ทุกคน  เพราะ  ๑. เป็นเหตุให้ได้เกิดในคติภพที่ดี  ๒. ช่วยคุ้มครองรักษาชีวิตให้รอดพ้นจากภัยอันตรายต่างๆ  ๓.  ช่วยนำพาวิถีชีวิตไปสู่ความสำเร็จ  และเจริญก้าวหน้าในสิ่งที่ตนปรารถนา  ๔. เป็นเหตุให้จิตใจเกิดความร่มเย็นเป็นสุข  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้พุทธศาสนิกชนได้หมั่นทำบุญเอาไว้เสมอเมื่อมีโอกาส  แม้ว่าจะเป็นบุญเพียงเล็กน้อยก็ตาม  ดังพระพุทธพจน์ว่า  อย่าดูหมิ่นบุญว่ามีประมาณน้อย เมื่อไรจะมาถึงเรา หยดน้ำที่หยดลงทีละหยดยังทำภาชนะมีตุ่มเป็นต้นให้เต็มได้  ฉันใด  คนผู้ฉลาดทำบุญอยู่เสมอ  ก็ย่อมเต็มด้วยบุญฉันนั้น
อนึ่ง พระพุทธองค์  ตรัสผลดีที่เกิดจากอานุภาพบุญไว้ในจูฬกัมมวิภังคสูตร  กล่าวโดยสรุปเพื่อจำง่ายดังนี้
อายุยืนเพราะเว้นการเข่นฆ่า  ไร้โรคาเพราะไม่ทำร้ายสัตว์
มีผิวพรรณงามเลิศเจิดจำรัส  เพราะกำจัดความโกรธรู้อดใจ
ยศศักดิ์สูงเพราะใจไม่ริษยา  มีโภคาเพราะทานคือการให้
สกุลสูงเพราะเจียมเสงี่ยมใจ  ปัญญาไวเพราะคบหาปัญญาชน
บุญเป็นเหตุให้เกิดความสุขความเจริญ  และความอยู่รอดปลอดภัยแห่งชีวิต  ดังกล่าวมานี้  บุญจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ  สมดังพุทธภาษิตในติกนิบาต  อังคุตตรนิกายว่า
ปุญญานิ  กิริยาถ  สุขาวหานิ
ควรทำบุญอันนำสุขมาให้
บุญนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัว  ใครทำใครได้ ดังพระพุทธพจน์ว่า ความหมดจด (ความดี) หรือความเศร้าหมอง (ความชั่ว) เป็นเรื่องเฉพาะตน คนอื่นทำคนอื่นให้หมดจดหรือให้เศร้าหมองไม่ได้  ตัวอย่างง่ายๆ  สมมติว่า  นักเรียน    คน  เป็นเพื่อนรักกัน  คนหนึ่งเรียนเก่ง  คนหนึ่งเรียนไม่เก่ง  คนเรียนเก่งสงสารเพื่อนอย่างไร  ก็ไม่สามารถจะแบ่งเอาความเก่งของตนไปให้เพื่อนได้  หรือเพื่อนที่เรียนไม่เก่งจะคิดแย่งชิงโดยการลักขโมย  ปล้นจี้เอาความเก่งไปจากเพื่อนก็ไม่ได้เหมือนกัน  มีอยู่ทางเดียวเท่านั้น  คือถ้าอยากเก่งต้องขยันหมั่นเพียร  ฝึกฝนด้วยตนเอง  จะไปขอหรือแย่งชิงเอาจากคนอื่นเหมือนกับสิ่งของไม่ได้
เรื่องบุญที่ได้อธิบายมาโดยย่อพอสรุปได้ดังนี้  คำว่าบุญ เป็นชื่อของความดีที่ควรทำทุกอย่าง  เครื่องมือทำบุญที่สำคัญที่สุดคือ  กาย  วาจา  ใจ ของตน  บุญเป็นความดีเฉพาะตน  ใครทำใครได้  ดังคำพูดว่า  ความดีไม่มีขาย  ใครอยากได้ต้องทำเอง บุญที่ได้ทำไว้แล้วเป็นสิ่งวิเศษ  สามารถเก็บเอาสมบัติทุกอย่างทั้งมนุษย์สมบัติ สวรรคสมบัติ  นิพพานสมบัติไว้ภายในได้มากมาย  ไม่เป็นภาระที่ต้องแบกหาม  โจรแย่งชิงเราไปไม่ได้  ยิ่งใช้ยิ่งมีมาก  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
ปุญญํ  โจเรหิ  ทูหรํ
บุญอันโจรนำไปไม่ได้
ดังได้บรรยายมาด้วยประการฉะนี้ ฯ



พุทธศาสนสุภาษิต
หลักสูตรธรรมศึกษาชั้นตรี

หมวดตน
.     อตฺตา  หิ  อตฺตโน  นาโถ
ตนแล  เป็นที่พึ่งของตน
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย  ธัมมปทคาถา (ขุ..)
.     อตฺตา  หเว  ชิตํ  เสยฺโย
ชนะตนนั้นแหละ  เป็นดี
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย  ธัมมปทคาถา (ขุ..)
.     อตฺตนา ว กตํ ปาปํ อตฺตนา สงฺกิลิสฺสนฺติ
คนทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
.     อตฺตนา อกตํ ปาปํ อตฺตนา ว วิสุชฺฌติ
คนไม่ทำบาปเอง ย่อมหมดจดเอง
ที่มา : คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
.     อตฺตนา โจทยตฺตานํ
จงเตือนตนด้วยตนเอง
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย  ธัมมปทคาถา (ขุ..)

หมวดประมาท
.     อปฺปมาโท อมตํ ปทํ
ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
.     อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
.     อปฺปมตฺตา น มียนฺติ
ผู้ไม่ปรมาท ย่อมไม่ตาย
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย  ธัมมปทคาถา (ขุ..)
.     ปมาโท มจฺจุโน ปทํ
ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย
ที่มา : คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๑๐.   ปมาโท ครหิโต สทา
ความประมาท บัณฑิตติเตียนทุกเมื่อ
ที่มา : คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๑๑.   เย ปมตฺตา ยถา มตา
ผู้ประมาท เหมือนคนที่ตายแล้ว
ที่มา : คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)

หมวดจิต
๑๒.   จิตฺตํ รกฺขถ เมธาวี
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๑๓.   จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ
จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)

หมวดขันติ
๑๔.   ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
ขันติ คือความอดทน เป็นตบะอย่างยิ่ง
ที่มา: คัมภีร์ขุททนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๑๕.   ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน
ความอดทน เป็นตบะของผู้บำเพ็ญเพียร
ที่มา: สวดมนต์ฉบับหลวง (..)

หมวดธรรม
๑๖.   มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๑๗.   ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้
ที่มา: คัมภีร์สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สํ..)
๑๘.   ธมฺมปีติ สุขํ เสติ
ผู้อิ่มในธรรม ย่อมนอนเป็นสุข
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๑๙.   ธมฺมจารี สุขํ เสติ
ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๒๐.   ธมฺมํ จเร สุจริตํ
พึงประพฤติธรรม ให้สุจริต
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)

หมวดทุกข์
๒๑.   ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย
การสั่งสมบาป เป็นทุกข์ (ในโลก)
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๒๒.   นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา
ความทุกข์อื่น เสมอด้วยขันธ์() ไม่มี
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๒๓.   สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๒๔.   ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต
ผู้พ่ายแพ้ ย่อมนอนเป็นทุกข์
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๒๗.   กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ
การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นการยาก
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๒๘.   สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ
ความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตัว
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๒๙.   นาญฺโญ อญญํ วิโสธเย
ผู้อื่น จะทำให้ผู้อื่นหมดจดไม่ได้เลย
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๓๐.   ปาปานํ อกรณํ สุขํ
การไม่ทำบาปทั้งหลาย  เป็นความสุข
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๓๑.   ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ
ในหมู่มนุษย์ผู้ฝึกตนดีแล้ว ประเสริฐสุด
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๓๒.   วิสฺสาสปรมา ญาติ
ความคุ้นเคย เป็นญาติอย่างยิ่ง
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๓๓.   นตฺถิ โลเก อนนฺทิโต
ผู้ไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๓๔.   สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย
การสั่งสมบุญ เป็นสุขในโลก
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๓๕.   สมคฺคานํ ตโป สุโข
ความพากเพียรของผู้มีความสามัคคี นำสุขมาให้
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๓๖.   สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี
ความสามัคคีของหมู่คณะ นำสุขมาให้
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๓๗.   นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๓๘.   นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ
นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๓๙.   ธีโร จ สุขสํวาโส
การอยู่ร่วมกับนักปราชญ์ เป็นความสุข
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)

หมวดกิเลส
๔๐.   นตฺถิ ตณฺหา สมา นที
แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี (แม่น้ำถึงจะใหญ่ ก็ไม่เท่าตัณหา)
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๔๑.   นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ
ไฟเปรียบเสมอด้วยราคะ ไม่มี
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๔๐.   นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ
ตาข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๔๑.   โลโก ธมฺมานํ ปริปนฺโถ
ความโลภ เป็นอันตรายแก่ธรรมทั้งหลาย
ที่มา: คัมภีร์สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สํ..)
๔๒.   อิจฺฉา โลกสฺมิ ทุชฺชหา
ความอยาก ละได้ยากในโลก
ที่มา: คัมภีร์สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สํ..)

หมวดโกรธ
๔๓.   โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ
ฆ่าความโกรธเสียได้ ย่อมอยู่เป็นสุข
ที่มา: คัมภีร์สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สํ..)
๔๔.   โกธํ ฆตฺวา น โสจติ
ฆ่าความโกรธเสียได้ ย่อมไม่เศร้าโศก
ที่มา: คัมภีร์สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สํ..)
๔๕.   มาโกธสฺส วสํ คมิ
อย่าลุอำนาจ แก่ความโกรธ
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ชาตก ทุกนิบาต (ขุ.ชา.ทุก.)

หมวดปัญญา
๔๖.   นตฺถิ ปญฺญา สมา อาภา
แสงสว่าง เสมอด้วยปัญญา ไม่มี
ที่มา: คัมภีร์สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สํ..)
๔๗.   ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต
ปัญญา เป็นแสงสว่างในโลก
ที่มา: คัมภีร์สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สํ..)
๔๘.   สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ
ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา
ที่มา: คัมภีร์สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สํ..)
สุภาษิตที่มาในคัมภีร์ต่างๆ
๔๙.   อตฺตา หิ อตฺตโน คติ
ตนแล เป็นคติของตน
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๕๐.   นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ
ความรัก(อย่างอื่น)เสมอด้วย(ความรัก)ตนไม่มี
ที่มา: คัมภีร์สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๕๑.   อตฺตานํ นาติวตฺเตยฺย
บุคคลไม่ควรลืมตน
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ชาตก ตึสนิบาต (ขุ.ชา.ตึส.)
๕๒.   กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ
ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว
ที่มา: คัมภีร์สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สํ..)
๕๓.   กมฺมุนา วตฺตตี โลโก
สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม
ที่มา: คัมภีร์มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก (..)
๕๔.   นิสมฺม กรณํ เสยฺโย
บุคคลใคร่ครวญดีแล้ว จึงทำดีกว่า
ที่มา:สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (..)
๕๕.   จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา
เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้
ที่มา: คัมภีร์มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก (.มู)
๕๖.   จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา
เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้
ที่มา: คัมภีร์มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก (.มู)
๕๗.   ชยํ เวรํ ปสวติ
ผู้ชนะ ย่อมก่อเวร
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๕๘.   อกฺโกเธน ชิเน โกธํ
พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๕๙.   อสาธุ สาธุนา ชิเน
พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๖๐.   ชิเน กทริยํ ทาเนน
พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๖๑.   ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี
ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย เถรคาถา (ขุ.เถร.)
๖๒.   สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ
สังขารที่เที่ยงแท้ยั่งยืน ไม่มี
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๖๓.   อนิจฺจา วต สงฺขารา
สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ
ที่มา: คัมภีร์ทีฆนิกาย มหาวรรค (ที.มหา.)
๖๔.   อรติ โลกนาสิกา
ความริษยา เป็นเหตุทำให้โลกฉิบหาย
ที่มา:สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส (..)
๖๕.   ยโส ลทฺธา น มชฺเชยย
บุคคล ได้ยศแล้ว ไม่พึงมัวเมา
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ชาตก จตุกกนิกาย (ขุ.ชา.จตุกก.)
๖๖.   ปญญาย มคฺคํ อลโส น วินฺทติ
คนเกียจคร้าน  ย่อมไม่พบทางแห่งปัญญา
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
๖๗.   สกมฺมุนา หญฺญติ ปาปธมฺโม
คนมีสันดานชั่ว ย่อมเดือดร้อน เพราะกรรมของตน
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย เถรคาถา (ขุ.เถร.)



๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙
เลือกอ่าน ธรรมศึกษาชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก
ตามลิงค์ด้านล่าง
ธรรมศึกษาชั้นตรี
ธรรมศึกษาชั้นโท
ธรรมศึกษาชั้นเอก
๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น